ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคพิษสุนัขบ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 69:
 
==การรักษา==
การรักษาส่วนใหญ่ทำได้โดยให้วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากการสัมผัสสามารถป้องกันโรคได้ โดยเมื่อให้อย่างถูกต้องทันท่วงทีภายใน 10 วันหลังจากรับเชื้อจะสามารถป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี การล้างแผลส่วนน้ำและสบู่อย่างหมดจดทันทีเมื่อรับเชื้อ (ภายใน 5 นาที) ก็มีส่วนช่วยในการลดจำนวนตัวอนุภาคไวรัสได้ และยังสามารถลดจำนวนเชื้อได้อีกด้วยการใช้โพวิโดนไอโอดีนหรือแอลกอฮอล์ในการทำแผล
 
ในประเทศไทย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย แนะนำให้ผู้ป่วยสัมผัสโรคระดับ 3 ของ[[องค์การอนามัยโลก]]ได้รับอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้า (rabies immunoglobulin) 1 ขนาด และวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า 4 เข็มกรณีฉีดเข้าในหนัง และ 5 เข็มกรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยขนาดอิมมูโนโกลบูลินไม่ควรเกิน 20 หน่วยต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ควรฉีดอิมมูโนโกลบูลินรอบแผลให้มากที่สุด และที่เหลือฉีดในชั้นกล้ามเนื้อ ณ จุดที่อยู่ไกลจากจุดฉีดวัคซีน
 
===วิธีการมิลวอกี===
วิธีการมิลวอกี ({{lang-en|Milwaukee protocol}} หรือวิธีการวิสคอนซิน<ref>[http://www.medpagetoday.com/InfectiousDisease/GeneralInfectiousDisease/5475, "Rabies Rescue Protocol Fails in New Cases" accessed 15 January 2012]</ref><ref>[https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/mm5615a1.htm "Human Rabies --- Indiana and California, 2006" Accessed 15 January 2012]</ref>เป็นชุดของกระบวนการเพื่อการรักษาอย่างหนึ่งที่เคยถูกใช้เพื่อพยายามรักษาโรคพิษสุนัขบ้าระยะแสดงอาการในมนุษย์ มีองค์ประกอบสำคัญคือการทำให้ผู้ป่วย[[โคม่าจากการใช้ยา|หมดสติด้วยยา]]และให้[[ยาต้านไวรัส]] จากการเก็บข้อมูลมาจนถึงปัจจุบันพบว่าวิธีการนี้ไม่ใช่วิธีการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้ผล และไม่เป็นที่แนะนำให้ใช้อีกต่อไป<ref name=jackson>{{cite journal |vauthors=Jackson AC |title=Human Rabies: a 2016 Update |journal=Curr Infect Dis Rep |volume=18 |issue=11 |pages=38 |year=2016 |pmid=27730539 |doi=10.1007/s11908-016-0540-y |type=Review}}</ref>