ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอิหร่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56:
'''ประเทศอิหร่าน''' ({{lang-fa|ایران}}) หรือ'''เปอร์เซีย''' มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน''' ({{lang-fa|جمهوری اسلامی ايران}}) เป็นประเทศใน[[เอเชียตะวันตก]] มีเขตแดนติดกับ[[ประเทศอาร์มีเนีย]] [[นากอร์โน-คาราบัค]]โดยพฤตินัย และ[[อาเซอร์ไบจาน]]ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติด[[ประเทศคาซัคสถาน]]และ[[รัสเซีย]]โดยมี[[ทะเลแคสเปียน]]คั่น ติด[[ประเทศเติร์กเมนิสถาน]]ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติด[[ประเทศอัฟกานิสถาน]]และ[[ปากีสถาน]]ทางทิศตะวันออก ติด[[อ่าวเปอร์เซีย]]และ[[อ่าวโอมาน]]ทางทิศใต้ และติด[[ประเทศตุรกี]]และ[[อิรัก]]ทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองใน[[ตะวันออกกลาง]]และอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเซียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับ[[ช่องแคบฮอร์มุซ]]
 
ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน ค.ศ. ชาวมีดส์ (Medes) อิหร่านรวบรวมพื้นที่เป็นจักรวรรดิแห่งแรก ๆ ใน 625 ปีก่อน ค.ศ. หลังจากนั้นมีดส์กลายเป็นชาติวัฒนธรรมและการเมืองที่ครอบงำในภูมิภาค อิหร่านเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่าง[[จักรวรรดิอะคีเมนิด]]ซึ่ง[[พระเจ้าไซรัสมหาราช]]ทรงก่อตั้งใน 550 ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งเมื่อแผ่อาณาเขตไพศาลที่สุดนั้นล้วนกินส่วนสำคัญของโลกโบราณ ตั้งแต่บางส่วนของคาบสมุทรบอลข่าน ([[เธรซ]] [[มาซิโดเนีย (ภูมิภาค)|มาซิโดเนีย]] [[บัลแกเรีย]] [[Paeonia|พีโอเนีย]]) และยุโรปตะวันออกทางทิศตะวันตก จด[[ลุ่มแม่น้ำสินธุ]]ทางทิศตะวันออก ทำให้เป็นจักรวรรดิใหญ่สุดในโลกในขณะนั้น จักรวรรดิล่มสลายใน 330 ปีก่อน ค.ศ. ให้หลังการพิชิตของ[[อเล็กซานเดอร์มหาราช]] [[จักรวรรดิพาร์เธีย]]กำเนิดขึ้นจากเถ้าถ่านแล้วต่อด้วย[[จักรวรรดิแซสซานิด|ราชวงศ์แซสซานิด]]ใน ค.ศ. 224 ซึ่งอิหร่านกลายเป็นชาติผู้นำนำในโลกอีกครั้ง ร่วมกับ[[จักรวรรดิโรมัน]]-[[จักวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิไบแซนไทน์|ไบแซนไทน์]] เป็นเวลากว่าสี่ศตวรรษ
 
ค.ศ. 633 มุสลิมรอชิดีน (Rashidun) บุกครองอิหร่านและพิชิตได้ใน ค.ศ. 651 ซึ่งเข้าแทนที่ความเชื่อพื้นเมือง[[ศาสนามาณีกี]]และ[[ศาสนาโซโรอัสเตอร์]]เป็นส่วนใหญ่ อิหร่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อ[[ยุคทองอิสลาม]] โดยผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ศิลปินและนักคิดทรงอิทธิพลจำนวนมาก การสถาปนา[[ราชวงศ์ซาฟาวิด]]ใน ค.ศ. 1501 ซึ่งส่งเสริมนิกายอิสนาอะชะรียะห์ (Twelver) เป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเครื่องหมายจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์อิหร่านและมุสลิม เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1736 ภายใต้[[ชาห์นาเดอร์]] อิหร่านมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดนับแต่จักรวรรดิแซสซานิด โดยเป็นจักรวรรดิที่แย้งได้ว่าทรงอำนาจที่สุดในโลกในเวลานั้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อิหร่านเสียดินแดนหลายส่วนในคอเคซัสซึ่งถูกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของมโนทัศน์อิหร่านหลายศตวรรษแก่จักรวรรดิรัสเซียเพื่อนบ้าน ความไม่สงบของประชาชนลงเอยด้วยการปฏิวัติรัฐธรรมนูญเปอร์เซีย ค.ศ. 1906 ซึ่งสถาปนา[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]และมาฮ์จิส (Majles) หรือรัฐสภาแห่งแรกของประเทศ หลังรัฐประหารที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาปลุกปั่นใน ค.ศ. 1953 อิหร่านค่อย ๆ กลายเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกที่เหลือ ยังเป็นฆราวาส แต่เป็นอัตตาณัติเพิ่มขึ้น ๆ ความเห็นแย้งที่เพิ่มขึ้นต่ออิทธิพลของต่างประเทศและการกดขี่ทางการเมืองลงเอยด้วย[[การปฏิวัติอิหร่าน|การปฏิวัติ ค.ศ. 1979]] ซึ่งทำให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1979
ในปี [[พ.ศ. 2522]] [[การปฏิวัติอิหร่าน|การปฏิวัติ]]นำโดย[[อายะตุลลอฮ์ โคมัยนี]] (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น [[สาธารณรัฐ]][[อิสลาม]]โดยโค่นล้ม[[ราชวงศ์ปาห์ลาวี]]ที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลาม[[เทวาธิปไตย]] (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ '''สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน'''
 
== ภูมิศาสตร์ ==