ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15:
 
ปลายปี 2515 กองทัพ ตำรวจและอาสารักษาดินแดน "เผาถังแดง" พลเรือนกว่า 200 คน (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย [[จังหวัดพัทลุง]] คาดว่า[[กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร]]เป็นผู้สั่งการ ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ "รูปแบบการละเมิดอำนาจของกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย" ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบที่ป่าเถื่อนในปี 2514–2516 ซึ่งทำให้มียอดพลเรือนเสียชีวิต 3,008 คนทั่วประเทศ (ส่วนประมาณการอย่างไม่เป็นทกางารว่ามีระหว่าง 1,000 ถึง 3,000 ในจังหวัดพัทลุงที่เดียว) ผู้ที่ถูกฆ่าทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับ พคท. จนถึงเวลานั้นผู้ต้องสงสัยคอมมิวนิสต์ที่ถูกทหารจับกุมปกติถูกยิงข้างถนน มีการริเริ่มเทคนิค "ถังแดง" ภายหลังเพื่อกำจัดหลักฐานใด ๆ ผู้ต้องสงสัยจะถูกทุบตีจนเกือบหมดสติก่อนถูกทิ้งลงในถังน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น ถังแดง 200 ลิตรมีตะแกรงกั้นเหล็ก โดยมีไฟด้านล่าง และผู้ต้องสงสัยอยู่ด้านบน
 
[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|วันที่ 6 ตุลาคม 2519]] ท่ามกลางความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ยึดประเทศเช่นเดียวกับที่เกิดในเว่ียดนาม ตำรวจและกำลังกึ่งทหารโจมตีการเดินขบวนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ประมาณการอย่างเป็นทางการระบุว่ามีนักศึกษาถูกฆ่า 46 คน และได้รับบาดเจ็บ 167 คน
 
ตั้งแต่ปี 2522 ท่ามกลางความเจริญของลัทธิชาตินิยมไทยและความเสื่อมของความสัมพันธ์จีน–เวียดนาม ภายใน พคท. เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง สุดท้ายฝ่ายนิยมเวียดนามแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มแยกต่างหาก ชื่อ "พรรคใหม่"
 
ความพยายามยุติการก่อการกำเริบนำสู่นิรโทษกรรมซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 นายกรัฐมนตรี [[เปรม ติณสูลานนท์]] ลงนาม[[คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523]] คำสั่งนี้มีผลสำคัญต่อความเสื่อมของการก่อการกำเริบ ในปี 2516 การก่อการกำเริบก็ถึงคราวยุติ
 
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9‎]]