ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
เมื่อประสบความสำเร็จในปี 1871 เขาใช้การทูต[[ดุลอำนาจ]]อย่างช่ำชองเพื่อธำรงฐานะของเยอรมนีในทวีปยุโรปซึ่งยังสงบอยู่แม้มีข้อพิพาทและการขู่ทำสงครามมากมาย นักประวัติศาสตร์ เอริก ฮ็อบส์บาว์ม ถือว่าบิสมาร์คคือ "ผู้ยังเป็นแชมป์โลกอย่างไร้ข้อถกเถียงเรื่องเกมหมากรุกการทูตพหุภาคีเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีนับแต่ปี 1871 [และ] อุทิศตนโดยเฉพาะจนประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพระหว่างชาติมหาอำนาจ"<ref>[[Eric Hobsbawm]], ''The Age of Empire: 1875–1914'' (1987), p. 312.</ref> ทว่า การผนวกอัลซาซ-ลอแรนของเขาเป็นเชื้อชาตินิยมฝรั่งเศสใหม่และส่งเสริมความกลัวเยอรมันในฝรั่งเศส เหตุนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 
ทั้งนี้นโยบายการเมืองแบบ ''การทูต[[เรอัลโพลีทิค'']] ({{lang-de|realpolitik}}; การเมืองเชิงปฏิบัติ) ของเขา ประกอบกับอำนาจอันมากมายมหาศาลในปรัสเซีย ส่งผลให้บิสมาร์คได้รับสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีเหล็ก" ส่วนภารกิจด้านการต่างประเทศ [[การสร้างเอกภาพเยอรมนี|การรวมชาติเยอรมัน]]และการเติบโตทางเศรษฐกิจอันรวดเร็วคือพื้นฐานที่ใช้เป็นรากฐานของนโยบายด้านการต่างประเทศของเขา บิสมาร์คไม่นิยมชมชอบลัทธิ[[จักรวรรดินิยม]] แต่ก็ยังจัดตั้ง[[จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน|จักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเล]]โดยแม้ไม่เต็มใจเนื่องจากถูกเรียกร้องจากถูทั้งฝ่ายชนชั้นสูงอภิชนและสาธารณชนทั่วไปเรียกร้อง นอกจากนี้บิสมาร์คยังเล่นกลด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้ง ทั้งยังใช้ทักษะด้านการทูตในการดำรงสถานะของเยอรมนีและเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ
 
ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศบ้านเกิด เขาคือบุคคลที่ริเริ่ม[[รัฐสวัสดิการ]]ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงมวลชนจากชนชั้นแรงงานให้มาเข้าร่วมกับฝ่ายของเขา มิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับฝ่ายสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้<ref>Steinberg, 2011, pp.8, 424, 444; Bismarck specifically referred to Socialists, among others, as "Enemies of the Reich".</ref> ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฝ่ายเสรีนิยม (ผู้ชื่นชอบอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านศาสนจักรคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า ''คุลทูร์คัมพฟ์'' ({{lang-de|Kulturkampf}}; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party; Zentrum) อันทรงพลังและใช้สิทธิในการออกเสียงทั่วไปของเพศชายมาจัดตั้งเป็นฐานคะแนนเสียงสำหรับที่นั่งในสภา ฯ ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำท่าทีของตนเอง, ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์, ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม, ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่าย[[สังคมนิยม]] นอกจากนี้บิสมาร์คยังเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาใน[[ลูเทอแรน|นิกายลูเทอแรน]]อย่างมาก ทั้งยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ในท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภา ''[[ไรชส์ทาค (จักรวรรดิเยอรมัน)|ไรชส์ทาค]]'' มีฐานะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติเยอรมันและมีสมาชิกไรชส์ทาคได้รับเลือกจากสาธารณชนเพศชายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจในการควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก ดังนั้นบิสมาร์คผู้ไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบเจ้าขุนมูลนายที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี อันประกอบไปด้วยขุนนางศักดินา ''ยุนเคอร์'' ที่สืบทอดกันมาแต่สมัยก่อนผู้เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก ในรัชกาลของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการภายในและกิจการการต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่ออายุ 75 ปี โดย[[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2]] ในปี ค.ศ. 1890