ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักหอสมุดแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
 
ปีพุทธศักราช 2476 รัฐบาลจัดตั้ง[[กรมศิลปากร]]ขึ้นและมี[[พระราชกฤษฎีกา]]แบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็น[[หอสมุดแห่งชาติ]]ในเวลาต่อมา จนถึงพุทธศักราช 2505 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง 5 ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2509 สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย 5 ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ 17 ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัด[[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]]<ref>[http://www.nlt.go.th/th_about.htm ความเป็นมาของสำนักหอสมุดแห่งชาติ จากเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ] เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553</ref>
 
==การรวมรวมหนังสือ==
 
หอพระมณเฑียรธรรมก่อตั้งในสมัยรัชกาลที่ 1 ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกฉบับหลวง ต่อมาจึงขยายไปสู่การรวบรวมฉบับมอญ สิงหล และหนังสืออื่นเนื่องในพุทธศาสนาด้วย สำหรับหอพุทธศาสนสังคหะก่อตั้งในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อเก็บงานเกี่ยวกับพุทธศาสนาไว้ในที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎกในภาษาต่าง ๆ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา งานวิชาการ ไวยากรณ์บาลี งานแปล หนังสือเทศนา หนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาในภาษาลาว มอญ สิงหล ญี่ปุ่น และสันสกฤต ฯลฯ
 
ในปี พ.ศ. 2448 หลังจากที่หอสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม และหอพุทธศาสนสังคหะ รวมเข้าเป็นชื่อ หอพระสมุดสำหรับพระนคร ภายใต้การดูแลของกระทรวงธรรมการ ก็ได้มีประกาศของทางหอสมุดฯ แจ้งไปยังเทศาภิบาล ว่าประสงค์จะรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎก และหนังสือไทย ขอให้คนนำหนังสือมาบริจาค ให้ยืมคัดลอกหรือขายแก่หอสมุดฯ เมื่อหนังสือหลั่งไลเข้ามาก็พบกับหนังสือแปลก เช่น หนังสือที่เขียนโดยเจ้านายและขุนนางในอดีต อย่าง ''[[พงศาวดารอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]]'' ซึ่งพบขณะที่ยายแก่คนหนึ่งกำลังจะเอาไปเผาไฟรวมกับเอกสารอื่น พบว่าหนังสือฉบับนี้เก่าแก่กว่าฉบับอื่น ๆ เท่าที่พบมา ยังมีหนังสือแปลก ๆ ที่พบมาจากทางวังหน้า เป็นบันทึกประวัติศาสตร์สมัยต้นราชวงศ์จักรีชิ้นหนึ่ง คือ ''จดหมายเหตุควาทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี'' ซึ่งทำให้พบมุมมองประวัติศาสตร์ใหม่ ๆ ของบ้านเมือง หนังสือแปลกอีกประเภทคือ [[หนังสือใบลาน]] ที่อธิบายเรื่องราวแปลก ๆ เช่น การบรรยายถึงพิธีกรรมแปลก ๆ คาถาอาคม ลายแทง
 
สำหรับหมวดหนังสือต่างประเทศ เริ่มแรกได้มอบหมายให้บรรณารักษ์ชาวตะวันตกชาลส์ สไวสตรัป ทำรายชื่อหนังสือของหอสมุดวชิรญาณออกมาในปี พ.ศ. 2435 ชื่อว่า ''Catalogue of the Books of the Royal Vajirajan Library by Order of H.R.H. Krom Hmun Damrong Rachanphap'' จำแนกหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ความรู้ตามมาตรฐานตะวันตก โดยแบ่งออกเป็นเรื่อง แพทย์ศาสตร์ ปรัชญาธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กฎหมาย สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถิติ การเงินและการพาณิชย์ การทหาร นาวิกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดีบริสุทธิ์ โบราณคดี วิศวกรรมศาสตร์ การค้าและอุตสาหกรรม เทววิทยา เป็นต้น
 
สำหรับการแบ่งหมวดหมู่หนังสือของไทยที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 แบ่งออกเป็น 3 แผนกกว้าง ๆ คือ แผนกหนังสือพระศาสนา แผนกหนังสือต่างประเทศ และแผนกหนังสือไทย นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2448 หอพระสมุดฯ ยังจัดแบ่งหนังสือแผนกไทยออกเป็น 3 หมวดหมู่ย่อย ได้แก่ โบราณคดี วรรณคดี และตำรา<ref>Patrick Jory. "Books and the Nation : The Making of Thailand's National Library" ''Journal of Southeast Asian Studies'' 31:2 (September 2000,) p.351-373</ref>
 
== ห้องสมุดสาขา ==