ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7105519 สร้างโดย 171.97.236.241 (พูดคุย)
บรรทัด 10:
| พระราชบิดา = [[สมเด็จพระอินทราชา]]
| พระราชมารดา =
| พระมเหสี = พระราชเทวี (พระราชธิดาใน[[พระมหาธรรมราชาที่ 2]])
| พระราชบุตร = พระนครอินท์เจ้า<br />[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์สุพรรณภูมิ]]
บรรทัด 19:
| รัชกาลถัดมา = [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]
|}}
'''สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2''' หรือ '''เจ้าสามพระยา''' เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 7 แห่ง[[อาณาจักรอยุธยา]] ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1967 - พ.ศ. 1991
 
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีการตี[[อาณาจักรล้านนา]]และ[[ประเทศกัมพูชา]] นับเป็นการขยายพระราชอาณาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม
บรรทัด 30:
พระองค์มีพระราชโอรส 2 พระองค์ ได้แก่
# พระนครอินทร์ โปรดให้ไปครอง[[นครธม|เมืองนครหลวง]] จนกระทั่งสิ้นพระชนม์
# [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] ประสูติแต่พระมารดาราชเทวีที่เป็นพระราชธิดาของ[[พระมหาธรรมราชาที่ 2]] แห่ง[[กรุงสุโขทัย]]
 
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. 1991 พระองค์ครองราชสมบัติรวม 24 ปี โดยสมเด็จพระราเมศวรพระราชโอรสได้สืบราชสมบัติต่อ มีพระนามว่า[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]
 
== พระราชกรณียกิจ ==
=== ด้านราชการสงคราม ===
{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ}}
=== ด้านราชการสงครามก ===
==== การศึกกับเขมร ====
ปี พ.ศ. 1974 สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองนครหลวง ([[นครธม]]) ในรัชสมัย[[พระธรรมาโศกราช]]ได้ แล้วโปรดให้พระนครอินท์เจ้า พระราชโอรสไปครองเมืองนครหลวงแทนในฐานะเมืองประเทศราช แล้วให้นำพระยาแก้วพระยาไท พรอมทั้งพระประยูรญาติ เหล่าขุนนาง กับทั้งรูปหล่อพระโคสิงห์สัตว์ต่าง ๆ กลับมากรุงศรีอยุธยาด้วย ทำให้อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยา
เส้น 46 ⟶ 45:
 
=== ด้านการพระศาสนา ===
เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้สถาปนาเจดีย์ใหญ่ สองพระองค์ ไว้ตรงบริเวณที่เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาชนช้างสู้รบกันถึงสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ ณ ตำบลป่าถ่าน พร้อมกับได้โปรดให้สถาปนา[[วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา|วัดราชบูรณะ]] ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาและสร้างพระปรางค์ใหญ่ขึ้นเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแด่[[สมเด็จพระนครินทราอินทราชาธิราช]] พระราชบิดาในวาระนั้นด้วย
 
[[พ.ศ. 1981]] สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์
เส้น 54 ⟶ 53:
 
=== การรวมสุโขทัยกับอยุธยา ===
[[พระเจ้าติโลกราช]] พระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]] เป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการสงคราม ได้พยายามที่จะขยายอาณาเขตของเมืองเชียงใหม่ลงมาทางใต้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เชื้อสาย[[ราชวงศ์พระร่วง]] ปกครองสุโขทัยในฐานะเมืองประเทศราชอยู่เช่นนั้นแล้ว จะทำให้ผู้คนในหัวเมืองพากันไปเข้ากับล้านนา หรือไม่ก็ถูกล้านนาลงมารุกราน ด้วยสุโขทัยนั้นอ่อนแอลงไม่เข้มแข็งพอ ที่จะดูแลหัวเมืองต่าง ๆ นั้นได้
 
เพื่อให้หัวเมืองฝ่ายเหนือหรืออาณาจักรสุโขทัยในการดูแลของเมืองพิษณุโลก อยู่ในอำนาจของ[[กรุงศรีอยุธยา]]โดยสมบูรณ์ ดังนั้นใน พ.ศ. 1981 เมื่อ[[พระมหาธรรมราชาที่ 4]] ได้สวรรคตลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงทรงให้รวบรวมหัวเมืองเหนือที่เคยแยกการปกครองเป็นสองเขตนั้น รวมเป็นเขตเดียวกัน แล้วแต่งตั้งพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระราชเทวี (ซึ่งเป็นพระราชธิดาใน[[พระมหาธรรมราชาที่ 2]]) เป็น[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ|สมเด็จพระราเมศวรเจ้า]] ให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเพื่อกำกับดูแลหัวเมืองเหนือทั้งหมด ทำให้[[ราชวงศ์พระร่วง]]หมดอำนาจในปกครองสุโขทัย [[อาณาจักรสุโขทัย]]จึงค่อย ๆ ถูกรวมกับกรุงศรีอยุธยา
 
== เหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ==
* พ.ศ. 1981 [[พระพุทธชินราช]]มีน้ำพระเนตรไหลออกมาเป็นโลหิต
* พ.ศ. 1983 เกิดเพลิงไหม้พระราชมนเฑียร
* พ.ศ. 1984 เกิดเพลิงไหม้[[พระที่นั่งตรีมุข]] ใน[[พระราชวังกรุงศรีอยุธยา]]
 
 
== อ้างอิง ==
เส้น 97 ⟶ 95:
{{อายุขัย||1991}}
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ]]
[[หมวดหมู่:เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก]]