ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางจิรประภาเทวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แอนเดอร์สัน ย้ายหน้า พระนางจิรประภามหาเทวี ไปยัง พระนางจิรประภาเทวี
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| name = จิรประภาเทวี
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีอักษร = #8f5f12
| ภาพ = ไฟล์:Chiraprabha_Mahadevi.jpg
| พระนาม = จิรประภา
เส้น 19 ⟶ 18:
}}
 
'''พระนางจิรประภามหาเทวีเทวี''' (ครองราชย์ [[พ.ศ. 2088]]-[[พ.ศ. 2089|2089]]) หรือ '''มหาเทวีจิรประภา ''' ({{lang-nod|[[ไฟล์:LN-King Chiraprapha.png|110px]]}}) เป็นพระอัครมเหสีใน[[พระเมืองเกษเกล้า]] พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 12 แห่ง[[ล้านนา|อาณาจักรล้านนา]]สืบต่อจากพระราชสวามี ซึ่งในรัชกาลของพระนางหัวเมืองฝ่ายเหนือเกิดการระส่ำระสายเนื่องจากบ้านเมืองเกิดการแย่งอำนาจระหว่างขุนนางกับเจ้านาย บ้านเมืองอ่อนแอมีศึกสงครามขนาบทั้งทิศเหนือและใต้ ทั้งกองทัพ[[พม่า]] และ[[อยุธยา]] ซึ่งตรงกับรัชสมัย[[ สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ที่ยกทัพมาถึงเชียงใหม่
 
พระนางปกครองบ้านเมืองเพียงแค่เพียงปีเศษก็ได้สละราชบัลลังก์แก่ สมเด็จ[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]] พระราชนัดดา (หลานยาย) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ[[พระเจ้าโพธิสารราช|กษัตริย์โพธิสารราช]]แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]] และภายหลังพระองค์และพระราชนัดดาได้เสด็จไปประทับใน[[หลวงพระบาง|นครหลวงพระบาง]]และมิได้นิวัติกลับมายังนครเชียงใหม่อีกเลยตลอดปลายพระชนม์ชีพ
 
== พระราชประวัติ ==
'''พระนางจิรประภามหาเทวีเทวี''' พระอัครมเหสีใน[[พระเมืองเกษเกล้า]] หรือ พญาเกศเชษฐราช กษัตริย์แห่งล้านนา (ครองราชย์ครั้งแรก [[พ.ศ. 2068]]-[[พ.ศ. 2081|2081]] ครองราชครั้งที่สอง [[พ.ศ. 2086]]-[[พ.ศ. 2088|2088]]) ทรงให้ประสูติกาลพระโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดาอีก 1 พระองค์ ได้แก่
#'''[[ท้าวซายคำ]]''' กษัตริย์แห่งล้านนา (ครองราชย์ [[พ.ศ. 2081]]-[[พ.ศ. 2086|2086]]) หลังจากขุนนางปลด[[พระเมืองเกษเกล้า]] พระราชบิดาออกจากราชบัลลังก์และอัญเชิญพระองค์ครองราชสมบัติ แต่ภายหลังพระองค์ก็ถูกเหล่าขุนนางลอบปลงพระชนม์พร้อมครอบครัว<ref name="หริ">'''ตำนานพระธาตุหริภุญชัย''', หน้า 31</ref>
#'''เจ้าจอมเมือง''' พระราชโอรสองค์ที่สอง แต่ไม่สามารถครองราชย์ได้เนื่องจากทรงอ่อนแอจนไม่สามารถขึ้นครองราชสมบัติได้ บางท่านได้อธิบายว่า พระองค์อาจทรงปัญญาอ่อน<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์''', หน้า 139</ref>
#'''[[พระนางยอดคำทิพย์]]''' หรือ ('''เจ้านางหลวงคำผาย''') พระราชธิดาที่ต่อมาภายหลังได้เป็นพระอัครมเหสีใน[[พระเจ้าโพธิสารราช]]แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]] และมีพระราชโอรสคือ [[พระไชยเชษฐาธิราช]]
 
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับการประสูติกาลในปีใด แต่[[สรัสวดี อ๋องสกุล|ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล]] ได้คำนวณจากการที่ท้าวซายคำประสูติเมื่อพระเมืองเกษเกล้ามีพระชนมายุ 18 พรรษา พระนางจิรประภามหาเทวีเทวีอาจมีพระประสูติกาลพระโอรสเมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระนางจึงน่าจะประสูติในช่วงระหว่างปี [[พ.ศ. 2042]]-[[พ.ศ. 2043|2043]] และเมื่อพิจารณาจากภูมิหลังเดิมของพระเมืองเกษเกล้าที่เคยประทับในเมืองน้อย (ปัจจุบันคือ[[อำเภอปาย]] [[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]]) ซึ่งถือเป็นเขต[[ไทใหญ่]] พระนางจิรประภาอาจทรงมีเชื้อสายไทใหญ่ด้วย แต่ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุลได้เน้นว่าเป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์''', หน้า 138</ref>
 
