ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''สัมพัทธภาพทั่วไป'''หรือ'''ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป''' ({{lang-en|general relativity หรือ general theory of relativity}}) เป็นทฤษฎี[[ความโน้มถ่วง]]แบบ[[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์|เรขาคณิต]]ซึ่ง[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]]จัดพิมพ์ใน ค.ศ. 1916 และเป็นการพรรณนาความโน้มถ่วงปัจจุบันในวิชา[[ฟิสิกส์สมัยใหม่]] สัมพัทธภาพทั่วไปวางนัยทั่วไป[[สัมพัทธภาพพิเศษ]]และ[[กฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน]] โดยให้การพรรณนารวมความโน้มถ่วงเป็นคุณสมบัติเรขาคณิตของ[[ปริภูมิ]]และเวลา หรือ[[ปริภูมิ-เวลา]] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [[ความโค้ง]]ของปริภูมิ-เวลาสัมพันธ์โดยตรงกับ[[พลังงาน]]และ[[โมเมนตัม]]ของ[[สสาร]]และ[[รังสี]]ที่มีอยู่ทั้งหมด ความสัมพันธ์นี้เจาะจงโดย[[สมการฟีลด์ไอน์สไตน์]] ซึ่งเป็นระบบ[[สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย]]
 
การทำนายของสัมพัทธภาพทั่วไปบางอย่างแตกต่างมากจากการทำนายของ[[ฟิสิกส์คลาสสิกแบบฉบับ]] โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการผ่านของเวลา เรขาคณิตของปริภูมิ การเคลื่อนที่ของเทห์ (body) ใน[[การตกอิสระ]] และการแพร่กระจายของแสง ตัวอย่างความต่างเหล่านี้มีการเปลี่ยนขนาดของเวลาเชิงโน้มถ่วง [[เลนส์ความโน้มถ่วง]] การเคลื่อนไปทางแดงเชิงโน้มถ่วงของแสง และการหน่วงของเวลาเชิงโน้มถ่วง การทำนายของสัมพัทธภาพทั่วไปได้รับการยืนยันในทุกการสังเกตและการทดลองจนปัจจุบัน แม้สัมพัทธภาพทั่วไปมิใช่เพียงทฤษฎีความโน้มถ่วงสัมพัทธนิมเท่านั้น แต่เป็นทฤษฎีง่ายที่สุดซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงทดลองด้วย ทว่า ยังเหลือคำถามซึ่งไม่มีคำตอบและเป็นหลักมูลที่สุดว่า สัมพัทณภาพจะสามารถเข้ากับกฎฟิสิกส์ควอนตัมเพื่อส้างทฤษฎีความโน้มถ่วงควอนตัมที่สมบูรณ์และต้องกันในตัวเองได้อย่างไร
 
ทฤษฎีของไอน์สไตน์มีการส่อความทาง[[ดาราฟิสิกส์]]สำคัญ ตัวอย่างเช่น มันส่อความการมี[[หลุมดำ]] บริเวณของปริภูมิซึ่งปริภูมิและเวลาซึ่งบิดเบี้ยวจนไม่มีสิ่งใด กระทั่งแสง สามารถออกมาได้ โดยเป็นจุดจบของดาวฤกษ์ขนาดยักษ์ มีหลักฐานมากพอว่า รังสีเข้มซึ่งแผ่จากวัตถุทางดาราศาสตร์บางชนิดเนื่องจากหลุมดำ เช่น ไมโครควาซาร์ (microquasar) และนิวเคลียสดาราจักรกัมมันต์ (active galactic nucleus) ซึ่งเกิดจากการมีหลุมดำดาวฤกษ์และหลุมดำชนิดใหญ่ยักษ์กว่ามากตามลำดับ การโค้งของแสงโดยความโน้มถ่วงสามารถนำไปสู่ปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง ซึ่งสามารถเห็นภาพหลายภาพของวัตถุดาราศาสตร์ที่ระยะทางเท่ากันหลายภาพบนฟ้า สัมพัทธภาพทั่วไปยังทำนายการมีคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งมีการสังเกตโดยอ้อมนับแต่นั้น การวัดโดยตรงเป็นเป้าหมายของโครงการอย่าง LIGO และสายอากาศอวกาศอินเตอร์เฟอโรเมทรีเลเซอร์ (Laser Interferometer Space Antenna) ของ[[นาซา]]/[[องค์การอวกาศยุโรป|อีเอสเอ]] และแถวลำดับตั้งจังหวะพัลซาร์ (pulsar timing array) จำนวนมาก นอกจากนี้ สัมพัทธภาพทั่วไปยังเป็นพื้นฐานของแบบจำลอง[[จักรวาลวิทยา]]เอกภาพขยายต่อเนื่องปัจจุบัน
 
== จากกลศาสตร์คลาสสิกแบบฉบับสู่สัมพัทธภาพทั่วไป ==
 
===สมการของไอน์สไตน์===