ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่อิโวะจิมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล การรบ
|ชื่อการรบ= ยุทธการที่อิโวะจิมะ
เส้น 18 ⟶ 17:
ซ่อนตัว ~3,000 นาย<ref>[[John Toland (author)|John Toland]], ''[[The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire, 1936–1945]]'', page 669</ref>}}
{{Campaign Ryukyus}}
 
'''ยุทธการที่อิโวะจิมะ''' (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะ[[อิโวะจิมะ]]จากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส '''ปฏิบัติการดีแทชเมนต์''' ({{lang-en|Operation Detachment}}) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง
 
หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับ[[บี-29]] ของกองทัพอากาศสหรัฐ
 
ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน
 
อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกัน จากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการ ที่เหลือส่วนใหญ่ตายในการรบ แม้มีประเมินว่า มากถึง 3,000 นายยังคงต่อต้านในระบบถ้ำต่าง ๆ อีกหลายวันให้หลัง จนสุดท้ายจำนนต่อการบาดเจ็บหรือยอมจำนนอีกหลายสัปดาห์ต่อมา
 
แม้การสู้รบนองเลือดและกำลังพลสูญเสียอย่างรุนแรงทั้งสองฝ่าย แต่การพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นรับประกันตั้งแต่ต้น ความเหนือกว่าท่วมท้นของอเมริกันทั้งด้านอาวุธและจำนวน ตลอดจนการควบคุมอำนาจทางอากาศเบ็ดเสร็จ กอปรกับการที่ญี่ปุ่นไม่สามารถถอยหรือได้รับกำลังเพิ่มเติม ทำให้ไม่มีกรณีแวดล้อมที่เป็นไปได้ซึ่งฝ่ายอเมริกันจะแพ้ยุทธการ
 
ยุทธการนี้ถูกจารึกโดยภาพถ่ายการปักธงสหรัฐบนยอดภูเขาสุริบะยะชิสูง 166 เมตรโดยนาวิกโยธินสหรัฐห้านายและเหล่าพยาบาลสนามกองทัพเรือสหรัฐหนึ่งนายของโจ โรเซนทัล ภาพถ่ายบันทึกการปักธงที่สองบนภูเขานั้น ซึ่งทั้งสองเกิดในวันที่ห้าของยุทธการ 35 วัน ภาพถ่ายของโรเซนทัลพลันกลายเป็นสัญรูปถาวรของยุทธการนั้น สงครามในแปซิฟิก และเหล่านาวิกโยธิน และได้รับการทำซ้ำอย่างกว้างขวาง
 
== อ้างอิง ==