ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิคอมมิวนิสต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 102:
==== ลัทธิมากซ์-เลนินและลัทธิสตาลิน ====
[[ไฟล์:JStalin Secretary general CCCP 1942 flipped.jpg|thumb|โจเซฟ สตาลิน ค.ศ. 1942]]
[[ลัทธิมากซ์-เลนิน]] คือแนวคิดทางการเมืองที่พัฒนาโดย[[โจเซฟ สตาลิน]]<ref name="made_by_stalin">Г. Лисичкин (G. Lisichkin), Мифы и реальность, Новый мир (''[[Novy Mir]]''), 1989, № 3, p. 59 {{ru icon}}.</ref> ซึ่งถ้ายึดถือตามผู้เสนอแล้วเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจาก[[ลัทธิมากซ์]]และ[[ลัทธิเลนิน]] ลัทธิดังกล่าวอธิบายแนวคิดทางการเมืองแบบจำเพาะที่สตาลินริเริ่มปฏิบัติใน[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] (ระดับรัฐ) และ[[โคมินเทิร์น]] (ระดับสากล) อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่าแท้จริงแล้วสตาลินได้ปฏิบัติตามแนวทางลัทธิมากซ์และเลนินตามชื่อลัทธิหรือไม่ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์<ref name="stalin_follow_marx_lenin">Александр Бутенко (Aleksandr Butenko), Социализм сегодня: опыт и новая теория// Журнал Альтернативы, №1, 1996, pp. 2–22 {{ru icon}}.</ref> เนื่องจากมีเนื้อหาสาระบางแง่มุมที่อาจจะเบี่ยงเบนไปจากเนื้อหาสาระของลัทธิมากซ์ เช่น แนวทาง "''[[สังคมนิยมประเทศเดียว]]"''<ref name="sioc1">''Contemporary Marxism'', issues 4–5. Synthesis Publications, 1981. p. 151. "[S]ocialism in one country, a pragmatic deviation from classical Marxism".</ref><ref name="sioc2">North Korea Under Communism: Report of an Envoy to Paradise. Cornell Erik. p. 169. "Socialism in one country, a slogan that aroused protests as not only it implied a major deviation from Marxist internationalism, but was also strictly speaking incompatible with the basic tenets of Marxism".</ref> ทั้งนี้ลัทธิมากซ์-เลนินคือแนวคิดของขบวนการคอมมิวนิสต์ที่เห็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด จึงเป็นลัทธิซึ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่โดดเด่นมากที่สุด
 
ลัทธิมากซ์-เลนินยังอาจกล่าวถึงในฐานะระบบเศรษฐกิจ-สังคมและแนวคิดทางการเมืองซึ่งริเริ่มโดยสตาลินในสหภาพโซเวียต และภายหลังถูกลอกเลียนและนำไปใช้บนพื้นฐานจากตัวแบบโซเวียต (Soviet model) โดยรัฐอื่น ๆ เช่น การวางแผนจากส่วนกลาง และ[[รัฐพรรคการเมืองเดียว]] เป็นต้น ในขณะที่[[ลัทธิสตาลิน]]จะกล่าวถึงการปกครองในแบบฉบับของสตาลิน เช่น การกดขี่ทางการเมือง และ[[ลัทธิบูชาบุคคล]] เป็นต้น ทั้งนี้ลัทธิมากซ์-เลนินยังคงอยู่หลังกระบวนการล้มล้างลัทธิสตาลิน (de-Stalinization) นอกจากนี้ ในจดหมายฉบับสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรม เลนินเคยกล่าวเตือนถึงอันตรายจากบุคลิกของสตาลินมาก่อน และเร่งเร้าให้รัฐบาลโซเวียตหาบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งผู้นำแทน<ref>{{cite book|title=Communism: The Great Misunderstanding|last=Ermak|first=Gennady|year=2016|isbn=1533082898}}</ref>
บรรทัด 108:
[[ลัทธิเหมา]]คือรูปแบบหนึ่งของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งข้องเกี่ยวกับผู้นำจีน [[เหมา เจ๋อตง]] หลังการล้มล้างลัทธิสตาลิน สหภาพโซเวียตยังคงยึดมั่นในลัทธิมากซ์-เลนิน แต่กระแสต่อต้านลัทธิแก้ (Anti-revisionism) บางส่วน เช่น ลัทธิฮกไฮ (Hoxhaism) และลัทธิเหมา ต่างแย้งว่าลัทธิมากซ์-เลนินหลังยุคสตาลินคือรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นนโยบายของคอมมิวนิสต์ใน[[แอลเบเนีย]]และ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน|จีน]]จึงแตกต่างและถอยห่างออกจากสหภาพโซเวียต
 
