ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
}}
 
'''หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา''' (นามเดิม '''เจ้าศรี ณ น่าน''', [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2431]] — [[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2521]]) พระธิดาใน[[พระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช]] เจ้าประเทศราชผู้ครองนคร[[น่าน]] กับหม่อมศรีคำ (ชาว[[เวียงจันทน์]]) เป็นพระชายาหม่อมเอกใน[[หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร]] ทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อม เจ้าศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำ[[แฮม]] และ[[เบคอน]] เป็นต้น
 
== ประวัติ ==
เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ [[19 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2431]] มีพระนามเดิมว่า ''เจ้าศรี'' เป็นพระธิดาใน[[พระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช]] เจ้าประเทศราชผู้ครองนคร[[น่าน]] กับหม่อมศรีคำ (ชาว[[เวียงจันทน์]]) มีเชษฐาและภคินีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน 5 องค์ท่าน เป็นโอรสชาย 3 องค์ท่าน (สิ้นชนม์ชีพถึงแก่กรรมหมด) ธิดาหญิง 2 องค์ท่าน คือ เจ้าบัวแก้ว ณ น่าน และเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน (ซึ่งท่านเป็นองค์คนสุดท้อง)
 
[[พระยามหิบาลบริรักษ์]] (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์) และคุณหญิงอุ๊น ภริยา ได้ทูลขอเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน กับพระเจ้าสุริยะพงศ์ผลิตเดชเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อชันษาอายุได้ 3 ปีเศษ ตามพระบิดาและมารดาบุญธรรมไปกรุงเทพ เข้าศึกษาที่[[โรงเรียนสุนันทาลัย]] เป็นเวลา 5 เดือน และ[[โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง]] (โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) 8 เดือน
 
ปี [[พ.ศ. 2442]] พระยามหิบาลฯ และภริยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่[[ประเทศรัสเซีย]] จึงต้องถวายตัวเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ไว้ในพระอุปการะ[[สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ]] ใน[[รัชกาลที่ 5]] เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน จึงใช้ชีวิตและเรียนหนังสืออยู่ในวังกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี ต่อจากนั้นจึงตามพระยามหิบาลฯ และครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย และ[[ประเทศอังกฤษ]] ตามลำดับ หลังจากกลับจากต่างประเทศ ก็กลับเข้ารับราชการ ในพระราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในหน้าที่[[นางสนองพระโอษฐ์]] ในบางครั้งยังทำหน้าที่เป็น[[ล่าม]]ติดต่อกับชาวต่างประเทศ
บรรทัด 42:
แต่ต่อมาเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องออกจากราชการ และเกิด[[กบฏบวรเดช]] ซึ่งพระเชษฐา คือ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]]ทรงเป็นหัวหน้าในการก่อการแย่งชิงอำนาจกลับคืนจากคณะราษฎรผู้ปกครองแผ่นดิน ซึ่งเปลี่ยนระบบการปกครองระบอบ [[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]] มาเป็นระบอบ[[ประชาธิปไตย]] หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมก่อการด้วย แต่การก่อการไม่สำเร็จ ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องโทษจำคุกตลอดพระชนม์ชีพ ที่[[เกาะตะรุเตา]] และ[[เกาะเต่า]] ภายหลังได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม จึงจำคุกเพียง 11 ปี หม่อม เจ้าศรีพรหมาต้องรับภาระหนักทั้งเลี้ยงดูโอรสธิดา ดูแลกิจการที่อำเภอบางเบิด และ ตามไปส่งอาหารและยาให้หม่อมเจ้าสิทธิพรตามสถานที่ต่างๆ ที่ถูกคุมขังไว้
 
ในรัฐบาลของนาย[[ควง อภัยวงศ์]] หลังจากหม่อมเจ้าสิทธิพรพ้นโทษแล้ว ก็ได้ทรงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ถึง 2 สมัย หม่อม เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา จึงได้กลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรสิ้นชีพิตักษัย เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 หม่อม เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา จึงได้ผลักดันให้เกิด “มูลนิธิสิทธิพร กฤดากร” เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของหม่อมเจ้าสิทธิพร และส่งเสริมการจัดตั้ง[[โรงเรียน]]เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร
 
เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ [[25 กันยายน]] [[พ.ศ. 2521]] รวมอายุได้ 90 ปีเศษ อัฐิของท่านได้นำมาบรรจุไว้ที่ ณ [[วัดชนะสงคราม]]ร่วมกับพระอัฐิของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร