ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยอมจำนนของญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Shigemitsu-signs-surrender.jpg|thumb|[[มะโมะรุ ชิเงะมิตซุ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] บนเรือ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ขณะที่พลเอก [[ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์]] มองจากฝั่งตรงข้าม]]
{{ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น}}
 
เส้น 5 ⟶ 6:
วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|ทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มนครฮิโระชิมะ]] เย็นวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น อันเป็นไปตาม[[ความตกลงยอลตา]] แต่ละเมิด[[สนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น]] และไม่นานหลังเที่ยงคืนวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตบุกครองรัฐหุ่นเชิด[[แมนจูกัว]]ของจักรวรรดิญี่ปุ่น วันเดียวกัน สหรัฐอเมริกา[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองถล่มนครนะงะซะกิ]] ความตระหนกจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ]]ทรงเข้าแทรกแซงและบัญชาให้ผู้นำบิ๊กซิกส์ยอมรับเงื่อนไขยุติสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งไว้ในแถลงการณ์พอตสดัม หลังการเจรจาหลังฉากหลายวันและ[[รัฐประหาร]]ที่ล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะจึงพระราชทานพระราชดำรัสทางวิทยุที่บันทึกไว้แพร่สัญญาณทั่วจักรวรรดิเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในพระราชดำรัสดังกล่าว อันเรียกว่า '''[[เกียวกุอง โฮโซ]]''' พระองค์ทรงประกาศว่าญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
 
[[ไฟล์:Shigemitsu-signs-surrender.jpg|thumb|[[มะโมะรุ ชิเงะมิตซุ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] บนเรือ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ขณะที่พลเอก [[ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์]] มองจากฝั่งตรงข้าม]]
วันที่ 28 สิงหาคม [[การยึดครองญี่ปุ่น]]โดย[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร]]เริ่มขึ้น พิธียอมจำนนจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน บนเรือรบ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งข้าราชการจากรัฐบาลญี่ปุ่นลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] และยุติความเป็นศัตรูกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งพลเรือนและทหารฝ่ายสัมพันธมิตรล้วนเฉลิมฉลอง[[วันแห่งชัยชนะเหนือญี่ปุ่น]] อย่างไรก็ดี ทหารและกำลังพลบางส่วนที่ถูกโดดเดี่ยวของจักรวรรดิญี่ปุ่นทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกปฏิเสธที่จะยอมจำนนเป็นเวลาหลายเดือนและหลายปีหลังจากนั้น บางคนปฏิเสธกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 บทบาทของการทิ้งระเบิดปรมาณูในการยอมจำนนของญี่ปุ่น และจริยธรรมของการโจมตีทั้งสองยังเป็นที่ถกเถียง สถานะสงครามระหว่างญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อ[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1952 และอีกสี่ปีให้หลัง ก่อนที่ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตจะลงนาม[[แถลงการณ์ร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956]] ซึ่งยุติสถานะสงครามระหว่างสองประเทศอย่างเป็นทางการ