ส่วน[[พิเศษ เจียจันทร์พงษ์]] ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร ได้มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระนางจิรประภาว่าอาจเป็นเครือญาติกับ[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]] เมื่อครั้งที่ครองเมืองพิษณุโลก และสันนิษฐานว่าพระนางน่าจะเป็นเจ้านายเมืองเหนือที่สมรสกับเจ้านายแห่งเมืองเชียงใหม่ซึ่งภายหลังได้ครองราชย์เป็น[[พระเมืองเกษเกล้า]]ในกาลต่อมา<ref name="พิเศษ">พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. "ลูกเขาเมียใครที่เชียงใหม่ สุโขทัย และอยุธยา" ใน'''ฟื้นฝอยหาตะเข็บ''', หน้า 228</ref>
เส้น 43 ⟶ 42:
*'''กลุ่มแสนคราว''' เป็นกลุ่มขุนนางในเชียงใหม่ได้ลอบปลงพระชนม์พระเมืองเกษเกล้า แล้วไปอัญเชิญเจ้านายเมืองเชียงตุงที่มีเชื้อสาย[[ราชวงศ์มังราย]]มาครองเมืองเชียงใหม่แต่ไม่ยอมมา จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าเมืองนายแทน
*'''กลุ่มหมื่นหัวเคียน'''<ref group=note>'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''', หน้า 88 เรียกคนกลุ่มนี้ว่า ''"หมื่นหัวเคียน[[แสนหวี]]"'' ซึ่งแสดงว่าเป็นขุนนางเมืองแสนหวี และโพกศีรษะ (หัวเคียน)</ref> เป็นกลุ่มขุนนางที่นำเข้ามารบกับกลุ่มแสนคราวที่เมืองเชียงใหม่ รบกันเป็นเวลาสามวันสามคืน ฝ่ายหมื่นหัวเคียนพ่ายแพ้หนีไปเมืองลำพูน กลุ่มนี้ได้แจ้งให้กรุงศรีอยุธยายกทัพขึ้นมายึดเชียงใหม่ ด้วยเหตุนี้[[สมเด็จพระไชยราชาธิราช]]จึงทรงยกทัพมายังเชียงใหม่
*'''กลุ่มเชียงแสน''' กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองลำปาง และเจ้าเมืองพาน ซึ่งเป็นกลุ่มของพระนางจิรประภามหาเทวีเทวีเอง ได้ทำการกวาดล้างกลุ่มแสนคราวได้สำเร็จ และสนับสนุน[[สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช|พระอุปโย]] (หรือ พระไชยเชษฐา) แห่งล้านช้างมาครองล้านนา ด้วยพระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเมืองเกษเกล้า โดยระหว่างการรอการเสด็จมาของพระไชยเชษฐา เหล่าบรรดาขุนนางจึงได้อัญเชิญพระนางจิรประภา พระอัครมเหสีในพระเมืองเกษเกล้า และพระราชมารดาในท้าวซายคำ ขึ้นเป็นกษัตรีย์พระองค์แรกในแผ่นดินล้านนาในปี [[พ.ศ. 2088]]
 
[[ไฟล์:พระมหาเทวีจิระประภา.jpg|thumb|240px|right|พระมหาเทวีจิระประภา ในภาพยนตร์เรื่อง [[สุริโยไท]] ([[พ.ศ. 2544]]) รับบทโดย [[เพ็ญพักตร์ ศิริกุล]]]]
เส้น 62 ⟶ 61:
 
== ทรงสละราชบัลลังก์ ==
หลังจากสิ้นสงครามแล้ว พระเจ้าโพธิสารราชได้รับความดีความชอบสูง และได้นำพระราชโอรส คือ [[สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวร ไชยเชษฐาธิราช|พระไชยเชษฐา]]ขึ้นมาครองอาณาจักรล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงทรงสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชนัดดา<ref name="ประวัติ2">'''ประวัติศาสตร์ล้านนา'''. หน้า 178</ref> ในช่วงที่สมเด็จพระไชยเชษฐาทรงครองอาณาจักรล้านนา ในช่วงปี [[พ.ศ. 2089]]-[[พ.ศ. 2090|2090]] แต่พระโพธิสารราชเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน พระไชยเชษฐาจึงเสด็จกลับล้านช้างในปี [[พ.ศ. 2090]] โดยเสด็จไปพร้อมกับ[[พระแก้วมรกต]] และพระนางจิรประภามหาเทวีเทวี<ref name="ประวัติ2"/> แผ่นดินล้านนาจึงว่างกษัตริย์ เกิดสงครามกลางเมืองเชียงใหม่ด้วยขุนนางต่างสู้รบกัน ดังนั้นระหว่างปี [[พ.ศ. 2091]]-[[พ.ศ. 2094|2094]] จึงถือเป็นกลียุคของล้านนา ในที่สุดขุนนางเมืองเชียงใหม่เห็นว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงได้อัญเชิญ[[พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์|ท้าวแม่กุ]]เสวยราชย์ต่อไป ด้วยเหตุนี้พระไชยเชษฐาทรงเห็นว่าท้าวแม่กุครองราชย์โดยพระองค์มิชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตี[[อำเภอเชียงแสน|เมืองเชียงแสน]]ในปี [[พ.ศ. 2098]]<ref name="ประวัติ2"/>
 
== ชีวิตบั้นปลายพระชนม์ ==
เส้น 69 ⟶ 68:
{{คำพูด|''จุลศักราช ๙๑๐ ปีเบิกสัน เดิน ๗ ออก ๑๑ ค่ำ วันศุกร์ มื้อระวายยี่ ยามพาดลั่น ฤกษ์หัสตะ พระราชไอยกามหาเทวเจ้า ตั้งพระมหาธาตุ ก็โอกาส หยาดน้ำ ข้อยข้ากับอารามแลไพร่''}}
 
ในบั้นปลายพระชนม์ชีพเชื่อว่าพระนางจิรประภามหาเทวีเทวีได้ประทับอยู่ในหลวงพระบางจนกระทั่งเสด็จสวรรคตโดยมิได้เสด็จนิวัติกลับไปยังเชียงใหม่อีกเลย<ref name="ตำนาน1"/> แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเสด็จสวรรคตในปีใด
 
== เชิงอรรถ ==