ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
{{ปรับภาษา}}
{{กล่องข้อมูล นักเขียน
| name = สุจิตต์ วงษ์เทศ
เส้น 12 ⟶ 14:
| nationality = ไทย
| father = สำเภา วงษ์เทศ
| mother = นางลิ้นจี่ วงษ์เทศ
| spouse = ปรานี วงษ์เทศ<br>(ปรานี เจียรดิษฐ์อาภรณ์)
| period =
| genre =
เส้น 28 ⟶ 30:
}}
 
'''นายสุจิตต์ วงศ์เทศ''' (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) [[ศิลปินแห่งชาติ]] [[สาขาวรรณศิลป์]] (กวีนิพนธ์) ประจำปี [[พ.ศ. 2545]] นักเขียน[[รางวัลศรีบูรพา]] ประจำปี [[พ.ศ. 2536]] ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ใน[[หนังสือพิมพ์มติชน]] และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
 
==ประวัติ==
'''นายสุจิตต์ วงษ์เทศ''' เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปี ระกา เวลา 21.00 น. ตรงกับวันที่ [[20 เมษายน]] [[พ.ศ. 2488]] ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ [[อำเภอศรีมโหสถ]] (โคกปีบ) [[จังหวัดปราจีนบุรี]] บิดาชื่อ นายสำเภา วงษ์เทศ เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านด่าน มารดาชื่อ นางลิ้นจี่ วงษ์เทศ นาย

สุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 6 คน สมรสกับนางศาสตราจารย์ ปรานี วงษ์เทศ (สกุลเดิม: เจียรดิษฐ์อาภรณ์ ปัจจุบันคือศาสตราจารย์ปรานี วงษ์เทศ) เมื่อ พ.ศ. 2514 มีบุตร 2 คน
 
==การศึกษา==
'''นายสุจิตต์ วงษ์เทศ''' เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากนั้นได้ย้ายตามลูกของลุงที่บวชเป็นพระมาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร แล้วเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ที่[[โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์]] กรุงเทพมหานคร แล้วไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่[[โรงเรียนวัดนวลนรดิศ]] ต่อมาได้ย้ายไปเรียนต่อที่[[โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา]] จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จนสำเร็จปริญญาตรีใน พ.ศ. 2513
 
==ประวัติการทำงานและการเขียน==
'''นายสุจิตต์ วงษ์เทศ''' เริ่มสนใจงานเขียนมาตั้งแต่เรียนที่[[โรงเรียนวัดนวลนรดิศ]] ด้วยการชักชวนของนาย[[ขรรค์ชัย บุนปาน]] เพื่อนร่วมห้องซึ่งทำหนังสือประจำห้องอยู่ก่อนแล้วด้วยใจรักและด้วยความสนุกร่วมกับนาย[[เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์]] เพื่อนในชั้นเรียนอีกคนหนึ่ง ชักชวนกันเขียนกลอน ช่วงนั้นได้อ่านหนังสือของ[[ไม้ เมืองเดิม]] เกิดความชอบใจสำนวนโวหาร จึงคิดเขียนกลอนที่แตกต่างจากกลอนรักที่นิยมเขียนกันทั่วไป คือ เขียนกลอนแนวลูกทุ่งสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น จนมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่ม ร่วมกับผลงานของนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ นิราศ เมื่อ พ.ศ. 2507 โดยสุจิตต์ เขียนนิราศเมืองนนท์ ส่วนกลอนลูกทุ่ง เขียนร่วมกัน ต่อมา พ.ศ. 2508 เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ คนบาป ซึ่งเป็นปฐมบทของพฤติกรรม '''"ขุนเดช"''' ผู้หวงแหนโบราณวัตถุและโบราณสถาน ลงพิมพ์ใน[[สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์]] เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 ทำให้มีกำลังใจเขียนเรื่องสั้นต่ออีกมาก จน พ.ศ. 2511 มีรวมเรื่องสั้นเล่มแรกร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ '''ครึ่งรักครึ่งใคร่''' และโด่งดังมากใน พ.ศ. 2512 จากผลงานร้อยกรองร่วมกับนายขรรค์ชัย บุนปาน ชื่อ '''กูเป็นนิสิตนักศึกษา''' และรวมเรื่องสั้นของตนเอง ชื่อ '''ขุนเดช''' กับนวนิยายขนาดสั้น '''หนุ่มหน่ายคัมภีร์''' ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นชุดขุนเดช มีผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกด้วย ในช่วงที่เรียนคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากจะประพันธ์ร้อยกรองและเรื่องสั้นกับเพื่อนๆ นักเขียนกลุ่ม '''"หนุ่มเหน้าสาวสวย"''' จนโด่งดังแล้ว ยังได้ไปทำนิตยสารช่อฟ้า ที่มีนายสำราญ ทรัพย์นิรันดร์ เป็นบรรณาธิการ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยรับหน้าที่บรรณาธิการ'''วารสารโบราณคดี''' และได้ทำงานที่'''โรงพิมพ์กรุงสยาม''' รับจ้างพิสูจน์อักษร ออกแบบปก จัดทำรูปเล่มและทำงานการพิมพ์อื่น ๆ เกือบทุกอย่าง ทำให้รอบรู้และมีรายได้ส่งเสียตัวเองและน้องสาวที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ด้วย เนื่องจากนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เคยอ่านวรรณคดีโบราณ เช่น [[ทวาทศมาส]] [[ยวนพ่าย]] [[กำสรวลโคลงดั้น]] ฯลฯ มามาก จึงได้รับการขอร้องจากอาจารย์ให้เป็นผู้สอนวิชาภาษาและวรรณคดีไทยในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 และสอนต่อเนื่องมาจนจบการศึกษาแล้วก็ยังกลับไปสอนอีกระยะหนึ่ง
 
เมื่อเรียนจบปริญญาตรี เมื่อพ.ศ. 2513 ได้เข้าทำงานกับ [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ทำงานแทนบรรณาธิการเกือบทุกอย่างประมาณ 1 ปี จึงขอลาไปสหรัฐอเมริกา 1 ปีเศษ ทำงานเขียนหนังสืออย่างเดียว มีผลงานรวมเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในช่วงนี้ชุดหนึ่ง ชื่อ '''มุกหอมบนจานหยก''' เรื่องที่ส่งกลับมาลงพิมพ์ในสยามรัฐรายวัน และเรื่องที่เขียนให้นาย[[สุทธิชัย หยุ่น]] แปลเป็นภาษาอังกฤษลงในหนังสือพิมพ์[[เดอะเนชั่น]]นั้น ได้รวมพิมพ์ชื่อ '''เมดอิน ยูเอสเอ''' และ '''โง่เง่าเต่าตุ่นเมดอิน ยูเอสเอ''' ช่วงที่อยู่สหรัฐอเมริกาได้แต่งงานกับนางสาวปรานี เจียรดิษฐ์อาภรณ์ (รองศาสตราจารย์[[ปรานี วงษ์เทศ]]) ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา