ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรีสซี คาเฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1:
{{ปรับภาษา}}
{{รวม|อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร}}
{{ต้องการอ้างอิง}}{{กล่องข้อมูล นักดนตรี|ชื่อ=กรีสซี คาเฟ่|ประเภท=วงดนตรี|ภาพ=ApichaiTGreasyCafe.jpg ‎|คำบรรยายภาพ=|ขนาดภาพ=|ภาพแนวนอน=|ชื่อจริง=|ชื่อเล่น=|ฉายา=|วันเกิด=|วันที่เสียชีวิต=|แหล่งกำเนิด=[[กรุงเทพฯ]], [[ไทย]]|เครื่องดนตรี=|แนวเพลง=[[ออลเทอร์นาทิฟร็อก]], [[บริทป็อป]], [[โพสต์ร็อก]]|อาชีพ=|ช่วงปี=พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน|ค่าย=[[Smallroom]]|ส่วนเกี่ยวข้อง=|เว็บ=[http://www.greasy-cafe.com/ Greasy-Cafe.com]|สมาชิก=|อดีตสมาชิก=}}'''กรีสซี คาเฟ''' ([[ภาษาอังกฤษแบบบริติช|อังกฤษ]]: Greasy Cafe) หรือ [[อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร]] เป็นศิลปินและนักแต่งเพลงชายชาว[[ประเทศไทย|ไทย]]ภายใต้สังกัด [[สมอลล์รูม|Smallroom]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2542]] เขามีผลงานอัลบั้มเพลงมาแล้ว 3 ชุดคือ สิ่งเหล่านี้ [[พ.ศ. 2551]] ทิศทาง [[พ.ศ. 2552|พ.ศ. 2552]] และ The Journey without Maps พ.ศ. 2555 อภิชัยมีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเองมาแล้ว 2 ครั้งคือ [[Greasy Cafe: Untill Tomorrow]] ที่[[สนามกีฬาจรัญ บุรพรัตน์]] [[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพฯ]] และ [[Greasy Cafe: Untill Tomorrow Home]] ที่[[เขากะโหลก]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์|จังหวัดประจวบคิรีขันธ์]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 21:
== ผลงานเพลง ==
 
=== Smallroom 001-002 (พ.ศ. 2543) ===
เพลงแรกที่อภิชัยใช้ชื่อ Greasy Cafe ในการทำงาน คือเพลง [[หา(Quest?)]] อัลบั้มคอมพลิเอชัน [[Smallroom 001]] [[รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์|รุ่งโรจน์]]เจ้าของค่ายเพลง [[สมอลล์รูม|Smallroom]] ได้แรงบันดาลใจจากอัลบั้มรวมเพลงจากหลายศิลปินในต่างประเทศ โดยแต่ละชุดจะมีคอนเซปต์ธีมต่างกัน ศิลปินที่รุ่งโรจน์ชวนมาร่วมงานมีทั้งวงดนตรีอาชีพ คนทำดนตรีเบื้องหลัง และคนในวงการซึ่งไม่เคยทำเพลงมาก่อน
 
บรรทัด 28:
อภิชัยยังใช้ชื่อ Greasy Cafe ทำเพลงในชุด [[Smallroom 002]] เพลง พบ หลังจากนั้นรุ่งโรจน์ยังชวนอภิชัยทำเพลงเป็นระยะ เช่น ทำเพลงในโครงการสนามหลวงคอนเนคส์ สังกัด [[สนามหลวงมิวสิก|สนามหลวง]] ในเครือ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อินเตอร์เนชันแนล|จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]] โดยนำเพลง เธอรู้รึเปล่า ของ [[ใหม่ เจริญปุระ]] มาเรียบเรียงใหม่ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมรุ่งโรจน์จึงชวนอภิชัยมาทำอัลบั้มเต็ม จนเกิดเป็นอัลบั้มแรก [[สิ่งเหล่านี้ (อัลบั้ม)|สิ่งเหล่านี้]] ในปี[[พ.ศ. 2551]]
 
