ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะสารไขมันสูงในเลือด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
MeshID = D006949 |
}}
'''ภาวะสารไขมันสูงในเลือด''' ({{lang-en|hyperlipidemia, hyperlipidaemia}}) หรือ'''ภาวะลิโปโปรตีนสูงในเลือด''' ({{lang-en|hyperlipoproteinemia}}) คือ การมีระดับ[[ลิพิด]]และ/หรือ[[lipoprotein|ลิโปโปรตีน]]ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปสูงในเลือดผิดปกติ เป็น[[dyslipidemia|ภาวะสารไขมันในเลือดผิดปกติ]] (dyslipidemia) ที่พบบ่อยที่สุด
'''ภาวะสารไขมันสูงในเลือด''' ({{lang-en|Hyperlipidemia}}) เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยกับประชาชนในประเทศไทย เนื่องจากการดำเนินชีวิตของคนในประเทศคล้ายกับประเทศตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุที่ทำให้บุคคลเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ หรือภาวะไขมันในเลือดสูง มาจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น กรรมพันธุ์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ อายุที่มากขึ้น การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สาเหตุต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
 
ลิพิด (โมเลกุลละลายในไขมัน) ถูกขนส่งในแคปซูลโปรตีน ขนาดของแปคซูลนั้นหรือลิโปโปรตีนจะตัดสินความหนาแน่นของแคปซูล ความหนาแน่นของลิโปโปรตีนและประเภทของอะโปลิโปโปรตีนที่บรรจุในแคปซูลตัดสินจุดหมายของอนุภาคและอิทธิพลของมันใน[[เมแทบอลิซึม]]
ไขมันในเลือดที่มีความสำคัญทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ [[คอเลสเตอรอล]] (cholesterol) และ[[ไตรกลีเซอไรด์]] (triglycerides) ซึ่งจะอยู่ในรูปของโครงสร้างพิเศษที่ขนถ่ายไขมันทั้งสองตัว จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เรียกว่า [[ไลโปโปรตีน]] (lipoprotein) มี 5 ชนิด ได้แก่ chylomicron, VLDL , IDL , LDL และ HDL ซึ่งการเกิดโรคนั้นเกิดจากภาวะที่เลือดมีคอเลสเตอรอลชนิดให้โทษ (LDL) สูงและมีคอเลสเตอรอลชนิดให้คุณ (HDL) ต่ำ ความผิดปกตินี้จะนำไปสู่ การเกิด[[หลอดเลือดแดง]]แข็งและตีบแคบ โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง[[หัวใจ]]และ[[สมอง]] ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและสมองขาดเลือด เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
 
ภาวะสารไขมันสูงในเลือดแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดปฐมภูมิปกติเกิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์ (เช่น การกลายพันธุ์ในโปรตีน[[ตัวรับ]]) ส่วนภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดทุติยภูมิเกิดจากสาเหตุพื้นเดิม เช่น [[เบาหวาน]] ความผิดปกติของลิพิดและลิโปโปรตีนพบบ่อยในประชากรทั่วไป และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ดัดแปรได้ของ[[โรคหัวใจหลอดเลือด]]เนื่องจากอิทธิพลของลิพิดและลิโปโปรตีนต่อ[[โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง]] นอกเหนือจากนี้ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดบางแบบยังอาจชักนำให้เกิด[[ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน]]
== การรักษา ==
 
'''''การรักษาที่ไม่ต้องใช้ยา เช่น '''''
 
 ควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ และถ้าผู้ป่วยมีไตรกลีเซอร์ไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวก แป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด
 
 รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
 
 หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้มีการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น
 
 หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน หรือใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งจะมีกรดไลโนเลอิก เป็นตัวนำคอเลสเตอรอลไปเผาผลาญ
 
 ควรรับประทานอาหารพวกผักต่างๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใยและกาก เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยมากขึ้น กากใยเหล่านี้จะช่วยในการดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
 
 การออกกำลังกาย จะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับของ HDL ควรทำอย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 20 – 30 นาที การออกกำลังกายที่ดี เช่น การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน
 
 งดสูบบุรี่ เพราะจะทำให้ HDL ในเลือดต่ำลงและบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
 
'''''การใช้ยาในการรักษา'''''แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้
 
 Inhibitors of bile acid absorption เช่น cholestyramine , colestipol (Bile acid binding resins)
 
 Inhibitors of cholesterol absorption เช่น ezetimibe , colesevelam
 
 Inhibitors of cholesterol synthesis เช่น simvastatin , pravastatin , lovastatin , rosuvastatin
 
 Fibrates เช่น gemfibrozil , bezafibrate , fenofibrate , clofibrate , ciprofibrate
 
 niacin
{| class="wikitable"
|-
! กลุ่มยา
! ระดับไขมัน
! อาการไม่พึงประสงค์
|-
| Inhibitors of bile acid absorption
 
เช่น cholestyramine , colestipol
| ลดTC 20-25%
 
ลดLDL 20-35%
 
เพิ่มTG 5-20%
 
| รบกวนระบบทางเดินอาหาร
 
ท้องผูก
 
|-
|Fibrates
 
เช่น gemfibrozil , bezafibrate , fenofibrate , clofibrate , ciprofibrate
 
 
| ลดTC 10%
 
ลดLDL 10%
 
ลดTG 40-55%
 
เพิ่มHDL 10-25%
 
| ปวดกล้ามเนื้อ
 
ไม่สบายท้อง
 
นิ่วในถุงน้ำดี
 
|-
| Inhibitors of cholesterol synthesis
เช่น simvastatin , pravastatin , lovastatin , rosuvastatin
 
| ลดTC 15-35%
 
ลดLDL 20-40%
 
ลดTG 7-25%
 
เพิ่มHDL 2-15%
 
| ปวดกล้ามเนื้อ
 
เพิ่ม enzyme ในตับ
 
|-
 
|niacin
| ลดTC 25%
 
ลดLDL 20%
 
ลดTG 40%
 
เพิ่มHDL 20%
 
| ร้อนวูบวาบ
 
ไม่สบายท้อง
 
พิษต่อตับ
 
น้ำตาลในเลือดสูง
 
กรดยูริกในเลือดสูง
 
|-
|}
 
ยาปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่ม Fibrate เช่น clofibrate ทำให้เกิดมะเร็ง หรือ gemfibrozil ที่เมื่อใช้ร่วมกับ Statin แล้วจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น Rhabdomyolysis มากกว่าการใช้ยาชนิดอื่นๆ
 
การที่มีการพัฒนายาในกลุ่ม Fibrate ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็น active metabolites ของ fenofibrate ก็เพื่อแก้ปัญหาในการเกิดมะเร็ง และ Rhabdomyolysis ถึงแม้ว่าการใช้ร่วมกับ Statin จะทำให้เกิด Rhabdomyolysis แต่หากใช้ Statin ในขนาด low dose ก็จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงนี้ได้
 
ยากลุ่ม fenofibrate จะอยู่ในรูป prodrug จะต้องอาศัย enzyme และความสามารถของตับในการแปรรูปยาให้อยู่ในรูป active form ทำให้ไม่สามารถคาดเดาระดับของยาในเลือดได้ เช่น หากมี enzyme ที่ใช้ในการแปรรูปยามากก็จะทำให้มีระดับยาในเลือดสูง หรือถ้ามีน้อยเกินไปก็อาจไม่ให้ผลในการรักษา fenofibric acid จะแก้ปัญหานี้ได้ เพราะคุณสมบัติที่เป็น active metabolites เมื่อรับประทานยา ก็จะออกฤทธิ์ได้เลย โดยไม่ต้องอาศัย enzyme หรือความสามารถในการทำงานของตับ ทำให้สามารถคาดเดาระดับยาในเลือด ง่ายต่อการปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
 
== อ้างอิง ==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* Armstrong E, J, Safo P, K,Sacks F, M.pharmacology of cholesterol and lipoprotein metabolism. In: Golon D, Tashjian A, JR, Armstrong E, Galanter J, Armstrong A. Arnaout R, eds. Principles of pharmacology: the pathophysiologic basis of drug therapy. Philadephia: Lippincott Williams&Wilkins; 2005:357-73
* Bays H. Existing and investigational combination drug therapy for high-density lipoprotein cholesterol. Am J Cardiol 2002;90:32K.
* Drug Information Handbook 12th Edition
{{จบอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:สุขภาพ]]