ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาจุฬาลงกรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงเมื่อวันที่ [[18 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2492]] โดยเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ใช้ทำนองเพลงแบบ Pentatonic Scale หรือ Five Tone Scale ซึ่งหมายถึง ในบทเพลงจะประกอบด้วย[[ตัวโน้ต]]ทั้งหมดเพียง 5 เสียงเท่านั้น<ref>[http://kanchanapisek.or.th/royal-music/mahachulalongkorn.html มหาจุฬาลงกรณ์] จาก เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนภิเษก</ref>
 
เมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] เนื่องจากในขณะนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังไม่มีเพลงประจำสถาบัน ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล จึงซึ่งขณะนั้นเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลงนี้ โดยมี[[สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา|ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา]] ภริยาของ .ร.ว. สุมนชาติ และ [[สุภร ผลชีวิน]] น้องชายของท่านผู้หญิงสมโรจน์เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย<ref> [http://www.memocent.chula.ac.th/knowledge/kn06_04.html ความเป็นมาของเพลงมหาจุฬาลงกรณ์] จาก เว็บไซต์หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> ดังนั้น เพลงมหาจุฬาลงกรณ์จึงใช้เป็นเพลงประจำสถาบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา
 
หลังจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2497]] พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย[[เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล]] นำทำนองเพลง "'''มหาจุฬาลงกรณ์'''" ซึ่งเป็นเพลงที่มีทำนองเพลงในแนวสากลมาปรับปรุงให้มีทำนองเพลงในแนวไทยเดิมเพื่อใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรงก่อนการบรรเลง[[ดนตรีไทย]] นายเทวาประสิทธิ์รับพระราชทานลงมาทำและบรรเลงถวายด้วย[[วงปี่พาทย์]]ถึงสองครั้งด้วยกัน หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงพระราชทานเพลงนี้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นเพลงไทยเพลงแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากเพลงไทยสากล<ref>[http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/art/f_musical_th.html พระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านดนตรี]</ref> ต่อมา เมื่อนายเทวาประสิทธิ์ไปสอนดนตรีไทยให้แก่ชมรมดนตรีของสโมสรนิสิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] จึงได้นำ '''"เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์"''' มาสอนนิสิตชมรมดนตรีไทย และใช้เป็นเพลงโหมโรงในการบรรเลงดนตรีไทยของชมรมฯ ตลอดมา
 
เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ จัดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 แห่ง ซึ่งอีก 2 เพลง ได้แก่ เพลง "''[[ยูงทอง]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และเพลง "''[[เกษตรศาสตร์ (เพลงพระราชนิพนธ์)|เกษตรศาสตร์]]''" ซึ่งพระราชทานให้เป็นเพลงประจำ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถึงการแต่งเพลงประจำสถาบันไว้ว่า<ref>[http://www.culture.go.th/supreme/majestic.php?no=2&subno=3&subdetail=6 หออัครศิลปิน: พระอัจฉริยภาพด้านพระราชพิพนธ์บทเพลง] จาก สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม</ref>
 
"...''{{คำพูด|เรื่องเพลงที่แต่งขึ้นใหม่นั้นต้องขอชี้แจงสักนิด ฟังแล้วอาจจะตกใจ เพราะว่าเพลงที่ประจำในมหาวิทยาลัยเมืองไทย เดี๋ยวนี้ก็มีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วก็ของธรรมศาสตร์ที่ได้ให้ทั้งสองเพลงนั้น กับเพลงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นี้ ต้องบอกว่ายาวเท่ากัน ไม่ต้องอิจฉาว่าของเขายาวกว่าหรือสั้นกว่า ยาวเท่ากัน แล้วก็การสร้างแบบนั้นก็สร้างในแบบเดียวกัน ไม่ต้องอิจฉาอะไร แล้วก็ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ถ้าไม่ชอบก็ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะแก้ไข อย่างไรก็ตาม ก็มีอย่างหนึ่ง คือ เพลงของจุฬาฯ เขาก็บอกว่าเพลงของเขาเพราะที่สุด ถ้าไปถามชาวธรรมศาสตร์ว่าเพลงไหนเพราะที่สุด เขาก็บอกว่าเพลงธรรมศาสตร์ แล้วถ้าถามพวกเกษตร น่ากลัวบอกว่าเพลงเกษตรเพราะกว่า ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไรนะ แต่ว่าเพลงของจุฬาฯ เขาโอ้อวดว่าสง่าผ่าเผยมาก แล้วก็เพราะมาก ถ้าพูดถึงว่าเพลงธรรมศาสตร์เขาก็บอกว่าองอาจดี เดินก็ได้ จุฬาฯ เขาก็ตอบว่าของเขาก็เดินได้เหมือนกัน เป็นเพลงสำหรับนำแถวได้''..."}}
 
นอกจากนี้ [[ประเสริฐ ณ นคร|ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร]] เมื่อครั้งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเกษตรศาสตร์นั้น ได้กล่าวถึงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ว่า "'' {{คำพูด|เนื้อเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ดีเยี่ยม จนทำให้ผู้เขียนแหยงว่าไม่มีทางประพันธ์ให้ไพเราะใกล้เคียงกับเพลงนั้นได้''"}} <ref>[http://www.singhakheow.com/history.htm#f ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์]</ref>
 
== มัลติมีเดีย ==