ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
<blockquote>"ราว พ.ศ. ๒๐๔๕ ในแผ่นดินพระเจ้าบรมราชามหาพุทธางกูร สยามเป็นไมตรีกับโปรตุเกส โปรตุเกสขอกองกำลังกองทัพเรือไทยไปช่วยตีเมืองมะละกา เพราะชาวมะละกาไปทำร้ายพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เข้าไปค้าขาย กองทัพเรืออยุธยาตีเมืองมะละกาได้ พระเจ้าแผ่นดินสยามในขณะนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตรแขกเมืองมะละกาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนพระบิดา ให้มีพระนามว่าจ้าวมะหะหมัดรัตนะรายามหาราช และให้เป็นเมืองประเทศราชถวายดอกไม้เงินทองสิ่งของเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยาตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณ"</blockquote>
 
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ปกครองหัวเมืองประเทศราช อันได้แก่ หัวเมืองมลายู ([[ไทรบุรี]], [[ปัตตานี]], [[กลันตัน]] และ[[ตรังกานู]]), หัวเมืองลาวพุงขาว ([[อาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]]), หัวเมืองลาวพุงดำ ([[อาณาจักรล้านนา|ล้านนา]]), หัวเมืองเขมร ([[กัมพูชา]]) และหัวเมือง[[กะเหรี่ยง]] (ตะวันตกของพม่าในปัจจุบัน)<ref name="ดอกไม้"/> ซึ่งประเทศราชเหล่านี้จะต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องบรรณาการมาทุก ๆ สามปี มูลค่าของดอกไม้เงินดอกไม้ทองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาจจะสูงถึงราว ๆ หนึ่งพัน[[ดอลลาร์สเปน]]เลยทีเดียว<ref name="andaya">อันดายา, บาร์บารา วัดสัน และ อันดายา, ลีโอนาโด วาย. ''ประวัติศาสตร์มาเลเซีย''. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2549, ISBN 9749377672, หน้า 111 - 112</ref> ทั้งนี้การส่งบรรณาการดังกล่าวไม่มีกฎเกณฑ์ว่ามากน้อยเพียงใดเพราะขึ้นอยู่กับผลิตผลในท้องถิ่น หรือเป็นสิ่งของที่ทางกรุงเทพฯ ที่แจ้งความต้องการไป<ref name="ดอกไม้"/>
 
ในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการปฏิรูปการปกครองยกเลิกหัวเมืองประเทศราชในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ธรรมเนียมการส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นบรรณาการจึงสิ้นสุดลง<ref name="ดอกไม้"/>
บรรทัด 17:
 
== ลักษณะ ==
ลักษณะ[[ประเทศไทย|ลั]]กษณะของต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ใช้เพื่อเป็นบรรณาการช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ จะมีลักษณะดังต่อไปนี้<ref name="ดอกไม้"/>
# ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ต้องจัดเป็นคู่เท่านั้น
# ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ต้องทำด้วยเงินทองแท้ทั้งต้น
# ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่คู่กันจะมีน้ำหนักเท่ากัน
บรรทัด 28:
ส่วนต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ใช้ในการศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชามีลักษณะและขนาดเดียวกันกับข้างต้น แต่ต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่เจ้านายและขุนนางใช้คารวะพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระกรุณาสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศหรือบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้นนั้น จะมีลักษณะเดียวกันแต่เป็นขนาดย่อมกว่าเรียกว่า "พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทอง" โดยจะใส่ในแจกันแก้วเจียรนัยหรือแจกันเคลือบก็สุดแต่ฐานะของท่านผู้ได้บรรดาศักดิ์<ref name="ดอกไม้"/>
 
== ในพม่าเมียนมาร์==
ในอดีตเมื่อช่วงที่[[อาณาจักรล้านนา]]ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ก็มีธรรมเนียมการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปให้เช่นกัน โดยล้านนาเรียกว่า '''ดอกไม้คำดอกไม้เงิน''' ดังปรากฏความว่า "...ในปันนาการของยื่นถวายไหว้สา<u>ดอกไม้คำดอกไม้เงิน</u>ทอง ผ้าขาว หมากเบี้ย ทั้งหลาย..."<ref> สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์. 2552, หน้า 269</ref>