ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออรัญประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6618377 สร้างโดย 125.25.27.6 (พูดคุย)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 104:
ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ
 
จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง
 
ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี