ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามโลกครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Thanit.pex (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่[[การบุกครองโปแลนด์]]ของ[[นาซีเยอรมนี|เยอรมนี]] ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของ[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|ฝรั่งเศส]]และประเทศส่วนใหญ่ใน[[จักรวรรดิอังกฤษ]]และ[[เครือจักรภพแห่งชาติ|เครือจักรภพ]] ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่[[ยุทธการบริเตน|เกาะบริเตน]] แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะ[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา|บุกครองสหภาพโซเวียต]] เปิดฉาก[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|เขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์]] ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลัง[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง|ทำสงครามกับจีน]]มาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาส[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์]]และส่งทหารบุกครองหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
 
การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังความพ่ายแพ้ในของญี่ปุ่นใน[[ยุทธนาวีมิดเวย์]] และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่[[ยุทธการสตาลินกราด|สตาลินกราด]] ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่[[ยุทธการเคิสก์|เคิสก์]]ในยุโรปตะวันออก [[การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร]] ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตร[[การบุกครองนอร์มังดี|เปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส]] เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร
 
สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และ[[ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี|การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนี]]เมื่อวันที่ [[วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป|8 สิงหาคม ค.ศ. 1945]] แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมี[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น]] และ[[การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต|การบุกครองแมนจูเรีย]] จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945