=== สิ่งเหล่านี้ (พ.ศ. 2551) ===
[[รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์|รุ่งโรจน์]]เป็นคนแนะนำให้อภิชัยทำเพลงอัลบั้มนี้ร่วมกับ [[รัฐ พิฆาตไพรี]] (นามแฝงว่า Ruzzy) มือกีตาร์วง [[แทตทูคัลเลอร์|Tattoo Colour]] ทุกเพลงในอัลบั้มคือเพลงที่อภิชัยแต่งในช่วงกลับมาอยู่ประเทศไทยและนำมาเรียบเรียงใหม่อภิชัยใช้เวลาทำอัลบั้มนี้ประมาณ 3 เดือน ช่วงแรกเขาอยากให้เพลงในอัลบั้มเน้นการใช้กีตาร์โปร่งเป็นหลัก การทำงานก็มักเริ่มจากการเล่นกีตาร์โปร่งและร้อง อภิชัยยังอัดเครื่องดนตรีบางส่วน เช่น เสียงเบส กีตาร์ไฟฟ้า และกลองในเพลง ความบังเอิญ จากนั้นรัฐจะเป็นผู้เรียบเรียงและแนะนำการใช้เสียงที่ต่างจากกีตาร์โปร่งเพื่อให้ดนตรีหลากหลายขึ้น เช่น ช่วยคิดและอัดกีตาร์โซโล่ในเพลง เกษมสำราญ
 
บรรทัด 41:
อัลบั้ม สิ่งเหล่านี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ อภิชัยได้รับรางวัลทางดนตรีหลายสถาบัน เช่น รางวัลศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม [[คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 6|คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 6]] และ [[Fat awards]] ครั้งที่ 9 เข้าชิงรางวัลศิลปินเดี่ยวร็อคยอดเยี่ยม [[สีสันอะวอร์ดส์|สีสันอวอร์ด ครั้งที่ 23]] ฯลฯ
 
=== ทิศทาง (พ.ศ. 2552) ===
ถ้ามองในภาพรวม ผลงานเพลงในอัลบั้ม [[ทิศทาง (อัลบั้ม)|ทิศทาง]] มีความคล้ายอัลบั้มแรกจนเป็นเหมือนภาคต่อของ สิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อเจาะลึกในรายละเอียด ทิศทาง เผยให้เห็นการทดลองทางดนตรีใหม่ๆ ของอภิชัย ทั้งการใช้เสียงกีตาร์ที่หลากหลายขึ้น มีเพลงเร็วที่ซับซ้อนและซ่อนรายละเอียดเยอะขึ้น
 
บรรทัด 50:
อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลศิลปินชายยอดเยี่ยม Fat Awards 11 ได้รับรางวัล ศิลปินรุ่นเดอะผู้สร้างแรงบันดาลใจในรอบ 12 ปี The Fat Awards มิวสิควีดีโอเพลง ทิศทาง ยังได้รับรางวัล [V]Awards จี๊ดโดนใจ แชนแนลวีไทยแลนด์มิวสิกวิดีโออวอร์ดส 2011 ครั้งที่ 7 เพลงของเรา
 
=== The Journey without Maps (พ.ศ. 2555) ===
[[ไฟล์:GreasyCafe, Melody of life2013.jpg|thumbnail|right|งาน Melody of Life ปี 2013]][[ไฟล์:GreasyCafe, ชมรมวิจารณ์บันเทิง.jpeg|thumbnail|right|รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง]]หลังจบอัลบั้ม ทิศทาง อภิชัยประสบปัญหาทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว แม้ผลตอบรับและเสียงวิจารณ์จากสองอัลบั้มแรกจะดีแต่รายได้ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตในประจำวันได้ ปัจจัยรอบด้านทำให้เขารู้สึกกดดันจนไม่มีสมาธิในเขียนเพลงใหม่ อภิชัยตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการเดินทางไปใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ โดยที่ไม่กำหนดเวลาว่าจะอยู่นานแค่ไหน เขานำกีตาร์โปร่ง เครื่องบันทึกเสียง และแลปท็อปจากเมืองไทยมาด้วยเพราะหวังว่าจะได้นำมาใช้ทำเพลงระหว่างใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษ
 
การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ทำให้อภิชัยได้แรงบันดาลใจและเริ่มต้นทำเพลงแม้จะมีเครื่องดนตรีติดตัวแค่ชิ้นเดียว เขานำอุปกรณ์ที่อยู่รอบตัวมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสียง เช่น ใช้เสียงผิวปาก ใช้เสียงดนตรีจากแอพพลิเคชันแอปพลิเคชันทำเพลงใน [[ไอแพด|iPad]] ใช้อูคูเลเล่จากเพื่อนร่วมห้องและแอคคอร์เดียนเก่าซึ่งมีในห้องพักมาใช้ทำเพลง เขาตั้งชื่ออัลบั้มนี้ว่า  The Journey without Maps อภิชัยเคยเล่าว่า “เราไม่เคยเชื่อเลยว่า ในการเริ่มต้นคบใครบางคน เค้าเหล่านั้นจะเดินทางมาพร้อมกับแผนที่ในมือ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า เราจะขึ้นทิศเหนือ ลงใต้ ไปทางซ้าย ขวา หรือเราจะไปกันได้ไกลแค่ไหน และปลายทางจะจบลงที่ใด้”
 
อัลบั้มนี้อภิชัยได้ทดลองทำอะไรใหม่หลายอย่าง เสียงจากเครื่องดนตรีบ้านๆ ที่ใช้ระหว่างทำเพลงที่อังกฤษถูกนำมาใช้จริงทั้งหมด มีเพลง ร่องน้ำตา ซึ่งอภิชัยได้ร้องร่วมกับศิลปินหญิง ญารินดา เป็นครั้งแรก เพลงนี้มิกซ์เสียงร้องของทั้งสองศิลปินในระดับความดังเท่ากัน เพราะเขาคิดว่าเพลงนี้พูดกับคนทั้งเพศจึงควรร้องพร้อมกัน อัลบั้มนี้มีนักดนตรีต่างวงอย่าง เอี่ยว-ปุรวิชญ์ ขาวลออ มือกลองวง [[เดอะริชแมนทอย|The Richman Toy]] เม้ง-ภัทรพล ทองสุขา มือกลองวง [[เดสก์ทอปเออร์เรอร์|Desktop Error]] มาช่วยอัดกลอง อัลบั้มนี้มีเพลงเด่นหลายเพลง เช่น เงาของฝน, หมุน, ประโยคบอกเล่า, ป่าสนในห้องหมายเลข 1, ร่องน้ำตา ฯลฯ การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างและได้เห็นชีวิตคนที่หลากหลายทำให้เนื้อเพลงของ Greasy Cafe หลุดพ้นจากการจมปลักกับความหม่นเศร้าและความเปลี่ยนแปลง เนื้อเพลงอัลบั้มนี้ส่วนใหญ่พูดถึงการเดินทาง ความสัมพันธ์ที่คลี่คลาย และการกล้าเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง
 
The Journey without Maps คืออัลบั้มที่ทำให้ภาพของ Greasy Cafe ค่อนข้างชัดเจน ของ Greasy Cafe ทั้งในแง่ยอดขายและคำวิจารณ์ เขาได้รับรางวัลทางดนตรีจากหลายสถาบัน เช่น อัลบั้มยอดเยี่ยมประจำปีพ.ศ. 2555 [[แชนแนลวีไทยแลนด์|Channel [V] Thailand]] เมโลสโมสร ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม [[คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10]] เพลงยอดเยี่ยม (เงาของฝน) [[สีสันอะวอร์ดส์|สีสันอวอร์ด]]ครั้งที่ 25  มิวสิควีดีโอจากเพลงในอัลบั้มนี้ยังโดดเด่นไม่แพ้อัลบั้มอื่น โดยเฉพาะเพลง เงาของฝน ฝีมือของผู้กำกับ [[หัวกลม]] และเพลง หมุน โดย [[นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์]] อีกเพลงในอัลบั้มที่ได้รับความนิยมมากคือ ร่องน้ำตา นอกจากจะเป็นเพลงฮิตยังได้รับการเลือกให้เป็นเพลงประกอบซีรี่ส์ซีรีส์ [[ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น|HORMONES]] 3 THE FINAL SEASON ของค่ายหนัง [[จีดีเอช ห้าห้าเก้า|GDH]]
 
=== อัลบั้มที่สี่ (พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน) ===
[[พ.ศ. 2560|พ.ศ. 2560]] อภิชัยให้สัมภาษณ์ว่ากำลังเตรียมตัวออกอัลบั้มใหม่อีกครั้ง
 
=== ผลงานเพลงอื่นๆ ===
บรรทัด 67:
อภิชัยยังทดลองทำงานใหม่นอกเหนือจากงานเพลงและภาพยนตร์ นั่นคือหนังสือ The Destination from nowhere รวมเกร็ดความคิดเบื้องหลังเพลงของ Greasy Cafe หนังสือเสียงแนวทดลอง Panoramic และงานเพลงรูปแบบ EP ทำแถมพิเศษเฉพาะในงาน [[Fat T-shirt]] และ [[Cat T-Shirt]] โดยเกิดจากความคิดของอภิชัยว่าอยากให้แฟนของ Greasy Cafe ที่มาซื้อเสื้อได้เพลง ถือเป็นการขอบคุณแฟนเพลงรูปแบบหนึ่งส่วนมากเป็นเพลงทดลองที่ไม่มีคำร้อง เพราะเขาอยากทำเพลงโดยไม่ให้เนื้อร้องมาจำกัดจินตนาการ
 
