ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ''' ({{lang-en|crime against humanity}}) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นใน[[การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก|คดีเนือร์นแบร์ก]] และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น [[ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ]], [[คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย]], และ[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]] แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของ[[กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ]] อาชญากรรมชนิดนี้ยังไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่[[องค์การระหว่างประเทศ]] ซึ่งมีโครงการ[[ริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]] (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน
'''อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ''' ({{lang-en|crime against humanity}}) ว่ากันตาม[[นิติศาสตร์]]ฝ่าย[[กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง]]แล้ว ได้แก่ การกระทำอันเป็น[[การบีฑา]]หรือโดย[[ความป่าเถื่อน]]ซึ่งสร้าง[[ความเสียหาย]]ให้แก่ร่างกายของมวลชน กับทั้งยังเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฎ์ในบรรดาความผิดอาญาทั้งปวงด้วย<ref name="crimesofwar">{{cite web|url=http://www.crimesofwar.org/thebook/crimes-against-humanity.html|title=Crimes Against Humanity|accessdate=2006-07-23|author=Cherif Bassiouni}}</ref>
 
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจาก[[อาชญากรรมสงคราม]]ตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้<ref>Margaret M. DeGuzman,[http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1745183 "Crimes Against Humanity"] RESEARCH HANDBOOK ON INTERNATIONAL CRIMINAL LAW, Bartram S. Brown, ed., Edgar Elgar Publishing, 2011</ref> แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, [[การฆ่าคน]], [[การสังหารหมู่]], [[การลดความเป็นมนุษย์]], [[การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์]], [[การกวาดล้างชาติพันธุ์]], [[การเนรเทศ]], [[การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ]], [[วิสามัญฆาตกรรม]], [[การประหารแบบรวบรัด]], การใช้[[อาวุธทำลายล้างสูง]], [[การก่อการร้ายของรัฐ]], [[การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน]], การใช้[[death squad|หมู่สังหาร]], [[การลักพา]], [[การบังคับให้บุคคลสูญหาย]], [[การใช้เด็กทางทหาร]], [[การกักกัน]], [[ทาส|การเอาคนลงเป็นทาส]], [[ความนิยมกินเนื้อมนุษย์ในมนุษย์|การกินเนื้อมนุษย์]], [[การทรมาน]], [[การข่มขืนกระทำชำเรา]], [[การเบียดเบียนทางการเมือง]], [[คตินิยมเชื้อชาติเชิงสถาบัน|การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ]], และ[[การละเมิดสิทธิมนุษยชน]] อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง
[[บันทึกหลักการและเหตุผล]]ประกอบร่าง[[ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ]] ชี้แจงว่า "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นอาชญากรรมน่าสมเพชยิ่ง ด้วยว่าสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงให้แก่[[ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์]] ทำให้เกิด[[การทำให้รู้สึกอัปยศ|ความรู้สึกอัปยศอดสู]]อย่างร้ายกาจ หรือทำให้ความเป็นมนุษย์ของบุคคลหนึ่งหรือหลายคนต้องเสื่อมถอยลง อาชญากรรมนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะตัวหรืออย่างกระจัดกระจาย แต่เป็นผลหนึ่งจากนโยบายของรัฐ (ซึ่งถึงแม้ว่าผู้กระทำความผิดไม่จำเป็นต้องระบุว่าตนเกี่ยวข้องกับนโยบายนั้นอย่างไร) หรือการกระทำอันป่าเถื่อนซึ่งรัฐผู้มีอำนาจในทางพฤตินัยยอมรับหรือไม่เอาโทษ อย่างไรก็ดี [[การฆ่าคน]] การกำจัด [[การทรมาน]] [[การข่มขืน]] การบีฑาทางการเมือง ชาติพันธุ์ หรือศาสนา ตลอดจนการกระทำอย่างอื่นอันมีลักษณะเยี่ยงเดรัจฉาน จะเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติได้เมื่อการเช่นว่านั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง การกระทำเช่นว่าแม้จะเกิดขึ้นเฉพาะตัวแต่ก็อาจเป็นการละเมิด[[สิทธิมนุษยชน]]ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์"<ref name="Horton"> As quoted by Guy Horton in ''[http://www.ibiblio.org/obl/docs3/Horton-2005.pdf Dying Alive - A Legal Assessment of Human Rights Violations in Burma]'' April 2005, co-Funded by The Netherlands Ministry for Development Co-Operation. See section "12.52 Crimes against humanity", Page 201. He references RSICC/C, Vol. 1 p. 360 </ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{commonscat|Crimes against humanity}}
* [http://www.crimesofwar.org/thebook/crimes-against-humanity.html Crimes of War project]
* [http://www.adh-geneva.ch/RULAC Rule of Law in Armed Conflicts Project]
* [http://www.pinkyshow.org/archives/episodes/061211/061211_crimehumanity.html ''What is a Crime Against Humanity?''] - an online video.
* [http://netnebraska.org/extras/humanrights/02gen/0200/0200_01.htm Genocide & Crimes Against Humanity] - a learning resource, highlighting the cases of Myanmar, Bosnia, the DRC, and Darfur
 
{{ศาลอาญาระหว่างประเทศ}}
 
[[หมวดหมู่:อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ| ]]
[[หมวดหมู่:การละเมิดสิทธิมนุษยชน]]
{{โครงการเมือง}}
[[หมวดหมู่:กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ]]
[[หมวดหมู่:การทรมาน]]
[[หมวดหมู่:อาชญากรรมสงคราม]]