ลัทธิมากซ์-เลนินถูกวิจารณ์จากแนวคิดคอมมิวนิสต์และมากซิสต์แนวอื่น ๆ ว่ารัฐมากซิสต์-เลนินนิสต์ไม่ได้สถาปนาระบอบสังคมนิยม หากแต่เป็นระบอบทุนนิยมรัฐ (state capitalism) เสียมากกว่า<ref name="hetsa.org.au"/> ซึ่งตามแนวทางลัทธิมากซ์แล้ว เผด็จการ[[ชนกรรมาชีพ|ชนชั้นกรรมาชีพ]] (dictatorship of the proletariat) เป็นตัวแทนถึงการปกครองของชนหมู่มาก (ประชาธิปไตย) มากกว่าที่จะเป็นของพรรคการเมืองเดียว ถึงขนาดที่หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งลัทธิมากซ์ [[ฟรีดริช เองเงิลส์]] เคยอธิบาย "''รูปแบบจำเพาะ"'' ของการปกครองนี้ไว้ว่าเป็นระบอบ[[สาธารณรัฐนิยม|สาธารณรัฐประชาธิปไตย]]<ref>''A Critique of the Draft Social-Democratic Program of 1891''. "Marx & Engels Collected Works", Vol 27, p. 217. "If one thing is certain it is that our party and the working class can only come to power under the form of a democratic republic. This is even the specific form for the dictatorship of the proletariat".</ref> นอกจากนี้ เองเงิลส์ยังอธิบายว่าทรัพย์สินของรัฐแท้จริงแล้วก็คือทรัพย์สินของเอกชน (ทรัพย์สินส่วนตน) ตามธรรมชาติของระบอบทุนนิยม<ref>"Socialism: Utopian and Scientific". Friedrich Engels. [http://www.marxists.org/archive/marx/works/1880/soc-utop/ch03.htm Part III]. Progress Publishers. "But, the transformation—either into joint-stock companies and trusts, or into State-ownership—does not do away with the capitalistic nature of the productive forces".</ref> เว้นแต่หากเหล่าชนชั้นกรรมาชีพสามารถควบคุมอำนาจทางการเมือง (รัฐ) ได้ ทรัพย์สินนั้นต่างหากจะถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะโดยแท้จริง<ref>"Socialism: Utopian and Scientific". Friedrich Engels. [http://www.marxists.org/archive/marx/works/1880/soc-utop/ch03.htm Part III]. Progress Publishers. "The proletariat seizes the public power, and by means of this transforms the socialized means of production, slipping from the hands of the bourgeoisie, into public property. By this act, the proletariat frees the means of production from the character of capital they have thus far borne, and gives their socialized character complete freedom to work itself out".</ref> ซึ่งคำถามที่ว่าชนชั้นกรรมาชีพแท้จริงแล้วมีอำนาจควบคุมเหนือรัฐมากซิสต์-เลนินนิสต์หรือไม่ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่ลัทธิมากซ์-เลนินด้วยกันเอง และลัทธิคอมมิวนิสต์สายอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สำหรับลัทธิคอมมิวนิสต์สายอื่น ๆ แล้ว ลัทธิมากซ์-เลนินอาจไม่ใช่ทั้งลัทธิมากซ์ ลัทธิเลนิน หรือการรวมกันของลัทธิทั้งสอง แต่เป็นเพียงบทนิยามที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เรียกการที่สตาลินบิดเบือนแนวคิดมากซ์-เลนินไปจากเดิม<ref name="stalin_distortion">History for the IB Diploma: Communism in Crisis 1976–89. Allan Todd. p. 16. "The term Marxism–Leninism, invented by Stalin, was not used until after Lenin's death in 1924. It soon came to be used in Stalin's Soviet Union to refer to what he described as 'orthodox Marxism'. This increasingly came to mean what Stalin himself had to say about political and economic issues." [...] "However, many Marxists (even members of the Communist Party itself) believed that Stalin's ideas and practices (such as socialism in one country and the purges) were almost total distortions of what Marx and Lenin had said".</ref> แล้วนำเอาแนวคิดของตนดังกล่าวไปบังคับใช้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและโคมินเทิร์น ในสหภาพโซเวียตเรียกขานแนวทางต่อต้านลัทธิมากซ์-เลนินนี้ว่า "''ลัทธิทรอตสกี"'' ซึ่งเรียกขานตนเองว่าเป็นลัทธิในแนวทางมากซ์และเลนิน (Marxist and Leninist tendency)
 
==== ลัทธิทรอตสกี ====
[[ลัทธิทรอตสกี]] คือแนวคิดตามแนวทางมากซ์และเลนินที่พัฒนาโดย[[เลออน ทรอตสกี]] แต่ต่อต้านลัทธิมากซ์-เลนิน ลัทธิดังกล่าวสนับสนุนทฤษฎี[[การปฏิวัติถาวร]] (permanent revolution) และ[[การปฏิวัติโลก]] แทนที่[[ทฤษฎีสองขั้น]]และแนวทาง[[สังคมนิยมประเทศเดียว]] นอกจากนี้ยังสนับสนุนลัทธิกรรมาชีพสากล (proletarian internationalism) และการปฏิวัติคอมมิวนิสต์อีกครั้งหนึ่งในสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งทรอตสกีอ้างว่าได้กลายเป็น "''รัฐแรงงานเสื่อมโทรม"เสื่อมสภาพ'' (degenerated worker's state) ไปเสียแล้วภายใต้การนำของสตาลิน และความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นผิดเพี้ยนไปในรูปแบบใหม่ แทนที่จะเป็นเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพตามแนวทางลัทธิมากซ์แบบดั้งเดิม
 
ทรอตสกีและผู้สนับสนุนดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเหนือสหภาพโซเวียตและขับไล่สตาลินออกจากการปกครอง ได้แบ่งการจัดตั้งเป็นฝ่ายซ้ายต่อต้าน (Left Opposition) ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักในชื่อลัทธิทรอตสกี อย่างไรก็ตาม สตาลินสามารถรวบรวมอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จไว้ได้สำเร็จในท้ายที่สุด ส่งผลให้ความพยายามของทรอตสกีล้มเหลวและต้องลี้ภัยออกจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1929 ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนั้น ทรอตสกียังคงดำเนินการต่อต้านสตาลินอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การก่อตั้งสังคมนิยมสากลที่สี่ (Fourth International) ในปี ค.ศ. 1938 ขึ้นมาแข่งกับ[[โคมินเทิร์น]] ท้ายที่สุดแล้วทรอตสกีถูกลอบสังหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 ณ กรุงเม็กซิโกซิตี ตามคำสั่งของสตาลิน