ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมากล้อม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลดรูปเมื่อมีตัวสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 49.48.241.223 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 49.237.210.204
บรรทัด 35:
ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่[[ประเทศญี่ปุ่น]]และ[[ประเทศเกาหลี|เกาหลี]] ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "กก" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม
 
กกโกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นกกโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้กกโกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักกกโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือกกโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงนินโบ, อิโนอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นกกโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกกโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว
 
ปัจจุบันทั่วโลกเล่นกกโกะกันอย่างแพร่หลาย กกโกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน กกโกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ [[ทวีปออสเตรเลีย]]และ[[ทวีปอเมริกาเหนือ|อเมริกาเหนือ]]ทุกประเทศ [[ทวีปอเมริกาใต้|อเมริกาใต้]], [[ทวีปยุโรป|ยุโรป]], [[ทวีปเอเชีย|เอเชีย]] เกือบทุกประเทศรวมทั้ง[[ประเทศไทย]] ใน[[ทวีปแอฟริกา]]แพร่หลายใน[[ประเทศแอฟริกาใต้]]
 
ใน พ.ศ. 2522 ได้เกิด "[[สมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ]]" (International Go Federation) ขึ้น มีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 15 ประเทศ ในพ.ศ. 2535 เพิ่มเป็น 50 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2526 ประชากรที่เล่นกกในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลี 10 ล้านคน (เกาหลีมีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นกกมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน