ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
=== [[พ.ศ. 2476]] ===
* 1 เมษายน – มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา<ref name="samesky-05-02">บทความ ''เมรุคราวกบฏบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง'' ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550</ref> บ้างอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็น[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|การยึดอำนาจตัวเอง]] เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่<ref name="history-politics" />
* 2 เมษายน – มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี<ref name="thai-cons-dev" /> เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง<ref name="history-politics" /> โดยในขณะนั้นนายกรัฐมนตรีอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร{{อ้างอิง}}
* 12 เมษายน – ปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของปรีดีถูกโจมตีว่าเป็น[[คอมมิวนิสต์]] ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ<ref name="geocities-siamintellect">[http://web.archive.org/20070723175344/www.geocities.com/siamintellect/intellects/pridi/biography.htm geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์]</ref>
* 10 มิถุนายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก<ref name="samesky-05-02" />
* 20 มิถุนายน – [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]][[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหาร]][[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
* 29 กันยายน – นายปรีดี พนมยงค์เดินทางกลับสยาม และดำรงตำแหน่ง[[ศาสตราจารย์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
* 11 ตุลาคม – [[กบฏบวรเดช]]: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดชฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ ("สมุดปกเหลือง") โดยออกเป็นสมุดปกขาว แต่กระทำการไม่สำเร็จ