ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
พันธุฆาตนี้มีผลกระทบยาวนานล้ำลึกต่อประเทศรวันดาและประเทศเพื่อนบ้าน การใช้การข่มขืนกระทำชำเรายามสงครามอย่างแพร่หลายทำให้มีการติดเชื้อ[[เอชไอวี]]พุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมเด็กทารกที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรามารดาที่ติดเชื้อใหม่ หลายครัวเรือนมีเด็กกำพร้าหรือหญิงหม้ายเป็นหัวหน้าครอบครัว การทำลายโครงสร้างพื้นฐานและการลดประชากรของประเทศอย่างรุนแรงทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต เป็นความท้าทายแก่รัฐบาลใหม่ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างเสถียรภาพ ชัยทางทหารของ RDF และการตั้งรัฐบาลที่ RDF ครอบงำทำให้ฮูตูหลายคนหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนตะวันออกของประเทศซาเอียร์ (ปัจจุบันคือ [[สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]]) ที่ที่ฮูตูผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มรวมกลุ่มใหม่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนกับประเทศรวันดา รัฐบาลที่มี RDF นำประกาศความจำเป็นต่อป้องกันมิให้เกิดพันธุฆาตอีก จึงนำการบุกเข้าประเทศซาเอียร์ ได้แก่ สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง (2539–2540) และครั้งที่สอง (2542–2546) การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลรวันดากับศัตรูในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังดำเนินต่อผ่านทหารอาสาสมัครตัวแทนในภูมิภาคโกมา ซึ่งรวมการกบฏเอ็ม23 (2546–2556) ประชากรฮูตูและทุตซีรวันดาขนาดใหญ่ยังอาศัยแบบผู้ลี้ภัยทั่วภูมิภาค
 
ปัจจุบัน ประเทศรวันดามีวันหยุดราชการสองวันเพื่อระลึกถึงพันธุฆาตดังกล่าว ช่วงรำลึกแห่งชาติเริ่มด้วยวันอนุสรณ์พันธุฆาตในวันที่ 7 เมษายนและสิ้นสุดด้วยวันปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม สัปดาห์ถัดจากวันที่ 7 เมษายนกำหนดให้เป็นสัปดาห์ไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สร้าง[[ศาลอาญาระหว่างประเทศ]]เพื่อกำจัดความจำเป็นสำหรับศาลชำนัญพิเศษเฉพาะกิจเพื่อฟ้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาในเหตุพันธุฆาต [[อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ]]และ[[อาชญากรรมสงคราม]]ในอนาคต
 
[[หมวดหมู่:ประเทศรวันดา]]