ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทเขิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 25:
ในอดีตชาวไทเขินนับถือความเชื่อเรื่องและวิญญาณ แม้หลังการรับศาสนาแล้วความเชื่อดังกล่าวก็ยังคงอยู่<ref name="ฐานข้อมูล"/> นอกจากนี้ยังนับถือ[[กบ]]และ[[นาค]]เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ ดังปรากฏในพิธีปั้นกบเรียกฝนในช่วงสงกรานต์ และการระบำนางนาค เป็นต้น<ref name="เจนจิรา"/>
 
เมืองเชียงตุงมีความสัมพันธ์กับ[[อาณาจักรล้านนา]]ช้านาน จึงมีการติดต่อด้านศาสนาและรับ[[ศาสนาพุทธ]][[นิกายเถรวาท]]สืบมา ทั้งนี้พระสงฆ์เขินจะไม่สังฆกรรมร่วมกับพระสงฆ์พม่าและไทใหญ่ แม้จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคณะสงฆ์ไทใหญ่<ref name="เสมอชัย132">เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 132</ref> แต่คณะสงฆ์เขินก็กลับสนิทสนมกับคณะสงฆ์ไทยเสียมากกว่า โดยคณะสงฆ์เขินมี ''สมเด็จอาชญาธรรม'' เป็นประมุขสงฆ์แห่งเมืองเชียงตุงและหัวเมืองทางฟากตะวันออกของลุ่มน้ำสาละวิน<ref name="เสมอชัย131">เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต):พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 131</ref>
 
ครั้นรัฐบาลพม่าได้จัดประชุมตัวแทนพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยให้ตัวแทนของพระสงฆ์แต่ละนิกายแสดงสถานภาพตนเองว่าจะสังกัดนิกายใด หรือจะใช้นิกายเดิม หรือรวมกับนิกายอื่น ปรากฎว่าพระสงฆ์เขินได้มีเจตจำนงรวมเข้ากับนิกายสุธรรมาซึ่งเป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดของพม่า<ref name="เสมอชัย132"/> หลังจากนั้นเป็นต้นมา ''สมเด็จอาชญาธรรม'' ประมุขของคณะสงฆ์เขินจึงถูกลดฐานะลงเทียบเจ้าคณะอำเภอเชียงตุงเท่านั้น<ref name="เสมอชัย131"/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ไทเขิน"