ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคพิษสุนัขบ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 98:
ในประเทศไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย แนะนำให้ผู้ป่วยสัมผัสโรคระดับ 3 ของ[[องค์การอนามัยโลก]]ได้รับอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้า (rabies immunoglobulin) 1 ขนาด และวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า 4–5 เข็ม โดยขนาดอิมมูโนโกลบูลินไม่ควรเกิน 20 หน่วยต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ควรฉีดอิมมูโนโกลบูลินรอบแผลให้มากที่สุด และที่เหลือฉีดในชั้นกล้ามเนื้อ ณ จุดที่อยู่ไกลจากจุดฉีดวัคซีน ส่วนการสัมผัสโรคระดับ 1 และ 2 ไม่จำเป็นต้องได้รับอิมมูโนโกลบูลิน<ref name="เสาวภา">[http://saovabha.redcross.or.th/download/2559/thailand%20Rabies-Free/QsmiGuidline2016.pdf แนวทางการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (พ.ศ. 2559)] สถานเสาวภา สภากาชาดไทย สืบค้นเมื่อ 17-3-61</ref>
 
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเข็มแรกควรให้โดยเร็วที่สุด ในกรณีของการฉีดใต้หนัง เข็มถัดมาจะฉีดในวันที่ 3, 7 และ 28 หลังฉีดวันแรก รวม 4 เข็ม และในกรณีของการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เข็มถัดมาจะฉีดในวันที่ 3, 7, 14 และ 28 รวม 5 เข็ม แพทย์อาจพิจารณาไม่ฉีดวัคซีนจนครบกรณีที่สามารถสังเกตอาการของสัตว์ได้ ส่วนผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนครบอย่างน้อย 3 เข็ม (วันที่ 0, 3 และ 7) แล้วก่อนสัมผัสโรคครั้งนี้ ไม่ต้องได้รับอิมมูโนโกลบูลิน โดยจะฉีดวัคซีนกระตุ้นในวันที่ 0 และ 3 (รวม 2 เข็ม) เท่านั้น หรือเข็มเดียวกรณีที่เคยฉีดเข็มสุดท้ายไม่เกิน 6 เดือน<ref name="เสาวภา"/>
 
อาการปวดและผลข้างเคียงของวัคซีนมีเซลล์สมัยใหม่จะคล้ายกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อควรฉีดเข้าต้นแขน ไม่ควรฉีดเข้าบริเวณแก้มก้น ในทารกแนะนำให้ฉีดเข้าด้านข้างของต้นขา<ref>{{cite web|url=http://www.who.int/ith/vaccines/rabies/en/ |title=Rabies |author= |website=www.who.int |publisher=[[World Health Organization]] |accessdate=1 February 2015 |deadurl=no |archiveurl=https://web.archive.org/web/20150215014809/http://www.who.int/ith/vaccines/rabies/en/ |archivedate=15 February 2015 |df= }}</ref>