ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองนาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chakad77 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
 
สมัย[[พระเจ้าสีหสุรมหาธรรมราชา]]<ref>สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 400 ปี ของการครองราชย์ ,สำนักนายกรัฐมนตรี 2533</ref> เจ้าเมืองอังวะ ซึ่งเป็นพระโอรสของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] ยกทัพมาตีเมืองนาย ซึ่งสมัยนั้นยังขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ อันเป็นประเทศราชของ[[อาณาจักรอยุธยา]] เป็นเหตุให้[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]ทรงยกทัพไพร่พล 100,000 นายจะไปเมืองนายและอังวะ ระหว่างเคลื่อนทัพผ่านเมืองเชียงใหม่ พระองค์ประชวรและสวรรคต ณ เมืองแหน แขวงเมืองเชียงใหม่ <ref>มหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า, มติชน 2545</ref> [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]จึงเลิกทัพและทรงนำพระบรมศพกลับมายังอยุธยา
 
== ประวัติศาสตร์ ==
 
เมืองนายเป็นเมืองเก่าแก่ได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตตามประวัติแล้ว โดยอยู่ในเขตภาคใต้ของรัฐฉาน ซึ่งได้ก่อตั้งมาเมื่อก่อน ค.ศ.441 มีเจ้าปกครองสืบต่อกันมาแต่มีบางช่วงที่เมืองนายขาดเจ้าผู้ปกครองต่อมาในปี ค.ศ. 1752 เมืองนายได้กลายเป็นศูนย์กลางของการปกครองเมืองไตสืบต่อจากเมืองแสนหวี ในปี ค.ศ. 1319 เจ้ามังราย ได้ทำการฟื้นฟูเมืองนายและแต่งตั้งให้โอรสปกครองต่อมาเจ้าที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้ามังราย ได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1566 เพราะบุเรงนอง เข้ายึด แต่อย่างไรก็ตาม เมืองนายในยุคหลัง คือ เริ่ม ค.ศ. 1567 เป็นต้นมาเมืองนายขาดเจ้าผู้ปกครอง จึงได้ไปอัญเชิญเจ้าเมืองสี่ป้อมาปกครอง และใน ค.ศ. 1631ได้ไปอัญเชิญเจ้าเมืองมีดมาปกครองสืบต่อมาอย่างไรก็ตาม เจ้าผู้ปกครองเมืองนาย ที่สามารถรวบรวมได้มีดังนี้
1. เจ้าเสือเผือกฟ้า (ค.ศ. 1567-1568)
2. โอรสเจ้าเสือเผือกฟ้า 2 องค์ ปกครองร่วมกัน (ค.ศ. 1568-1585)
3. กษัตริย์พม่าได้ส่งตัวแทนมาปกครอง (ค.ศ. 1585-1631)
4. เจ้าหลาคำ (โอรสเจ้าฟ้าเมืองมีด) (ค.ศ. 1631-1675)
5. เจ้าจ๋ามคำ (โอรสเจ้าหลาคำ) (ค.ศ. 1675-1678)
6. เจ้าเสือห่ม (โอรสเจ้าจ๋ามคำ) (ค.ศ. 1678-1704)
7. เจ้าขุนอ้าน (โอรสเจ้าเสือห่ม) (ค.ศ. 1704-1728)
8. เจ้าซูวคาด (โอรสเจ้าขุนอ้าน) (ค.ศ. 1728-1746)
9. เจ้าส่วย มยาด โน (โอรสเจ้าซูวคาด) (ค.ศ. 1746-1772)
ในยุคนี้เป็นยุคที่เมืองนาย ได้เป็นศูนย์กลางของการปกครองเมืองไต
10. เจ้าส่วย มยาด จยอ (โอรสเจ้าส่วย มยาด โน ) (ค.ศ. 1772-1790)
11. เจ้าขุนส่วยหว่า (โอรสเจ้าส่วย มยาด จยอ ) (ค.ศ. 1790-1811)
12. เจ้าจุ่ง (ขุนเมืองเจียงตอง) (ค.ศ. 1811-1842 )
13. เจ้าขุนหนุ่ม (โอรส เจ้าขุนจุ่ง ) (ค.ศ. 1842-1868)
14. เจ้าโพ (โอ้) (โอรสเจ้าขุนหนุ่ม) (ค.ศ. 1868 –1874)
15. เจ้าขุนจี่ (ส่วยจี่) (อาว์เจ้าขุนโอ้) (ค.ศ. 1874-1884)
เจ้าขุนจี่นี้ ได้ทำการฆ่าพม่า แล้วหนีไปอยู่ที่เชียงตุง
16. ทากหลู่ (เคยเป็นพระมาก่อน มีเชื้อสาย ปะโอ ) (ค.ศ. 1884-1888)
17. เจ้าขุนจี่ (จากเชียงตุงมาปกครองอีกครั้ง) (ค.ศ. 1888-1914)
18. เจ้าขุนจ่อจ่าม (โอรสของพี่ชายเจ้าขุนจี่) (ค.ศ. 1914-1929)
19. เจ้าจ่อโฮ (โอรสเจ้าขุนจ่อจ่าม) (ค.ศ. 1929-1948)
20. เจ้าเปี้ย (โอรสเจ้าจ่อโฮ) (ค.ศ. 1948-1959)
เจ้าเปี้ย ผู้ปกครองเมืองนาย และบรรดาเจ้าฟ้าเมืองไตทั้งหมด ได้สละอำนาจให้กับรัฐบาลสหพันธรัฐ<ref>http://taiyai.net/Yurk%20Merngnai08.html</ref>
 
== อ้างอิง ==