ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซีคมุนท์ ฟร็อยท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
บิดามารดาของฟรอยด์ยากจน แต่ได้ส่งเสียให้ฟรอยด์ได้รับการศึกษา เขาสนใจกฎหมายเมื่อครั้งเป็นนักเรียน แต่เปลี่ยนไปศึกษาแพทยศาสตร์แทน โดยรับผิดชอบการวิจัย[[โรคสมองพิการ]] [[ภาวะเสียการสื่อความ]] และจุลประสาทกายวิภาคศาสตร์ เขาเดินหน้าเพื่อพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับ[[จิตไร้สำนึก]]และกลไกของ[[การกดเก็บ]] และตั้งสาขา[[จิตบำบัด]]ด้วยวาจา โดยตั้งจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการทางคลินิกเพื่อรักษา[[จิตพยาธิวิทยา]]ผ่านบทสนทนาและระหว่างผู้รับการรักษากับนักจิตวิเคราะห์<ref name="Systems of Psychotherapy">Ford & Urban 1965, p. 109</ref> แม้จิตวิเคราะห์จะใช้เป็นการปฏิบัติเพื่อการรักษาลดลง<ref>Kovel 1991, p. 96.</ref> แต่ก็ได้บันดาลใจแก่การพัฒนาจิตบำบัดอื่นอีกหลายรูปแบบ ซึ่งบางรูปแบบแตกออกจากแนวคิดและวิธีการดั้งเดิมของฟรอยด์
 
ฟรอยด์ตั้งสมมุติฐานการมีอยู่ของ libido (พลังงานซึ่งให้กับกระบวนการและโครงสร้างทางจิต) พัฒนาเทคนิคเพื่อการรักษา เช่น การใช้[[ความสัมพันธ์เสรี]] (ซึ่งผู้เข้ารับการรักษารายงานความคิดของตนโดยไม่มีการสงวน และต้องไม่พยายามเพ่งความสนใจขณะทำเช่นนั้น) ค้นพบ[[การถ่ายโยงความรู้สึก]] (กระบวนการที่ผู้รับการรักษาย้ายที่ความรู้สึกของตนจากประสบการณ์ภาพในอดีตของชีวิตไปยังนักจิตวิเคราะห์) และตั้งบทบาทศูนย์กลางของมันในกระบวนการวิเคราะห์ และเสนอว่า [[ฝัน]]ช่วยรักษา[[การนอนหลับ]] โดยเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาที่สมหวัง ที่หาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน เขายังเป็นนักเขียนบทความที่มีผลงานมากมาย โดยใช้จิตวิเคราะห์ตีความและวิจารณ์วัฒนธรรม
 
จิตวิเคราะห์ยังทรงอิทธิพลอยู่ในทาง[[จิตเวชศาสตร์]]<ref>[http://americanmentalhealthfoundation.org/a.php?id=24 Michels, undated]<br />Sadock and Sadock 2007, p. 190: "Certain basic tenets of Freud's thinking have remained central to psychiatric and psychotherapeutic practice."</ref> และต่อ[[มนุษยศาสตร์]]โดยรวม แม้ผู้วิจารณ์บางคนจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ลวงโลก<ref>Webster 1995, p. 12.</ref>และกีดกันทางเพศ<ref>Mitchell 2000, pp. xxix, 303–356.</ref> การศึกษาเมื่อ ค.ศ. 2008 เสนอว่า จิตวิเคราะห์ถูกลดความสำคัญในสาขาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.nytimes.com/2007/11/25/weekinreview/25cohen.html?_r=3&ref=education&oref&oref=slogin Cohen, 25 November 2007].</ref> แม้ว่าทฤษฎีของฟรอยด์จะมีเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อยู่ก็ตาม แต่ผลงานของเขาได้รับการตีแผ่ในความคิดเชิงปัญญาและวัฒนธรรมสมัยนิยม
บรรทัด 49:
{{บทความหลัก|ฝัน}}
 
ฟรอยด์เชื่อว่า หน้าที่ของฝันคือ การรักษาการนอนหลับโดยแสดงภาพความปรารถนาที่สมหวัง ซึ่งหาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน<ref>Rycroft, Charles. ''A Critical Dictionary of Psychoanalysis''. London: Penguin Books, 1995, p.41</ref>
 
=== พัฒนาการความต้องการทางเพศ ===