ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ว็อล์ฟกัง เพาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Warayut Bunyoprakan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
* [[พ.ศ. 2467]] เพาลีได้เสนอ องศาความอิสระทางควอนตัม (quantum degree of freedom) ใหม่อันหนึ่ง (หรือที่เรียกว่า [[หมายเลขควอนตัม]]) ซึ่งได้แก้ปัญหาการไม่ลงรอยกันระหว่าง แถบความถี่จำเพาะของโมเลกุล (molecular spectra) ที่สังเกตได้ กับทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมที่กำลังได้รับการพัฒนา เขาได้สร้าง[[หลักการกีดกันของเพาลี]]ขึ้น บางทีนี่อาจจะเป็นงานที่สำคัญที่สุดของเขา เนื้อหาของงานนี้มีใจความว่า อิเล็กตรอนสองตัวใดๆ ที่มี [[สถานะทางควอนตัม]] (quantum state) เดียวกัน ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ หนึ่งปีหลังจากนั้น แนวคิดใหม่เกี่ยวกับสปินได้ถือกำเนิดขึ้นโดย ราล์ฟ ครอนิก, อูเลนเบค และ เกาด์สมิท เพื่อระบุองศาความอิสระทางควอนตัมนี้ในฐานะเป็นสปินของอิเล็กตรอน
* [[พ.ศ. 2469]] ไม่นานนักหลังจากที่ไฮเซนแบร์กได้ตีพิมพ์ทฤษฎีเมตริกซ์ของกลศาสตร์ควอนตัมสมัยใหม่ เพาลีได้ใช้มันในการสร้างสูตรที่ทำนาย เส้นความถี่จำเพาะของอะตอมของไฮโดรเจน ที่ได้รับการสังเกตไว้ ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนสำคัญในการคุ้มครองความน่าเชื่อถือของทฤษฎีของไฮเซนแบร์ก
* [[พ.ศ. 2470]] เขาได้เสนอ [[เมตริกซ์เมทริกซ์เพาลี]] เพื่อใช้เป็นฐานหลักของตัวกระทำทางสปิน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาทฤษฎีที่ไม่เป็นสัมพัทธภาพของสปิน (nonrelativistic theory of spin) งานชิ้นนี้บางครั้งได้ถูกกล่าวถึงว่ามีอิทธิพลต่อ [[พอล ดิแรก|ดิแรก]] ในการค้นพบ[[สมการดิแรก]] สำหรับอิเล็กตรอนที่เป็นสัมพัทธภาพ แม้ว่าดิแรกจะกล่าวว่าเขาคิดค้นเมตริกซ์เดียวกันนี้ด้วยตัวเขาเอง โดยที่ไม่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากเพาลีเลย ดิแรกได้คิดค้นเมตริกซ์ ที่คล้ายๆ กัน แต่ใหญ่กว่า สำหรับใช้ในการแก้ปัญหาสปินแบบเฟอร์มิออน (fermionic spin) ที่เป็นสัมพัทธภาพ
* [[พ.ศ. 2473]] เพาลี ได้พิจารณาปัญหา [[การสลายให้อนุภาคบีตา]] (beta decay) ในจดหมายของวันที่ 4 ธันวาคม เริ่มด้วยประโยค "สุภาพสตรี และ สุภาพบุรุษ แห่งการแผ่รังสี ที่รัก" (ส่งให้กับผู้รับ เช่น ลิส ไมท์เนอร์) เขาได้เสนอการมีอยู่ของอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้าที่ไม่เคยถูกสังเกตได้มาก่อน (นับถึง ณ เวลาที่เขาเขียนจดหมาย) ด้วยมวลที่น้อยนิด (ไม่เกินร้อยละ 1 ของมวลโปรตอน) เพื่อที่จะอธิบายความถี่จำเพาะต่อเนื่องของการสลายให้อนุภาคบีตา ในปี พ.ศ. 2477 [[เอนรีโก แฟร์มี|แฟร์มี]] ได้รวมเอาอนุภาคนั้นไว้ในทฤษฎีการสลายให้อนุภาคบีตาของเขา เฟอร์มีเรียกอนุภาคนั้นว่า [[นิวตริโน]] ในปี พ.ศ. 2502 นิวตริโนได้ถูกสังเกตได้เป็นครั้งแรกในเชิงการทดลอง
* [[พ.ศ. 2483]] เขาได้พิสูจน์ [[ทฤษฎีบทสปินเชิงสถิติ]] (spin-statistics theorem) ซึ่งเป็นผลมาจาก [[ทฤษฎีสนามควอนตัม]] (quantum field theory) ที่สำคัญยิ่งยวด ทฤษฎีนี้มีใจความว่า อนุภาคซึ่งมีสปินครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็ม เป็นอนุภาค[[เฟอร์มิออน]] ในขณะที่อนุภาคที่มีสปินเป็นจำนวนเต็ม เป็นอนุภาค[[โบซอน]]