ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮอรอโดทัส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 8:
'''เฮอรอโดทัส''' เคยอาศัยอยู่ที่[[เอเธนส์|กรุงเอเธนส์]] หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับ[[โสโฟเคิลส์]] (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับ[[อาณานิคม]]กรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี พ.ศ. 100 และจากเมืองอาณานิคมธูรินี้เฮอรอโดทัสก็ได้เดินทางไป[[ซิชิลี]]และ[[อิตาลี]]ตอนล่าง จากนั้นไปถึง[[ลิเบีย]] [[ซีเรีย]] [[บาบิโลเนีย]] เมืองซูซาในอีแลม [[ลีเดีย]] ไพรเจียจนถึง[[ไบเซนทิอุม]] (Byzantium) และ[[มาซิโดเนีย]] โดยเดินทางทั้งทางบกและทางเรือ ทางภาคเหนือเฮอรอโดทัสได้ไปถึง[[ดานุบ]]และไซเธียไปจนถึง[[ทะเลดำ]] ซึ่งคงใช้เวลาเดินนานหลายปี ในระหว่างการเดินทางเขาได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ได้พบเห็นไว้เป็นจำนวนมากและได้นำมาใช้ในการพรรณาทางประวัติศาสตร์ที่ถือว่ายิ่งใหญ่ โดยได้บันทึกสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย และยังเป็นผู้จัดลำดับ[[เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก]]ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งยังเป็นที่อ้างอิงกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน [[ซิเซโร]]ขนานนามเฮอรอโดทัสว่าเป็น“บิดาแห่งประวัติศาสตร์”
 
== โครงสร้างและขอบเขตประวัติศาสตร์นิพนธ์ของเฮอรอเฮโรโดทัสทุส ==
เนื้อหาการบันทึกประวัติศาสตร์ของเฮอรอโดทัส เน้นเรื่องสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซียโดยแบ่งออกเป็น 9 เล่ม เล่ม 1-5 กล่าวถึงเบื้องหลังของสงคราม เล่ม 6-9 กล่าวถึงการทำสงครามโดยเฉพาะจุดตื่นเต้นที่กษัตริย์[[เซอร์เซส]] (Xerxes) รุกรานกรีก และชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของกรีกที่มีต่อกองทัพเปอร์เซียที่ใหญ่กว่าหลายเท่า เฮอรอโดทัสกล่าวด้วยความฉงนว่าเหตุใดเซอร์เซสจึงสามารถระดมชนเผ่าต่างๆ เข้ามาอยู่ในกองทัพ รวมทั้งการใช้ชาว[[อียิปต์]]และชาว[[โฟนีเซีย]]รวมทั้งชาวกรีกบางคนเข้ามาร่วมอยู่ในกองเรือรบได้ สิ่งที่ประทับใจเฮอรอโดทัสมากที่สุดคือการจัดทัพที่มีขนาดใหญ่มากได้อย่างมีเอกภาพของเซอร์เซส ผิดกับการจัดทัพของกรีกซึ่งรวมตัวจากหลายฝ่ายทางการเมืองและมีสายการบังคับบัญชาที่ขัดแย้งกันบ่อย แต่ในที่สุดกรีกสามารถเอาชนะเปอร์เซียได้