ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นพะเยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กบฎ’ ด้วย ‘กบฏ’
บรรทัด 44:
แคว้นพะเยา เริ่มมีบทบาทโดดเด่นขึ้นต้นพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์นาม "[[พญางำเมือง]]" กษัตริย์พระองค์ที่เก้า เป็นพระสหายของ[[พ่อขุนรามคำแหง]] และ[[พญามังราย]]<ref name="ปู่">"พงศาวดารเชียงแสน". ''พงศาวดารภาคที่ 61'', หน้า 27</ref> ทั้งสามพระองค์ได้ร่วมมือกันทำสัญญาสามกษัตริย์ในปี พ.ศ. 1830 เพื่อต่อต้านการขยายตัวของ[[จักรวรรดิมองโกล]] ทั้งที่ก่อนหน้านี้พญามังรายเคยยกทัพไปเมืองพะเยาในปี พ.ศ. 1819 แต่ไม่ได้รบกันแต่กลับมีการเจรจากัน<ref name="สิบห้า">''ตำนานสิบห้าราชวงศ์ เล่ม 1''. เชียงใหม่:สถาบันวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2524, หน้า 55</ref> สรัสวดี อ๋องสกุลได้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะ "...ความเป็นสหายและความเข้มแข็งของพญางำเมืองในขณะนั้นเป็นอุปสรรคต่อการยึดเมืองพะเยา"<ref name="สรัส"/> ด้วยความเข้มแข็งดังกล่าวพญางำเมืองได้ขยายอำนาจและยึดครอง[[นครรัฐน่าน]]โดยส่งพระชายาและราชบุตรไปปกครอง ถือเป็นยุคที่พะเยาเจริญรุ่งเรืองสูงสุด<ref name="สรัส"/>
 
หลังสิ้นรัชกาลพญางำเมือง ท้าวคำแดงได้ครองเมืองสืบต่อ ยังคงสัมพันธ์อันดีกับล้านนา และเคยช่วย[[พญาไชยสงคราม]]ปราบ[[ขุนเครือ]] และหลังจากการปราบกบฎกบฏก็ได้ขอนางแก้วพอตาธิดาพญาไชยสงครามให้เสกสมรสกับท้าวคำลือ กษัตริย์พะเยาองค์สุดท้าย แต่แล้วในปี พ.ศ. 1877-1879 ล้านนาในสมัย[[พญาคำฟู]]ทรงประสบความสำเร็จในการปล้นเมืองพะเยาจากความร่วมมือของ[[นครรัฐน่าน]] เพราะเป็นการดีต่อล้านนาที่เมืองเชียงรายจะปลอดภัยจากพะเยา และตั้งเมืองพะเยาเป็นฐานอำนาจที่จะขยายลงไปสู่[[นครรัฐแพร่]] และ[[นครรัฐน่าน|น่าน]]ต่อไป<ref name="วดี"/>
 
หลังสิ้นเอกราช เมืองพะเยาปรากฏความสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของล้านนาในรัชสมัย[[พญาสามฝั่งแกน]] เพราะได้ส่งขุนนางที่มีฐานะเป็นอา ช่วยเหลือให้พระองค์ครองราชย์มาปกครองพะเยา และตอบแทนความชอบด้วยการกำหนดตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาเป็น "เจ้าสี่หมื่น" และในรัชสมัย[[พระเจ้าติโลกราช]] ทรงให้ความชอบแก่[[พระยายุทธิษฐิระ]] อดีตเจ้าเมืองสองแควผู้มาสวามิภักดิ์ให้การยกให้ครองพะเยา แต่กาลต่อมาเมือล้านนาได้ยึดครองนครรัฐแพร่ และน่านแล้ว เมืองพะเยาจึงถูกลดบทบาทลง<ref name="วดี"/>