ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระแห่งเนปาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
 
== พระราชประวัติ ==
สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ณ [[พระราชวังนารายัณหิตี]] ใน[[กาฐมาณฑุ|กรุงกาฐมาณฑุ]] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของ[[สมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล|มกุฎราชกุมารมเหนทระ]] (พระอิสริยยศในขณะนั้น) กับมกุฎราชกุมารีอินทระ (สกุลเดิม: ราณา) หลังประสูติกาลโหรหลวงได้ทำนายทายทักว่าพระราชโอรสที่ประสูติใหม่จะนำโชคร้ายสู่พระชนก ดังนั้นพระองค์เมื่อยังทรงพระเยาว์จึงถูกส่งไปให้พระอัยยิกาทรงอุปถัมภ์อำรุงบำรุง<ref name="Chowdhuri">{{cite news | last =Chowdhuri | first =Satyabrata Rai | title =Monarchy in Nepal | publisher =The Hindu | date =27 July 2001 | url =http://www.hinduonnet.com/2001/07/27/stories/05272524.htm | accessdate =25 December 2007 }}</ref>
 
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 [[สมเด็จพระเจ้าตริภูวันแห่งเนปาล|สมเด็จพระเจ้าตริภูวัน]]และ[[สมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล|มกุฎราชกุมารมเหนทระ]]รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นทรงลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศอินเดีย โดยปล่อยให้เจ้าชายชญาเนนทระอยู่ลำพังพระองค์ ที่ต่อมา[[โมหัน ศัมเศร์]] นายกรัฐมนตรีเนปาล ได้นำเจ้าชายเข้ามาในกาฐมาณฑุเพื่อตั้งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นเอง และนายกรัฐมนตรียังให้งบประมาณ 300,000 รูปีเป็นรายได้ของพระองค์ต่อปี<ref>{{cite news | title =Homeward Bound| publisher =Time Magazine | date =22 January 1951 | url =http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,888899,00.html| accessdate =25 December 2007 }}</ref> แต่การขับไล่สมเด็จพระเจ้าตริภูวันของนายกรัฐมนตรีจากตระกูลราณานั้น ทำให้สถานะพระมหากษัตริย์ของชญาเนนทระมิได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ<ref>{{cite web| last =Buyers| first =Christopher| title =Nepal| publisher =Royal Ark| url =http://www.4dw.net/royalark/Nepal/nepal13.htm| accessdate =25 December 2007 }}</ref>