ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การหายใจแสง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PAHs (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|'''<big>การหายใจแสงแบบง่าย</big>''' File:Simplified photorespiration diagram.jpg|thum...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[File:Photorespiration allgemein.svg|thumb|'''<big>การหายใจแสงแบบง่าย</big>''']]
[[File:Simplified photorespiration diagram.jpg|thumb|การหายใจแสงและวัฏจักรคัลวินแบบง่าย]]
[[File:RuBisCO reaction O2.svg|thumb|350px|การทำงานแบบออกซีจีเนสของ RubisCO]]
 
'''การหายใจแสง''' ({{lang-en|photorespiration}}) เป็น[[ปฏิกิริยาออกซิเดชัน]]ที่เกิดขึ้นได้ระหว่าง[[การตรึงคาร์บอน]]ในพืช ใช้ออกซิเจนและปล่อย[[คาร์บอนไดออกไซด์]] เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงจึงเรียกว่าการหายใจแสง แต่จะต่างจาก[[การหายใจ]]ที่ไม่มีการสร้าง [[ATP]] ในปฏิกิริยานี้ และทำให้ประสิทธิภาพของการตรึงคาร์บอนลดลง<ref>{{cite doi|10.1111/j.1438-8677.2012.00681.x}}</ref> เกิดขึ้นเมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ ในใบต่ำกว่า 50 ppm [[RuBP carboxylase]] จะไม่จับกับคาร์บอนไดออกไซด์แต่จะจับกับ[[ออกซิเจน]]แทน ทำให้เปลี่ยน [[RuBP]] ไปเป็น[[3-ฟอสโฟกลีเซอเรต]]และ[[ฟอสโฟไกลโคเลต]] 3-ฟอสโฟกลีเซอเรตที่ได้จะเข้า[[วัฏจักรคัลวิน]] ส่วนฟอสโฟไกลโคเลตถูกเปลี่ยนเป็น[[ไกลโคเลต]]
 
ไกลโคเลตที่ได้จะถูกส่งออกจาก[[คลอโรพลาสต์]]ไปยัง[[เพอรอกซีโซม]] ไกลโคเลตถูกเปลี่ยนไปเป็น[[ไกลออกซิเลต]]และ[[ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์]] ที่เป็นพิษ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกสลายในเพอรอกซิโซมนี้ ส่วนไกลออกซีเลตนำไปใช้สร้างกรดอะมิโน[[ไกลซีน]]ได้ ไกลซีนที่ได้จะเข้าสู่[[ไมโทคอนเดรีย]] ปล่อยหมู่อะมิโนให้กับสารอินทรีย์อื่นๆ และได้[[เซอรีน]] เซอรีนนี้ถ้ากลับเข้าสู้เพอรอกซีโซมจะถูกเปลี่ยนเป็น[[กลีเซอเรต]] ซึ่งเมื่อถูกส่งกลับเข้าคลอโรพลาสต์จะเข้าวัฏจักรคัลวินได้