ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''สัมพัทธภาพทั่วไป'''หรือ'''ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป''' ({{lang-en|general relativity หรือ general theory of relativity}}) เป็นทฤษฎี[[ความโน้มถ่วง]]แบบ[[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์|เรขาคณิต]]ซึ่ง[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]]จัดพิมพ์ใน ค.ศ. 1916<ref>{{cite web|title=Nobel Prize Biography|url=http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/1921/einstein-bio.html|work=Nobel Prize Biography|publisher=Nobel Prize|accessdate=25 February 2011}}</ref> และเป็นการพรรณนาความโน้มถ่วงปัจจุบันในวิชา[[ฟิสิกส์สมัยใหม่]] สัมพัทธภาพทั่วไปวางนัยทั่วไป[[สัมพัทธภาพพิเศษ]]และ[[กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน]] โดยให้การพรรณนารวมความโน้มถ่วงเป็นคุณสมบัติเรขาคณิตของ[[ปริภูมิ]]และเวลา หรือ[[ปริภูมิ-เวลา]] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [[ความโค้ง]]ของปริภูมิ-เวลาสัมพันธ์โดยตรงกับ[[พลังงาน]]และ[[โมเมนตัม]]ของ[[สสาร]]และ[[รังสี]]ที่มีอยู่ทั้งหมด ความสัมพันธ์นี้เจาะจงโดย[[สมการฟีลด์ไอน์สไตน์]] ซึ่งเป็นระบบ[[สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย]]
 
การทำนายของสัมพัทธภาพทั่วไปบางอย่างแตกต่างมากจากการทำนายของ[[ฟิสิกส์แบบฉบับ]] โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการผ่านของเวลา เรขาคณิตของปริภูมิ การเคลื่อนที่ของเทห์ (body) ใน[[การตกอิสระ]] และการแพร่กระจายของแสง ตัวอย่างความต่างเหล่านี้มีการเปลี่ยนขนาดของเวลาเชิงโน้มถ่วง [[เลนส์ความโน้มถ่วง]] การเคลื่อนไปทางแดงเชิงโน้มถ่วงของแสง และการหน่วงของเวลาเชิงโน้มถ่วง การทำนายของสัมพัทธภาพทั่วไปได้รับการยืนยันในทุกการสังเกตและการทดลองจนปัจจุบัน แม้สัมพัทธภาพทั่วไปมิใช่เพียงทฤษฎีความโน้มถ่วงสัมพัทธนิมเท่านั้น แต่เป็นทฤษฎีง่ายที่สุดซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงทดลองด้วย ทว่า ยังเหลือคำถามซึ่งไม่มีคำตอบและเป็นหลักมูลที่สุดว่า สัมพัทณภาพจะสามารถเข้ากับกฎฟิสิกส์ควอนตัมเพื่อส้างทฤษฎีความโน้มถ่วงควอนตัมที่สมบูรณ์และต้องกันในตัวเองได้อย่างไร