ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 58.8.169.195 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Tvcccp
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:German instrument of surrender2.jpg|right|thumb|250px|การตราสารยอมจำนนซึ่งลงนามในแรมส์ วันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945]]
 
'''การตราสารยอมจำนนของเยอรมนี''' เป็น[[ตราสาร]]จัดให้มีการหยุดยิงเป็นอันสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามโดยผู้แทนจาก[[โอเบอร์คอมมันโด แดร์ เวร์มัคท์]]หรือกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ (''Oberkommando der Wehrmacht-''OKW) และกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 และโดยหัวหน้าของโอเบอร์คอมมันโด แดร์ เวร์มัคท์ และผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุดอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม วันดังกล่าวในชาติตะวันตกเรียกว่า [[วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป]] ขณะที่ในรัฐหลังโซเวียต วันแห่งชัยชนะได้มีการเฉลิมฉลองขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม ส่วนในเยอรมนี วันดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า วันแห่งการยอมจำนน<ref> ''Grosshistoricher Weltatlas'', 1965 edition See end of World War II map </ref>
 
ตราสารยอมจำนนดังกล่าวมีสามภาษา แต่เฉพาะฉบับภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียที่มีอำนาจใช้บังคับ
 
== เบื้องหลัง ==
การร่างข้อความในตราสารยอมจำนนเริ่มขึ้นโดยผู้แทนสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักรที่[[คณะกรรมการที่ปรึกษายุโรป]] (EAC) ตลอดปี ค.ศ. 1944 และเมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเดียวกัน คณะกรรมการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของ EAC ได้เสนอให้การยอมจำนนของเยอรมนีควรจะบันทึกในเอกสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพียงฉบับเดียว<ref>Memorandum by the Working Security Committee, January 3, 1944, ''Foreign Relations of the United States 1944'', vol I, p. 101</ref>
 
คณะกรรมการเสนอต่อไปว่าตราสารยอมจำนนนั้นควรจะได้รับการลงนามโดยผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนี การพิจารณาเบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิด[[ตำนานแทงข้างหลัง]]ซ้ำอีก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก่อตัวขึ้นในเยอรมนีหลังจากความพ่ายแพ้ใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] นับตั้งแต่การยอมจำนนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งได้รับการลงนามโดยผู้แทนของรัฐบาลเยอรมัน และวงการทหารในภายหลังอ้างว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบในความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น