ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเสมอภาคทางสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FESTH (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ความเสมอภาค''' (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ==
{{ต้องการอ้างอิง-ส่วน}}
การเรียกร้องความเสมอภาคใน[[สังคมไทย]]นั้นมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ. 2475]] โดยในวันที่ยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้วนั้น [[คณะราษฎร]]ได้แถลงหลักหกประการที่จะใช้เป็นแก่นแกนในการบริหารประเทศ โดยหลักข้อที่สี่ผู้ร่างได้เขียนไว้ว่า “จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามี[[สิทธิ]]ยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่” จากหลักการข้อนี้ของ[[คณะราษฎร]]จึงถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรากฐานความคิดมวลของชาติไทย เนื่องจากก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความเท่าเทียมกันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การมีอภิสิทธิ์ การมีชนชั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่[[สังคมไทย]]เชื่อถือและยึดปฏิบัติ ภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม]]แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคและความเท่าเทียมก็ขยายตัวออกไปใน[[สังคมไทย]]
 
เส้น 18 ⟶ 19:
 
แนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาค เป็นประเด็นสำคัญใน[[สังคมไทย]] ปัญหาสำคัญคือ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ผู้คนใน[[สังคม]]มีมุมมองต่อหลักความเสมอภาคแตกต่างกันไป บางคนเชื่อว่า [[มนุษย์]]ไม่อาจเสมอภาคกันได้โดยเปรียบเทียบว่าแม้แต่นิ้วของเราทั้ง 5 นิ้ว ยังยาวไม่เท่ากัน คำกล่าวเช่นนี้สะท้อนว่าผู้พูดไม่เข้าใจหลักการของความเสมอภาคที่ตั้งอยู่บนแนวคิดว่า ความเสมอภาคไม่ใช่ความเท่ากัน แต่หมายความว่า บุคคลย่อมไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือมีอภิสิทธิ์เพราะเหตุในเรื่อง[[เพศ]] ชาติกำเนิด [[เชื้อชาติ]] [[ภาษา]] ถิ่นอาศัย ความเชื่อ หรือความคิดเห็นในทางศาสนาหรือในทางการเมือง บุคคลย่อมไม่ถูกแบ่งแยกด้วยเหตุเพราะ[[ความพิการ]]เป็นสำคัญ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}