ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ปรับรูปแบบ}}
'''รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490''' เกิดขึ้นวันที่ [[7 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] เวลา 23.00 น. ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย [[ผิน ชุณหะวัณ|พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ]], [[กาจ กาจสงคราม|น.อ.กาจ กาจสงคราม]], [[เผ่า ศรียานนท์|พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์]], [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์]], [[ถนอม กิตติขจร|พ.อ.ถนอม กิตติขจร]], [[ประภาส จารุเสถียร|พ.ท.ประภาส จารุเสถียร]] และ [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ]] นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]]
 
สาเหตุของการรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นาย[[ปรีดี พนมยงค์]] ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจาก[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8]] ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียมแจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร ทว่าความปรากฏภายหลังว่าเป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม" เป็นต้น
 
ในขณะนั้นมีข่าวลือและความเป็นไปได้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า อาจเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น สำหรับตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ แล้ว เมื่อนักข่าวซักถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ตอบว่า "ก็นอนรอการปฏิวัติอยู่แล้ว" เพราะมั่นใจในศักยภาพของรัฐบาลตัวเอง ว่ามีผู้บัญชาการทหารบก (พล.ต.อ.[[หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)|อดุล อดุลเดชจรัส]]) ให้การสนับสนุนอยู่<ref>จรี เปรมศรีรัตน์, ''กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 61 ปี ประชาธิปัตย์ ยังอยู่ยั้งยืนยง'' ISBN 9789747046724</ref>
 
การรัฐประหารครั้งนี้ เดิมทีกำหนดให้เกิดขึ้นในเวลา 05.00 น. ของวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] แต่ทว่า พล.ต.อ.อดุล ผู้บัญชาการทหารบก ทราบเสียก่อน จึงมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว คณะผู้ก่อการจึงเลื่อนกำหนดเดิมให้เร็วขึ้นหนึ่งวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7 พฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน เมื่อกองกำลัง[[รถถัง]]ส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ [[สวนอัมพร]] เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล และรถถังอีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบ[[ท่าช้างวังหลวง]]เพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์ แต่นายปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ ครอบครัวนายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภรรยาและลูก ๆ เท่านั้น
 
เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้แถลงต่อ[[สื่อมวลชน]]ด้วยสภาพน้ำตานองหน้า ว่าทำไปเพราะความจำเป็น จนได้รับฉายาว่า "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" หรือ "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" และเรียกกลุ่มของตนเองว่า "คณะทหารแห่งชาติ" รวมทั้งได้แต่งตั้ง จอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยุติบทบาททางการเมืองไปแล้วในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งชาติ ซึ่งสาเหตุของการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้ปรากฏอยู่ในคำปรารภของ[[s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๐|รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490]] หรือที่เรียกกันว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม" ที่ถูกนำออกมาใช้หลังจากนั้น ว่า
 
 
เส้น 15 ⟶ 16:
จากนั้นคณะทหารแห่งชาติ จึงให้ นาย[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน ซึ่งคณะทหารแห่งชาติได้ตั้งสภาขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "คณะรัฐมนตรีสภา" และจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491|การเลือกตั้ง]]ขึ้นในวันที่ [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2491]] พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่ทว่า ในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2491]] คณะนายทหารในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควงลาออก และแต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
 
ผลจากการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เป็นการรัฐประหารที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ แม้จะได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งมา ก็ไม่มีอำนาจและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะนายทหาร ซึ่งหลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่งก่อตั้งมาก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็มีความแตกแยกกันเองภายในพรรค สืบเนื่องจากการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจอมพล ป. ของสมาชิกพรรคบางคน ทำให้สมาชิกพรรคหลายคนได้ลาออก เช่น [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เลขาธิการพรรค, นาย[[เลียง ไชยกาล]], นาย[[สุวิชช พันธเศรษฐ]], นาย[[โชติ คุ้มพันธ์]] เป็นต้น ถือเป็นความแตกแยกกันของพรรคเป็นครั้งแรก<ref>''นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์'' โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)</ref>
 
และที่สำคัญที่สุดการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ซึ่งหลังจากนั้น นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศไม่อาจกลับมาประเทศไทยได้อีกเลย ตราบจนสิ้นชีวิต แม้จะมีความพยายามกลับมาทำ[[กบฏวังหลวง]]ในปี [[พ.ศ. 2492]] ก็ไม่สำเร็จ และต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ด้วย ซึ่งต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เลิกเล่นการเมืองไปแล้วได้หวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง และอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง 9 ปี ด้วยกัน โดยมีกรณีที่สำคัญ คือ การฟ้องและประหารชีวิตผู้ต้องหาจากคดีสวรรคต <ref>[[วินทร์ เลียววาริณ]], ''[[ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน]]'' ISBN 978-974-85854-7-5</ref>
 
==ดูเพิ่ม==
เส้น 30 ⟶ 31:
* [http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=304&db_file= รัฐบาลทหาร (บทบาทรัฐบาลชุดที่ 19 – ชุดที่ 32, พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2516) ]
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*[http://www.youtube.com/watch?v=hpY4knTshLM สารคดี 1 วันหลังการรัฐประหาร (ภาพจริง-เสียงบรรยายในขณะนั้น)]
 
{{รัฐประหารในประเทศไทย}}