ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทะเลปั๋วไห่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bohaiseamap2.png|thumb|ทะเลปั๋วไห่]]
 
'''ทะเลปั๋วไห่''' ({{lang-en|Bohai Sea}}; {{lang-zh|渤海}}, "ทะเลปั๋ว") หรือ '''อ่าวปั๋วไห่''' (Bohai Gulf) เป็น[[อ่าว]]ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ[[จีน]] เป็นอ่าวที่อยู่และข้างในสุดของ[[ทะเลเหลือง]] มีเนื้อที่ประมาณ 78,000 ตารางกิโลเมตร (30,116 ตารางไมล์) ทะเลปั๋วไห่นับเป็นจุดที่มีการสัญจรทางทะเลคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
 
ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทะเลปั๋วไห่มักเรียกว่า อ่าวจื๋อลี่ (Gulf of Chihli) หรืออ่าวเป่ย์จื๋อลี่ (Gulf of Pechihli) ประกอบด้วยอ่าว 3 อ่าวแห่ง คือ [[อ่าวไหลโจว]] (Laizhou Bay) ทางใต้ [[อ่าวเหลียวตง]] (Liaodong Bay) ทางเหนือ และ[[อ่าวปั๋วไห่]] (Bohai Bay) ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกตรงปลาย[[คาบสมุทรเหลียวตง]]กับคาบสมุทรชานตงคือช่องแคบปั๋วไห่ (Bohai Strait) มีเกาะที่สำคัญได้แก่ ฉางชาน (Changshan) ฉางซิ่ง (Changxing) และซีจง (Xizhong) แม่น้ำที่ไหลลงทะเลแห่งนี้ได้แก่ [[แม่น้ำหวง]] [[แม่น้ำไห่]] [[แม่น้ำเหลียว]] และ[[แม่น้ำหลวน]] มีเขตติดต่อกับ[[มณฑลซานตง]] [[มณฑลเหอเป่ย์]] [[เทียนจิน]] และ[[มณฑลเหลียวหนิง]]<ref>[http://www.unep.org/dewa/giwa/areas/reports/r34/regional_definition34b_giwa_r34.pdf Regional Definition: Bohai Sea - UNEP]</ref>
 
ทะเลปั๋วไห่เป็นแหล่ง[[น้ำมัน]]และ[[แก๊สธรรมชาติ]]จำนวนมาก มีบ่อหลักคือเชิ่งลี่ (Shengli) ซึ่งเป็น[[บ่อน้ำมัน]]ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของจีน<ref>[https://www.onepetro.org/conference-paper/IPTC-13575-MS Enhance Foam Flooding Pilot Test in Chengdong Of Shengli Oilfield: Laboratory Experiment And Field Performance]</ref> นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันมีการผลิตกว่า 500,000 บาร์เรลต่อวัน แต่จำนวนลดน้อยลงแล้ว<ref name="autogenerated1">[http://205.254.135.24/countries/cab.cfm?fips=CH China. Background]. US Energy Information Administration</ref> ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 เกิดเหตุน้ำมันรั่วในทะเล ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและมีการฟ้องร้องในเวลาต่อมา<ref>[http://www.chinadaily.com.cn/en/2015-07/27/content_21414896.htm Oil giants sued over Bohai spill]</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 รัฐบาลจีนมีโครงการสร้างอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมระหว่างเมือง[[ต้าเหลียน]]บนคาบสมุทรเหลียวตงกับเมือง[[ยันไถ]]บนคาบสมุทรซานตงชานตง ความยาว 106 กิโลเมตร (66 ไมล์)<ref>''Asahi Shimbun'', "China To Build Undersea Tunnel Crossing Bohai Strait", 18 February 2011.</ref> โครงการนี้วางแผนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 มีการปรับปรุงแผนและเพิ่มความยาวอุโมงค์เป็น 123 กิโลเมตร (76 ไมล์)<ref>{{cite news |url=http://www.reuters.com/article/2013/07/11/us-china-tunnel-idUSBRE96A0EK20130711 |title=China plans world's longest sea tunnel at $42 billion -report |work=[[Reuters]] |date=11 July 2013}}</ref>
 
== อ้างอิง ==