ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| พิธีบรมราชาภิเษก =
| ระยะเวลาครองราชย์ =
| รัชกาลก่อนหน้า = [[สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]
| รัชกาลถัดมา = [[พระนางวิสุทธิเทวี]]
}}
บรรทัด 25:
พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์แทบไม่ปรากฏพระราชประวัติในช่วงต้นเลย ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมเป็นเจ้านายจาก[[เมืองนาย]]<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. ''พม่ารบไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 289</ref>ใน[[รัฐชาน|หัวเมืองเงี้ยว]]ซึ่งมีเชื้อสาย[[ราชวงศ์มังราย]] ไม่ปรากฏพระนามพระราชชนก ทราบแต่เพียงว่าพระราชชนกนั้นสืบเชื้อสายมาจาก[[ขุนเครือ]] ซึ่งเป็นพระราชโอรสใน[[พญามังราย]]ที่ไปครองเมืองนาย อันเป็นดินแดนที่มี[[ชาวไทใหญ่]]อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ภายหลังขุนเครือทรงพยายามที่จะชิงราชบัลลังก์ของ[[พญาไชยสงคราม]]พระเชษฐาแต่ไม่สำเร็จ และถูกเจ้าน้ำท่วมสังหารในเวลาต่อมา<ref>อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543, หน้า 45</ref><ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 148</ref> บางแห่งก็ว่ายึดสำเร็จ แต่ภายหลังถูกจับได้ จึงถูกขังไว้จนถึงแก่กรรม<ref name="สรัสวดี">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 237-238</ref> อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมืองนายจะมีเจ้านายเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ล้านนา<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต) : พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 18</ref> ทว่าเมืองนายคุกคามเมืองเชียงใหม่ในบางโอกาส บางครั้งก็ตกเป็น[[รัฐบรรณาการ]]ของล้านนาในช่วงเวลาที่ล้านนารุ่งเรือง<ref name="สรัสวดี"/>
 
ส่วนพระราชชนนีของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ก็ไม่ปรากฏพระนามเช่นกัน แต่พระราชชนนีนี้ยังมีพระชนม์ชีพอยู่จนกระทั่งพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์เสวยราชย์ครองล้านนา ปรากฏพระนามในจารึกวัดพระธาตุศรีจอมทองว่า "พระอัครราชมาดา พระมหาเทวีเจ้า"<ref name="จารึก"/> ซึ่ง รศ. ดร. [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]ได้สันนิษฐานว่าพระราชชนนีของพระองค์คือ[[พระนางวิสุทธิเทวี]] ที่ครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์หลังถูก[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ยึดครอง โดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักประกันเพื่อมิให้เจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่คิดแข็งเมืองต่อพม่า<ref name="ชนนี">สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. ''พม่ารบไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 294</ref>
 
=== เสวยราชย์ ===
ก่อนหน้านี้อาณาจักรล้านนามีความสัมพันธ์อันดีกับ[[อาณาจักรล้านช้าง]]และกลายเป็นรัฐเครือญาติกันผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างนางยอดคำพระราชธิดาใน[[พระเมืองเกษเกล้า]] กับ[[พระเจ้าโพธิสาลราช]]กษัตริย์แห่งล้านช้าง มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งคือ[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 239</ref> แต่ต่อมาหลังพระเมืองเกษเกล้าเสด็จสวรรคต ล้านนาจึงเกิดกลียุคมีสงครามยาวนาน [[พระนางจิรประภาเทวี]]จึงเสวยราชย์ ช่วงนั้นได้เกิดกบฏชาวไทใหญ่และการรุกรานของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ทั้งขุนนางแห่งล้านนาเองก็มีอำนาจเหนือกษัตริย์เสียด้วย<ref name="แม่กุ"/> ล้านช้างที่ขณะนั้นกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจึงเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือล้านนาจนฝ่ายอยุธยาพ่ายแพ้ไป พระเจ้าโพธิสาลราชในฐานะผู้ปกป้องล้านนาจึงมีความชอบยิ่งนักได้นำพระราชโอรสคือ[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]มาครองล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงสละราชบัติแก่พระราชนัดดาในปี พ.ศ. 2089<ref name="แม่กุ"/>
 
ครั้นในปี พ.ศ. 2090 พระเจ้าโพธิสาลราชสวรรคตกะทันหัน สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับล้านช้างในปีนั้น พร้อมกับมหาเทวีจิรประภาและ[[พระแก้วมรกต]] อาณาจักรล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างขุนนางกลุ่มต่าง ๆ ช่วงปี พ.ศ. 2091-2094 ล้านนาได้เข้าสู่กลียุคอีกครั้ง<ref name="แม่กุ"/> สุดท้ายขุนนางล้านนามีมติว่าสมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชคงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงเห็นควรให้อัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ เจ้านายเมืองนายผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์มังรายมาเสวยราชย์แทน<ref name="แม่กุ"/> ซึ่งจากจารึกวัดเชียงสา จะพบว่าเนื้อหาเขียนว่าพระองค์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนล้านช้างเสียด้วย<ref name="จารึก1"/>
 
หลังพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์เสวยราชย์ได้ไม่ช้านานนัก สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงไม่พอพระทัย ที่ขุนนางล้านนาอัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์มาเสวยราชย์โดยที่สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมิทรงเห็นชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตี[[อำเภอเชียงแสน|เมืองเชียงแสน]]ในปี พ.ศ. 2098<ref name="แม่กุ"/>
 
พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ทรงพยายามแก้ไขปัญหาการขาดฐานอำนาจในเชียงใหม่ด้วยการนำขุนนางจากเมืองนายติดตามเข้ามา ขุนนางท้องถิ่นล้านนาจึงไม่พอใจนักที่ถูกลดทอนบทบาทลง ซึ่งใน ''ตำนานเมืองเชียงใหม่'' ระบุว่า การกระทำของพระองค์ผิดจารีตล้านนาเพราะใช้จารีตเงี้ยว ส่งผลให้บ้านเมืองเสื่อม<ref name="แม่กุ"/> ทั้งทรงรักษาสัมพันธภาพอันดีกับ[[เมืองนาย]]อย่างใกล้ชิด หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสงคราม อีกฝ่ายหนึ่งก็จะช่วยร่วมรบด้วย การกระทำของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์เสมือนการชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน เพราะทรงช่วยเหลือเมืองนายที่ถูก[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ทรงล้อมไว้<ref name="ตำนาน">อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543, หน้า 92</ref> ด้วยเหตุนี้พระเจ้าบุเรงนองจึงดำเนินการปราบปรามล้านนาในเวลาต่อมา<ref name="แม่กุ"/>
บรรทัด 48:
ด้านการบริหารบ้านเมืองของเชียงใหม่ พระเจ้าบุเรงนองยังทรงให้พระเจ้าเมกุฏิมีส่วนร่วมในการปกครองภายใต้การพระราชบัญชาของพระองค์<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 266</ref> นอกจากนี้พระเจ้าบุเรงนองยังมีพระราชบัญชาให้ขุนนางพม่าที่อยู่รั้งเมืองเชียงใหม่เคารพและน้อมรับพระราชบัญชาของกษัตริย์เชียงใหม่เสียด้วย<ref>ประชากิจวรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ''พงศาวดารโยนก''. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516, หน้า 399</ref><ref>อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543, หน้า 78</ref> ดังจะเห็นได้ว่าแม้ล้านนาจะตกเป็นประเทศราชของพม่าแล้ว แต่พระมหากษัตริย์พม่ายังทรงยกย่องให้เกียรติและยอมรับสถานะของพระเจ้าเมกุฏิในฐานะเจ้าผู้ครองเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์<ref>วรชาติ มีชูบท. ''ย้อนอดีตล้านนา ตอน รวมเรื่องน่ารู้จากแผนที่เมืองนครเชียงใหม่''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 29</ref>
 
ในช่วงที่พระองค์ปกครองเชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่า กองทัพพันธมิตรล้านนาที่นำโดยเจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองน่าน เจ้าเมืองลำปาง เจ้าเมืองเชียงราย และเจ้าเมืองเชียงของซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก[[สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]แห่งล้านช้างเข้าโจมตีกองทัพพม่าในเชียงใหม่หลังพระเจ้าบุเรงนองเสด็จกลับหงสาวดีราว 2-3 เดือน ด้วยเหตุนี้พระเจ้าบุเรงนองจึงส่งทัพใหญ่มาช่วยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2101 ประกอบไปด้วยทัพม้า 6,000 ตัว ช้าง 500 เชือก และทหาร 150,000 นาย<ref>นายต่อ (แปล). ''มหาราชวงษ์ พงศาวดารพม่า''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545, หน้า 68</ref> สามารถป้องกันเชียงใหม่ได้ และสามารถรุกขึ้นไปตีเมืองเชียงรายแตก สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่กำลังล้อมเมืองเชียงแสนอยู่จึงหนีออกไป<ref name="ลงโทษ">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 270-271</ref>
 
