ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทเขิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
ชาวไทขึน หรือไทยเรียกว่า ไทเขิน เป็นพลเมืองหลักของเมืองเชียงตุง ที่เข้ามาแทนที่ชนพื้นเมืองที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้าคือชาวลัวะ จากแต่เดิมไทเขินเข้าไปอยู่ปะปนก่อนหน้านี้<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล (ปริวรรต). ''พื้นเมืองเชียงแสน''. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2546, หน้า 58</ref> บางแห่งก็ว่าไทเขินสืบเชื้อสายมาจาก[[ไทลื้อ]]<ref name="เจนจิรา"/> ด้วยมีลักษณะและขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายกัน<ref>[[หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)|วิจิตรวาทการ, พลตรี, หลวง]]. ''งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย''. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2549, หน้า 106</ref> บ้างก็ว่ามีบรรพบุรุษเป็น[[ไทยวน]]ที่อพยพขึ้นเหนือช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตั้งแต่สมัย[[พญามังราย]] และสันนิษฐานว่าชนกลุ่มนี้น่าจะเคยเรียกตัวเองว่า "โยน" หรือ "ยวน" มาก่อน<ref name="เสมอชัย82">เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 82-83</ref>
 
ใน ''ตำนานพื้นเมืองเชียงตุง'' กล่าวถึง พิธีนั่งเมืองในรัชสมัยพญามังราย ที่ส่งเจ้าน้ำท่วมขึ้นมาครองเมืองว่า เมืองเชียงตุงเป็นเมือง "นามจันทร์" ไม่ต้องโฉลกในโหราศาสตร์กับ "โยน" ซึ่งเป็นเมือง "นามราหู" ดังนั้นพวกโยนขึ้นไปปกครองเมืองเชียงตุงจะอยู่ได้ไม่มั่นคง ต้องแก้เคล็ดด้วยการตามพวก "เขินหลวง" 96 คนจากทางใต้ที่ถูกนามเมืองให้ร่วมพิธีด้วย แล้วให้พวกโยนที่ขึ้นไปอยู่เชียงตุงตัดผมสั้นอย่างเขินหลวง หลังจากนั้นเจ้าน้ำท่วมก็ครองเมืองเชียงตุงด้วยความผาสุกสืบมา<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 85</ref> จนกระทั่งรัฐบาลทหารพม่ายกเลิกตำแหน่งเจ้านายไป เมื่อปี พ.ศ. 2505<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''วัฒนธรรมและการเมืองล้านนา''. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999 จำกัด, 2542, หน้า 150</ref>
 
บางแห่งก็ว่าบรรพบุรุษชาวไทเขินเป็น[[ชาวญี่ปุ่น]] ปรากฏครั้งแรกในงานเขียนของ ดอกเตอร์ วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ โดยกล่าวว่า ในปี ค.ศ. 1931 มีคณะทูตญี่ปุ่นประจำพม่าได้มาสืบเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในเชียงตุง ก็พบว่าเครื่องมือเครื่องใช้ของชาวไทเขิน อาทิ หมวก, รองเท้า และแบบแผนบ้านเรือนนั้น คล้ายกับชาวญี่ปุ่นในสมัยก่อน และตีความว่า "เขินหลวง" 96 คนในตำนานเมืองเชียงตุงนั้น อาจเป็น[[ซะมุไร]]ในบัญชาของ[[ยะมะดะ นะงะมะซะ]] อดีตขุนนางใน[[สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม]]แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ได้พาพรรคพวกหนีมายังเชียงตุงเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่อย่างไรก็ตามการตีความดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองรัฐฉาน ก็ถือโอกาสแพร่โฆษณาชวนเชื่อว่าชาวเชียงตุงและชาวญี่ปุ่นเป็นสายเลือดเดียวกัน และปัจจุบันนี้เรื่องดังกล่าวก็ได้รับการเชื่อถือจากชาวไทเขินพอสมควร และปรากฏในงานเขียนประวัติศาสตร์อยู่ดาษดื่น<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 86</ref>
 
ชาวไทเขิน ปลูกเรือนยกเสาสูง หลังคามีจั่ว เช่นเดียวกับคนไทยและลาว<ref name="เจนจิรา"/>
 
== ภาษา ==
[[ภาษาไทเขิน]] มีความคล้ายและใกล้เคียงกับ[[ภาษายอง]]และ[[ภาษาไทลื้อ|ไทลื้อ]]มาก ทั้งยังคล้ายกับภาษาไทยวนมาก ต่างเพียงแค่สำเนียง และการลงท้ายคำ ซึ่งชาวเขินแบบได้เป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มเขินก่อ-เขินแด้, กลุ่มเขินอู และกลุ่มเขินหวา<ref>{{cite web |url=http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/137223/ไทเขินบ้านต้นแหนนน้อย/|title=ไทเขินบ้านต้นแหนนน้อย|author=|date=31 พฤษภาคม 2555| work= |publisher=ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม|accessdate=31 ธันวาคม 2557}}</ref>
 
ส่วนอักษรนั้นชาวไทเขินได้รับอิทธิพลอักษรจากไทยวนจากการเผยแผ่ศาสนาในเมืองเชียงตุง ไทเขินรับ[[อักษรธรรมล้านนา]]และ[[อักษรฝักขาม]]ไปพร้อม ๆ กับศาสนา อักษรไทเขินจึงมีลักษณะคล้ายกับตัวธรรมล้านนา รวมทั้งยังรับวรรณกรรมล้านนาที่แพร่หลายสู่เชียงตุงด้วย<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552, หน้า 230</ref>
 
== ศาสนา ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทเขิน"