ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลาเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 80:
มักยืนยันมาลาเรียด้วยการตรวจ[[ฟิล์มเลือด]]ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือด้วยการทดสอบวินิจฉัยรวดเร็ว (RDT) โดยใช้แอนติเจน<ref name="Abba 2011"/><ref name="Kattenberg 2011"/> จุลทรรศนศาสตร์เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดเพื่อตรวจจับปรสิตมาลาเรีย โดยในปี 2553 มีการตรวจฟิล์มเลือดเพื่อหามาลาเรียราว 165 ล้านฟิล์ม<ref name="Wilson 2012"/> แม้ว่าจะมีการใช้แพร่หลาย การวินิจฉัยด้วยจุลทรรศนศาสตร์มีข้อเสียหลักสองประการ คือ หลายสถานที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท) ไม่มีเครื่องมือเพียงพอที่จะดำเนินการทดสอบ และความแม่นของผลขึ้นอยู่กับทั้งทักษะของผู้ตรวจฟิล์มเลือดและระดับปรสิตในเลือด ความไวของฟิล์มเลือดมีพิสัยตั้งแต่ 75–90% ในสภาพเหมาะที่สุด ไปจนถึง 50% ชุดน้ำยาตรวจอย่างรวดเร็วที่มีขายเชิงพาณิชย์มักทำนายการมีปรสิตมาลาเรียได้แม่นกว่าฟิล์มเลือด แต่ชุดน้ำยาตรวจดังกล่าวมีความไวและความจำเพาะวินิจฉัยแปรผันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต และไม่สามารถบอกได้ว่ามีปรสิตมากเท่าใด<ref name="Wilson 2012"/>
 
ในท้องที่ที่การทดสอบทางห้องปฏิบัติการมีพร้อมแล้ว ควรมีการตั้งข้อสงสัยหรือทดสอบหามาลาเรียในผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีมาลาเรียประจำถิ่น ในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถจ่ายการทสอบวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ การใช้เพียงประวัติไข้เพื่อเป็นการบ่งชี้การรักษามาลาเรียกลายเป็นปกติ ซึ่งเป็นคำสอนปกติ "ไข้เท่ากับมาลาเรียเว้นแต่พิสูจน์ได้เป็นอย่างอื่น" ข้อเสียของการปฏิบัตินี้คือ การวินิจฉัยมาลาเรียเกินความเป็นจริงและการจัดการกับไข้ที่ไม่ได้สาเหตุจากมาลาเรียอย่างผิด ๆ ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรอันจำกัด บั่นทอนความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขและส่งเสริมการดื้อยา<ref name="Perkins 2008"/> แม้จะมีการพัฒนาการทดสอบที่ใช้[[ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส]]ขึ้น แต่ในปี 2555 การทดสอบดังกล่าวยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งพบมาลาเรียเป็นปกติ เนื่องจากเป็นวิธีที่ซับซ้อน<ref name="Nadjm 2012"/>
 
=== การจำแนก ===