ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทเขิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 29:
ครั้นรัฐบาลพม่าได้จัดประชุมตัวแทนพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยให้ตัวแทนของพระสงฆ์แต่ละนิกายแสดงสถานภาพตนเองว่าจะสังกัดนิกายใด หรือจะใช้นิกายเดิม หรือรวมกับนิกายอื่น ปรากฎว่าพระสงฆ์เขินได้มีเจตจำนงรวมเข้ากับนิกายสุธรรมาซึ่งเป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดของพม่า<ref name="เสมอชัย132"/> หลังจากนั้นเป็นต้นมา ''สมเด็จอาชญาธรรม'' ประมุขของคณะสงฆ์เขินจึงถูกลดฐานะลงเทียบเจ้าคณะอำเภอเชียงตุงเท่านั้น<ref name="เสมอชัย131"/>
 
อย่างไรก็ตามแม้ล้านนาจะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของ[[ประเทศไทย]]แล้ว แต่การจัดระเบียบปกครองสงฆ์ ล้วนทำเป็นอย่างสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร และได้รับอิทธิพลศาสนาพุทธแบบกรุงเทพฯ ในยุคหลังมานี้ แม้คณะสงฆ์เขินจะคงจารีตสมณะศักดิ์แบบล้านนาเดิมไว้ แต่ในด้านการศึกษาของพระสงฆ์เขินเชียงตุงได้พยายามอิงหลักสูตรนักธรรมและบาลีของคณะสงฆ์ไทย ทำให้มีความแตกต่างจากศาสนาพุทธแบบพม่า และแบบไทใหญ่ ทั้งยังศาสนิกชนยังนิยมพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์แบบไทย มากกว่าพระพุทธรูปพุทธศิลป์แบบพม่า<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 129-130</ref> ทางรัฐบาลพม่าเองก็ไม่พอใจคณะสงฆ์เขินนักด้วยมองว่าคณะสงฆ์เขินฝักใฝ่คณะสงฆ์ไทย<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 135</ref>
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทเขิน"