ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50:
'''ออทโท เอดูอาร์ด เลโอโพลด์ เจ้าบิสมาร์ค ดุ๊กเลาเอนบุร์ก''' ({{lang-en|Otto Eduard Leopold, Prince of Bismarck, Duke of Lauenburg}}; 1 เมษายน 1815 – 30 กรกฎาคม 1898) หรือเรียก '''ออทโท ฟอน บิสมาร์ค''' ({{lang-de|Otto von Bismarck}}) เป็น[[รัฐบุรุษ]][[ปรัสเซีย]][[อนุรักษนิยม]]ผู้ครอบงำกิจการเยอรมันและยุโรปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 ถึงปี 1890 ในคริสต์ทศวรรษ 1860 เขาวางแผนชี้นำชุดสงครามซึ่งรวมรัฐเยอรมัน (ไม่รวมออสเตรีย) เป็น[[จักรวรรดิเยอรมัน]]ทรงอำนาจภายใต้การนำของปรัสเซีย ซึ่งสำเร็จในปี 1871 เขาใช้การทูตดุลอำนาจอย่างมีชั้นเชิงเพื่อธำรง[[การใช้อำนาจครอบงำ]]ของเยอรมนีในทวีปยุโรป ซึ่งแม้มีกรณีพิพาทและความกลัวสงครามมากมาย ยังคงมีสันติภาพ สำหรับนักประวัติศาสตร์ เอริค ฮอบสเบาม์ เป็นบิสมาร์คผู้ "รั้งผู้ชนะเลิศโลกในเกมหมากรุกการทูตพหุภาคีเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีหลังปี 1871 อย่างไม่มีข้อกังขา [และ]อุทิศตัวเพื่อธำรงสันติภาพระหว่างประเทศโดยเฉพาะและโดยสำเร็จ"
 
ใน ค.ศ. 1862 [[พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1]] ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีปรัสเซีย ซึ่งเขาครองตำแหน่งจน ค.ศ. 1890 (เว้นช่วงสั้น ๆ ใน ค.ศ. 1873) เขายุให้เกิดสงครามเด็ดขาดสั้น ๆ สามครั้งต่อเดนมาร์ก ออสเตรียและฝรั่งเศส โดยเข้ากับรัฐเยอรมันที่เล็กกว่าเบื้องหลังปรัสเซียในการพิชิตฝรั่งเศสศัตรูเอกของเขา ใน ค.ศ. 1871 เขาตั้งจักรวรรดิเยอรมันโดยเขาเป็นนายกรัฐมนตรีเอง ขณะยึดถือการควบคุมปรัสเซียไว้ การทูต[[เรอัลโพลีทิค]]ของเขาและการปกครองทรงอำนาจที่บ้านในประเทศทำให้เขาได้สมญา "นายกรัฐมนตรีเหล็ก" การรวมและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของเยอรมนีเป็นรากฐานต่อนโยบายต่างประเทศของเขา เขาไม่ชอบลัทธิอาณานิคมแต่ฝืนใจสร้างจักรวรรดิโพ้นทะเลเมื่อทั้งอภิชนและมติมหาชนเรียกร้อง โดยใช้เพทุบายชุดการประชุม การเจรจาและพันธมิตรที่ประสานกันซับซ้อนยิ่ง เขาใช้ทักษะการทูตไร้เทียมทานของเขาเพื่อธำรงฐานะของเยอรมนีและใช้ดุลอำนาจเพื่อรักษาทวีปยุโรปให้มีสันติภาพในคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880
 
เขาเป็นยอดแห่งการเมืองซับซ้อนในประเทศ เขาสร้าง[[รัฐสวัสดิการ]]รัฐแรกในโลกสมัยใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อชิงการสนับสนุนของชนชั้นกรรมกรซึ่งหาไม่แล้วอาจเป็นของศัตรูสังคมนิยมของเขา ในคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเป็นพันธมิตรกับพวกเสรีนิยม (ซึ่งนิยมพิกัดอัตราต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และสู้กับคริสตจักรคาทอลิกในสงครามวัฒนธรรม เขาปราชัยการยุทธ์นั้นเมื่อพวกคาทอลิกสนองโดยตั้งพรรคกลางอันทรงพลังและการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายให้ได้มาซึ่งที่นั่ง ต่อมาบิสมาร์คกลับลำ ยุติสงครามวัฒนธรรม แตกกับพวกเสรีนิยม กำหนดพิกัดอัตรา และตั้งพันธมิตรการเมืองกับพรรคกลางเพื่อสู้กับพวกสังคมนิยม เขาเป็นผู้นับถือนิกายลูเทอแรนอย่างเคร่งครัด ภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระราชทานการสนับสนุนของพระองค์อย่างเต็มกำลังตอบ ค้านกับคำแนะนำของพระมเหสีและรัชทายาท ขณะที่รัฐสภาของเยอรมนีได้รับเลือกตั้งโดยสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชาย แต่รัฐสภามิได้ควบคุมรัฐบาลอย่างแท้จริง บิสมาร์คไม่ไว้ใจประชาธิปไตยและปกครองผ่านระบบข้าราชการที่เข้มแข็งและฝึกฝนอย่างดีโดยอำนาจอยู่ในมืออภิชนยุงเคอร์ซึ่งประกอบด้วยอภิชนเจ้าของที่ดินทางตะวันออก ภายใต้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 บิสมาร์คควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ จนเขาถูก[[พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2]] วัยหนุ่มปลดใน ค.ศ. 1890
 
{{นายกรัฐมนตรีเยอรมนี}}