ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาร์กาเร็ต ทิวดอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 67:
|-bgcolor=ffffe0
| align = center| [[ไฟล์:Royal Arms of the Kingdom of Scotland.svg|120px]]
|เจ้าหญิง ''ไม่ปรากฎปรากฏพระนาม''||align=center|15 กรกฎาคม<br />ค.ศ. 1508||align=center|15 กรกฎาคม<br />ค.ศ. 1508||bgcolor=ffffe0|'''สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ'''
|-
|-bgcolor=ffffe0
บรรทัด 79:
|-bgcolor=ffffe0
| align = center| [[ไฟล์:Royal Arms of the Kingdom of Scotland.svg|120px]]
|เจ้าหญิง ''ไม่ปรากฎปรากฏพระนาม''||align=center|พฤศจิกายน<br />ค.ศ. 1512||align=center|พฤศจิกายน<br />ค.ศ. 1512||bgcolor=ffffe0|'''สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ'''
|-
|-bgcolor=ffffe0
บรรทัด 109:
นี่เป็นปัญหาที่ยุ่งยากสำหรับพระเจ้าเฮนรี ซึ่งทรงมีแนวคิดอนุรักษนิยมและยึดมั่นในจารีตดั้งเดิม พระองค์ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการหย่าโดยทรงยึดตามหลักการ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าขบขันอย่างมาก เมื่อพิจารณาถึงชีวิตสมรสของพระองค์ในภายหลัง ในเรื่องความสำคัญ แองกัสถือเป็นพันธมิตรที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในการโต้กลับออลบบานีและฝ่ายที่นิยมฝรั่งเศส พระนางมาร์กาเร็ตทรงพิโรธในทัศนคติของพระสวามี พระนางจึงทรงเข้าไปใกล้ชิดกับฝ่ายออลบานีและเข้าร่วมกับคนอื่นๆในการเรียกร้องให้ออลบานีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งดูเหมือนว่าออลบานีได้รีบร้อนที่จะกลับไปราชอาณาจักรทางเหนือที่ดื้อรั้นซึ่งพวกเขาพยายามเสนอให้พระนางมาร์กาเร็ตทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการด้วยพระองค์เอง ข้อพิพาทระหว่างพระสวามีและพระมเหสีนี้พร้อมที่จะก่อให้เกิดการครอบงำการเมืองของสกอตแลนด์ไปอีกสามปีข้างหน้า ความซับซ้อนมากขึ้นจากความบาดหมางที่รุนแรงระหว่างแองกัสและ[[เจมส์ แฮมิลตัน เอิร์ลที่ 1 แห่งอาร์รัน]] ด้วยความสับสนนี้ทำให้พระนางมาร์กาเร็ตต้องทรงเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
 
ในที่สุดออลบานีก็กลับมาถึงสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1521 และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต และมีเสียงเล่าลือว่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้่นขึ้นนี้เป็นมากกว่าเรื่องการเมือง แองกัสต้องลี้ภัยในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับสมเด็จพระพันปีหลวงอย่างเต็มที่ ได้รื้อฟื้นกฏระเบียบขึ้นมาในประเทศที่แตกแยกในช่วงสามปีแห่งความวุ่นวายและความขัดแย้ง ดยุกแห่งออลบานีเป็นประโยชน์สำหรับพระนางมาร์กาเร็ต เนื่องจากเขามีอิทธิพลในกรุง[[โรม]] ซึ่งจะช่วยให้พระนางสามารถหย่าร้างได้ แองกัสและพันธมิตรของเขาได้แพร่ข่าวลือว่าทั้งสองเป็นคู่รักกันซึ่งได้ผลมากแม้กระทั่งคนที่มีความคิดโลเลอย่างลอร์ดดาเครได้เขียนจดหมายถึงโวลซีย์ โดยคาดการณ์ว่าพระเจ้าเจมส์อาจจะถูกปลงพระชนม์และออลบานีจะขึ้นเป็นกษัตริย์และเสกสมรสกับพระนางมาร์กาเร็ต แต่ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่เคยเป็นไปมากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตน ซึ่งเหตุการณ์ต่อมาก็ได้พิสูจน์ให้เห็น
 
==รัฐประหารของสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ต==
[[Fileไฟล์:Margaret Tudor defies Parliament.jpg|thumb|300px|left|ภาพ พระนางมาร์กาเร็ตทรงปฏิเสธที่จะมอบสิทธิในการดูแลพระโอรสของพระนางแก่[[จอห์น สจวต ดยุกแห่งออลบานี]] วาดโดย[[จอห์น ฟีด]] ในปีค.ศ. 1859]]
โดยในสาระสำคัญแล้ว สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตยังคงเป็นสตรีชาวอังกฤษทั้งในมุมมองและทัศนคติ และในความเป็นจริงพ ะรนางทรงต้องการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมาตุภูมิของพระนางกับแผ่นดินที่พระนางพำนัก มีความจำเป็นที่ทรงต้องเป็นพันธมิตรกับออลบานีและฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งความสัมพันธ์ได้ถูกทำลายหลังจากสงครามชายแดนกับอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษที่ 1520 แต่ในไม่ช้าออลบานีก็แสดงตัวออกมาเป็นผู้นำมากกว่าพระประสงค์ของพระนางมาร์กาเร็ตที่ทรงต้องการสร้างฝักฝ่ายของพระนางขึ้นมาด้วยตัวพระนางเอง ที่สุดแล้วในปีค.ศ. 1524 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ถูกปลดออกจากอำนาจจากการ[[รัฐประหาร]]ที่เรียบง่าย โดยออลบานีต้องเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง (ที่ซึ่งเขาถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1536) พระนางมาร์กาเร็ตทรงได้รับความช่วยเหลือจากเอิร์ลแห่งอาร์รันและตระกูลแฮมิลตันในการนำพระเจ้าเจมส์ ซึ่งในขณะนี้มีพระชนมายุ 12 พรรษา จากสเตอร์ลิงมาสู่เอดินเบอระ<ref name=ashley/> นับเป็นการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญและโด่งดัง ในเดือนสิงหาคม รัฐสภาได้ประกาศให้การสำเร็จราชการแทนพระองค์สิ้นสุดลง และพระเจ้าเจมส์ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติพระเจ้าเจมส์ก็ยังทรงถูกควบคุมโดยบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชมารดา เมื่อ บีตัน อาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์ได้ออกมาต่อต้านการเตรียมการเช่นนี้ พระนางมาร์กาเร็ตจจึงทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จับกุมเขาและนำเขาไปที่คุมขัง ในเดือนพฤศจิกายน รัฐสภาได้รับรองพระนางมาร์กาเร็ตอย่างเป็นทางการในฐานะประธานคณะที่ปรึกษาในพระมหากษัตริย์
 
การเป็นพันธมิตรของพระนางมาร์กาเร็ตกับอาร์รันได้สร้างความแตกแยกในหมู่ขุนนางตระกูลอื่นๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถานการณ์ของพระนางเองก็ไม่ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดลงเมื่อพระอนุชาของพระนางทรงอนุญาตให้แองกัสกลับมาสกอตแลนด์ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้บ้างอยู่เหนือการควบคุมของพระนาง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก พระนางทรงมีความรักครั้งใหม่ ซึ่งก็คือ[[เฮนรี สจวต ลอร์ดเม็ทเวนที่ 1|เฮนรี สจวต]] น้องชายของ[[แอนดรู สจวต ลอร์ดเอวอนเดลที่ 2|ลอร์ดเอวอนเดล]] สจวตได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานอาวุโส ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองแก่[[เอิร์ลแห่งเล็นน็อกซ์]] และคนอื่นๆ ซึ่งพยายามเข้ามาเป็นพันธมิตรกับพระสวามีที่แยกห่างกันของพระนาง ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เมื่อรัฐสภายอมรับในตำแหน่งทางการเมืองของพระนางมาร์กาเร็ต สงครามระหว่างพระนางมาร์กาเร็ตและแองกัสก็กลายเป็นเรื่องขบขันที่เกี่ยวกับการฆาตกรรม เมื่อเขาเดินทางมาถึงเอดินเบอระพร้อมทหารจำนวนมาก โดยเขาพยายามอ้างสิทธิในการเข้าไปในรัฐสภา พระนางทรงสั่งให้ปืนใหญ่ยิงใส่เขาจากทั้ง[[ปราสาทเอดินเบอระ]]และ[[พระราชวังฮอลีรูด]] เมื่อทูตอังกฤษสองคนคือ [[โทมัส แม็กนัส]]และโรเจอร์ แร็ดคลิฟฟ์ ได้ปรากฎปรากฏตัวที่ราชสำนัก และได้ค้านว่า พระนางไม่ควรโจมตีพระสวามีที่ชอบด้วยกฎหมาย พระนางทรงตอบพวกเขาด้วยความพิโรธว่า "กลับบ้านไปซะแล้วไม่ต้องเขามายุ่งในเรื่องของคนสกอต" แองกัสถอนทัพออกไปในเวลานั้น แต่ภายใต้แรงกดดันจากหลายๆปัจจัย ในที่สุดสมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตก็ทรงต้องรับเขาเข้ามาในฐานะสมาชิกสภาผู้สำเร็จราชการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1525 ซึ่งเป็นอำนาจที่เขาต้องการ ในการดูแลพระเจ้าเจมส์นั้น เขาปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อ โดยเขาใช้อำนาจอย่างเต็มที่ในนามพระองค์ตลอดระยะเวลาสามปี ประสบการณ์ของพระเจ้าเจมส์ในช่วงนี้ได้ทิ้งให้พระองค์มีความเกลียดชังอย่างตลอดกาลของทั้งตระกูลดักลาสและฝ่ายอังกฤษ
==ทรงหย่าและเสกสมรส==
[[ไฟล์:Margaret Tudor - Daniel Mytens - 1620-38.jpg|250px|thumb|พระนางมาร์กาเร็ตในช่วงปีค.ศ. 1520 - 1538 วาดโดย[[ดานีล มิจเทนส์]]]]
บรรทัด 126:
ความเบื่อหน่ายสกอตแลนด์ที่ทรงได้รับ และตอนนี้พระนางทรงต้องเหน็ดเหนื่อยกับลอร์ดเม็ทเวนมากขึ้น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเขานั้นเลวร้ายยิ่งกว่าแองกัสซึ่งเขาปรารถนาในหญิงอื่นและพระราชทรัพย์ของพระนางด้วย นอกจากนี้พระธิดาเพียงองค์เดียว (น่าจะมีนามว่า โดโรเธีย สจวต) ก็เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์<ref>[http://www.scottsboropower.com/~piercedc/lord.html Biography of Lord Methven in Scottsboropower.com]</ref><ref>[http://englishhistory.net/tudor/genealogy.html Genealogy of the House of Tudor]</ref> พระนางทรงพยายามดำเนินการหย่าร้างตามกฎหมายอีกครั้งแต่พระเจ้าเจมส์ไม่ทรงเห็นด้วย ซึ่งพระนางทรงเชื่อว่าพระสวามีของพระนางได้ติดสินบนไว้ พระชนม์ชีพของพระนางมาร์กาเร็ตมักจะไม่มีความสุขและเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมที่ตามติดมาด้วยอุบายและเรื่องชวนหัว ในจุดนี้พระนางทรงพยายามหลบหนีไปยังชายแดน แต่ก็ทรงถูกจับกุมและนำพระองค์กลับมาเอดินเบอระ และพระนางทรงเขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฮนรีอีกครั้ง ทรงอธิบายถึงความทุกข์ยากของพระนางและทรงวิงวอนขอทรัพย์และความคุ้มครอง พระนางทรงปรารถนาที่จะมีพระชนม์ชีพอย่างสุขสบาย แทนที่จะถูกบังคับ "ให้ปฏิบัติตามพระโอรสเหมือนกับสุภาพสตรีที่ทุกข์ยาก"
 
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1538 สมเด็จพระพันปีหลวงมาร์กาเร็ตทรงต้อนรับ[[แมรีแห่งแห่งกีส สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตแลนด์|แมรีแห่งแห่งกีส]] พระมเหสีจากฝรั่งเศสพระองค์ใหม่ของพระเจ้าเจมส์ สตรีทั้งสองพระองค์นี้ซึ่งเป็นบุคคลที่น่าเกรงขามที่สุดในประวัติศาสตร์สกอตแลนด์ ได้สร้างความเข้าใจอันดี สมเด็จพระราชินีแมรีทรงพยายามทำให้มั่นพระทัยว่าพระสัสสุ ซึ่งในตอนนี้ทรงประนีประนอมกับลอร์ดเม็ทเวลแล้ว จะทรงปรากฎปรากฏพระองค์ในราชสำนักบ่อยขึ้น และได้มีรายงานถึงพระเจ้าเฮนรีว่า "พระราชินีสาวทรงเป็นโรมันคาทอลิกทั้งกายและใจและพระราชินีชราก็ไม่ทรงน้อยไปกว่ากัน"
 
==สิ้นพระชนม์==