ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความดันโลหิตสูง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
}}
 
'''ความดันโลหิตสูง''' ({{lang-en|hypertension}}) เป็น[[โรค]][[เรื้อรัง]]ชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมี[[ความดันเลือด]]ใน[[หลอดเลือดแดง]]สูงกว่าปกติตลอดเวลา<ref name=JNC7/> ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดัน[[systole|ช่วงหัวใจบีบ]]และความดัน[[diastole|ช่วงหัวใจคลาย]] ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อ[[หัวใจห้องล่างซ้าย]]บีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 [[มิลลิเมตรปรอท]]ในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป
 
ความดันโลหิตสูง แบ่งออกได้เป็น[[ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ|ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ)]] และ[[ความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ]] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90-95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน<ref name="pmid10645931">{{cite journal |author=Carretero OA, Oparil S |title=Essential hypertension. Part I: definition and etiology |journal=Circulation |volume=101 |issue=3 |pages=329–35 |year=2000 |month=January |pmid=10645931 |url=http://circ.ahajournals.org/content/101/3/329.long |doi=10.1161/01.CIR.101.3.329}}</ref> ที่เหลืออีกร้อยละ 5-10 เป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักจะมีสาเหตุจากภาวะอื่นที่มีผลต่อไต หลอดเลือดแดง หัวใจ หรือ[[ระบบต่อมไร้ท่อ]]