ในปี [[พ.ศ. 2556]] อภิชัยมีโอกาสทำเพลงพิเศษให้กับเครื่องดื่ม[[แสงโสม (สุรา)|แสงโสม]]ในโครงการชื่อว่า Unique Journey เพลง เสมอ และในปี [[พ.ศ. 2560]] โครงการ [[คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก]] เพลง 9 ซึ่งมีเนื้อหาให้กำลังใจคนทำงานด้วยมุมมองของคนที่ผ่านโลกมานาน นอกจากนี้อภิชัยยังได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ The Down พ.ศ. 2558 ด้วยเพลงชื่อว่า สุดสายตา ซึ่งได้รับรางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ [[สุวรรณหงส์|สุพรรณหงส์ครั้งที่ 25]] เมื่อเดือน[[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2559|พ.ศ. 2559]]
 
== คอนเสิร์ต ==
Greasy Cafe เคยมีคอนเสิร์ตใหญ่ของตัวเอง 2 ครั้งชื่อว่า [[Greasy Cafe: Untill Tomorrow]] ที่[[สนามกีฬาจรัญ บุรพรัตน์]] กรุงเทพฯ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 มีผู้ชมจำนวน 5000 คน งานนี้ถือเป็นการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของอภิชัย เขาตั้งใจจัดองค์ประกอบให้เป็นมากกว่าคอนเสิร์ต แต่รวบรวมสิ่งที่อภิชัยชอบและหลงใหล ร้านอาหารที่มาออกบูทก่อนงานเริ่มคือร้านที่เขาชอบและอยู่ในละแวกบ้านของอภิชัย นิทรรศการในงานก็สะท้อนรสนิยมของตัวเขาซึ่งเป็นด้านที่แฟนเพลงไม่เคยเห็น งานนี้ยังจัดวันเดียวกันช่วงที่มีเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองย่านรามคำแหง ทำให้คอนเสิร์ตเกือบถูกยกเลิก สุดท้ายอภิชัยตัดสินใจจัดต่อเพื่อให้แฟนเพลงที่เดินทางมาถึงแล้วหรือตั้งใจเดินทางไกลเพื่อมางานนี้โดยเฉพาะสมหวังทุกคน
 
แนวคิดในการจัดคอนเสิร์ตมาจากการเปรียบเปรยของอภิชัยว่าแฟนเพลงของเขาเป็นเหมือนผู้ร่วมเดินทาง คอนเสิร์ตสำหรับเขาไม่ใช่แค่งานฟังเพลง แต่เป็นเหมือนการหยุดพักและเฉลิมฉลองก่อนจะเดินทางด้วยกันต่อไป นี่เป็นเหตุผลที่ Untill Tomorrow มีความเป็น 'คอนเสิร์ต' น้อย เน้นชวนให้ผู้คนทั้งแฟนคลับและคนที่เขารู้จักมาใช้เวลากันอย่างใกล้ชิด ในพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ
 
อภิชัยจัดคอนเสิร์ตรูปแบบนี้อีกครั้งในชื่อ [[Greasy Cafe: Untill Tomorrow Home]] ที่เขากะโหลก จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ วันที่ 26 เมษายน [[พ.ศ. 2557|พ.ศ. 2557]] มีผู้ชมจำนวน 2000 คน งานนี้เป็นคอนเสิร์ตอะคูสติกที่มีคนเล่นแค่ 3 คน แต่ใช้เครื่องดนตรีต่างประเภทถึง 20 ชนิด เขานำคำว่า Home ต่อท้ายชื่อคอนเสิร์ตเพื่อล้อกับชื่ออัลบั้ม The Journey without Maps โปสเตอร์งานก็ใช้ภาพทะเลเหมือนปกอัลบั้ม หลังจากพาแฟนเพลงเดินทางมากับอัลบั้มนี้แล้ว เขาอยากให้คอนเสิร์ตนี้เป็นเหมือนการกลับบ้าน ถือเป็นการปิดอัลบั้มสามอย่างสมบูรณ์แบบ
 
== ผลงานสตูดิโออัลบั้ม ==
บรรทัด 96:
* เพลง ช่อมะกอก feat. น.ส. เอ้บ ศุขสลุง [OST. [[ตั้งวง]]] (พ.ศ. 2556)
* เพลง เสมอ (พ.ศ. 2556)
* EP This is love (พ.ศ. 2557)
* เพลง สุดสายตา [OST.The Down] (พ.ศ. 2558)
* EP Relationtrip (พ.ศ. 2559)
 
=== งานแต่งเพลง ===