ต่อมาพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์และพระยากระมลเจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสนร่วมกันคิดกบฏต่อกรุง[[หงสาวดี]] เพราะไม่ยอมส่งทัพช่วยพม่ารบกับ[[อาณาจักรอยุธยา]]เมื่อคราว[[สงครามช้างเผือก]]ในปี พ.ศ. 2016 โดยมีเจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองน่าน และเจ้าเมืองลำปางร่วมก่อกบฏด้วยโดยมีสมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสนับสนุน แต่คราวนี้หลังพม่าเสร็จศึกที่อยุธยา ก็ยกทัพขึ้นมาปราบล้านนาอีกครั้ง บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่เคยลุกขึ้นมาต่อต้านกลับพากันหลบลี้ไปล้านช้างเสียหมดยกเว้นพระเจ้าเมกุฏิที่ยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดีและจัดบรรณาการมาถวาย ทว่าความผิดที่พระเจ้าเมกุฏิฝ่าฝืนการปฏิบัติคำสั่งถือเป็นโทษร้ายแรง<ref name="ลงโทษ"/> เป็นเหตุให้พระเจ้าบุเรงนองถอดพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ออกจากพระราชบัลลังก์ล้านนาและพาตัวไปหงสาวดีเป็นการลงทัณฑ์ แล้วพระราชทานตำหนักขาวให้ประทับ ดังปรากฏใน ''พระราชพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว'' ที่กล่าวถึงปี พ.ศ. 2110 ความว่า (คำอธิบายในวงเล็บเป็นของ รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์)<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. ''พม่ารบไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 299-300</ref>
 
<blockquote>"...ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานตำหนักให้กับนะระปะติเจ้าเมืองแพร่ ๑ อะวะนะระปะติจีสู ๑ [นะระปะติสีตู] พระสังข์เจ้าเมืองเชียงใหม่ ๑ [ที่ถูกต้องคือพระตาน มาจากคำว่าเจ้าขนานแม่กุ] พระสาธิราชพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา [พระเธียรราชา] แล้วพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก..."</blockquote>
 
หลังจากนั้นพระเจ้าบุเรงนองจึงตั้ง[[พระนางวิสุทธิเทวี]] ขัตติยนารีผู้มีเชื้อสายราชวงศ์มังรายครองล้านนาสืบต่อไป ซึ่ง รศ. ดร. [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]ได้สันนิษฐานว่าพระนางวิสุทธิเทวีนี้คือพระราชชนนีของพระเมกุฏิ โดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักประกันเพื่อมิให้เจ้าแผ่นดินล้านนาพระองค์ใหม่คิดแข็งเมืองต่อพม่า<ref name="ชนนี"/> เพราะฝ่ายพม่าได้ยกไพร่พลและขุนนางรามัญไปอยู่ในเมืองเชียงใหม่เสียด้วย ดังปรากฏใน ''พงศาวดารโยนก'' ความว่า<ref>ประชากิจวรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ''พงศาวดารโยนก''. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516, หน้า 401</ref>
 
<blockquote>"...แล้วตั้งราชเทวีอันเป็นเชื้อสายเชียงใหม่แต่ก่อนทรงนามพระวิสุทธิเทวีขึ้นเป็นราชินีครองเมืองนครเชียงใหม่สืบไป ให้ขุนนางรามัญอยู่เป็นข้าหลวงกำกับเมือง..."</blockquote>
บรรทัด 72:
พระเมืองแก้ว แต่งเบี้ย ๙๘ หื้อเปน ๑๐๐ ท้าวอ้ายเกล้า [พระเมืองเกษเกล้า] แต่งเบี้ย ๘๐ เปน ๑๐๐
 
ท้าวชาย แต่งเบี้ย ๗๐ เปน ๑๐๐ ท้าวอุปโย [สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช] แต่งเบี้ย ๖๐ เปน ๑๐๐
 
<u>พระแม่กุ แต่งเบี้ย ๕๘ เปน ๑๐๐</u> เหตุ ๓ ประการนี้ แพ้เจ้าเมืองแพ้บ้านเมืองแล อันใดก็ดี บ่พอหมื่นว่าหมื่น
บรรทัด 94:
 
=== การต่างประเทศ ===
พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ทรงมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ[[เมืองนาย]]อย่างใกล้ชิด เนื่องจากทรงสืบเชื้อสายจากเมืองนาย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสงคราม อีกฝ่ายหนึ่งก็จะช่วยร่วมรบด้วย ดังในปี พ.ศ. 2098 ที่[[สมเด็จพระพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]แห่งล้านช้างทรงยกทัพมาตีเมืองเชียงแสนของล้านนา เจ้าฟ้าเมืองนายก็ทรงช่วยรบที่เมืองเชียงแสน และในปี พ.ศ. 2100 เจ้าฟ้าเมืองนายถูกทัพของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]เข้าล้อม พระเจ้าเมกุฏิก็ทรงช่วยด้วยการส่งอาวุธและกองกำลังไปช่วย<ref name="ตำนาน"/>
 
== คติชน ==