ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮอสท์-เว็สเซิล-ลีท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
}}
 
'''ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด''' ({{lang-de|Horst-Wessel-Lied}}, แปลว่า "เพลงฮอสท์ เวสเซิล") หรือที่รู้จักในชื่อเพลงจากคำขึ้นต้น '''"ดีฟาเนอฮอค"''' ({{lang-de|Die Fahne hoch}}, แปลว่า "ธงอยู่สูงเด่น" ชื่อนี้มาจากวลีแรกของเพลง) เป็นเพลงประจำ[[พรรคนาซี]]ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 - 1945 และใช้เป็น[[เพลงชาติ]]ร่วมของ[[นาซีเยอรมนี]] ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 - 1945
 
เนื้อร้องของเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี [[ค.ศ. 1929]] ที่เขต Friedrichshain [[กรุงเบอร์ลิน]] [[ประเทศเยอรมนี]] โดย[[ฮอสท์ เวสเซิล]] ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหว[[ลัทธินาซี]]และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังพลพรรคพรรคนาซีกองพลวายุ "[[ชตูร์มอับไทลัง]]" (Sturmabteilung) หรือหน่วย "เอสอา" (SA) ระดับท้องถิ่น ต่อมาเมื่อเวสเซิลถูกพลพรรคของสมาชิก[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเยอรมนี]]คนหนึ่งสังหารในปี [[ค.ศ. 1930]] ก็ได้มีการยกย่องให้เวสเซิลเป็นวีรบุรุษผู้สละชีพเพื่อพรรคนาซี เพลงนี้จึงได้มีการนำไปใช้เป็นเพลงประจำพรรคนาซีอย่างเป็นทางการ และได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วจากการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรค เช่น การขับร้องเพลงนี้ของพลพรรคหน่วยเอสเอ ระหว่างการเดินแถวในตามท้องถนน เป็นต้น
 
เมื่อพรรคนาซีก้าวขึ้นสู่เถลิงอำนาจในปี [[ค.ศ. 1933]] เพลง "ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด" ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสัญลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งตามกฎหมายซึ่งตราขึ้นเมื่อวันที่ [[19 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1933]] ร่วมกับเพลง "[[ดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน]]" ซึ่งใช้เป็นเพลงชาติเยอรมนีอยู่แล้ว ดังนั้นนาซีเยอรมนีจึงมีเพลงชาติใช้ 2 เพลง โดยการขับร้องนั้นขึ้นต้นด้วยเพลงดัสลีดแดร์ดอยท์เชิน (เฉพาะบทแรก) ก่อน จากนั้นจึงตามด้วยเพลงฮอสท์-เวสเซิล-ลีด ในข้อบังคับที่ปรากฏในเพลงฮอสท์-เวสเซิล-ลีดฉบับพิมพ์ปี [[ค.ศ. 1934]] ได้ระบุว่า ระหว่างที่ขับร้องเพลงนี้ในบทแรกและบทที่ 4 จะต้องชูแขนขวาขึ้นเพื่อแสดงความเคารพต่อท่านผู้นำทำ "[[การสดุดีฮิตเลอร์]]" ด้วย
 
หลังการล่มสลายของระบอบการปกครองของพรรคนาซีล่มสลายในปี [[ค.ศ. 1945]] "ฮอสท์-เวสเซิล-ลีด" ได้กลายเป็นเพลงต้องห้าม ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวถือเป็นเพลงนอกมิชอบด้วยกฎหมายทั้งใน[[ประเทศเยอรมนี]]และ[[ออสเตรีย]]จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เว้นเสียแต่ว่าการแต่ใช้เพลงดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาและด้านวิชาการเท่านั้น (ตามมาตรา 86 และ 86a แห่งประมวลกฎหมายอาญา ([[Strafgesetzbuch]]) ของประเทศเยอรมนี
 
== เนื้อร้อง ==
บรรทัด 93:
|}
 
คำว่า "แนวร่วมแดง" ({{lang-de|"Rotfront"}}) ในที่นี้อ้างอิงถึงหน่วย[[ร็อตฟรอนท์คัมป์แฟร์บุนด์]] ({{lang-de|[[Rotfrontkämpferbund]]}}) หรือ "สันนิบาตนักรบแนวร่วมแดง" ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารของ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเยอรมนี]] (KPD) เป็นเรื่องปกติที่หน่วย[[ซตุร์มับไทลัง]] หรือหน่วยเอสอา ของพรรคนาซีกับสันนิบาตนักรบแนวร่วมแดงจะมีการเผชิญหน้าและสู้รบกันตามท้องถนนในเยอรมนีเวลานั้น ก่อนที่จะขยายวงกว้างเป็นการรบเต็มรูปแบบภายหลังปี [[ค.ศ. 1930]] ส่วนคำว่า "พวกปฏิกิริยา" ({{lang-de|"Reaktion"}}) หมายถึงพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมและรัฐบาลเยอรมันแนวเสรีนิยมประชาธิไตยในยุค[[สาธารณรัฐไวมาร์]] ซึ่งได้พยายามดำเนินการกดดันหน่วยเอสอาหลายครั้งแต่ล้มเหลว คำว่า "Die Knechtschaft" ซึ่งในที่นี้แปลว่า "ความเป็นทาส" หมายถึงภาระผูกพันของเยอรมนีตาม[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]] [[ค.ศ. 1919]] ซึ่งพรรคนาซีมองว่าทำให้เยอรมนีอยู่ในภาวะ "ความเป็นทาส" จากการชำระ[[ค่าปฏิกรรมสงคราม]]ใน[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] อย่างมหาศาล และการสูญเสีย[[อาณานิคม]]และอาณาเขตทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของเมืองแม่
 
บทร้องบางส่วนได้มีการแก้ไขหลังการตายของฮอสท์ เวสเซิล ดังนี้
บรรทัด 132:
|}
 
การแก้ไขคำว่า "Barrikaden" (แปลว่า ด่านกีดขวาง) สะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนาของพรรคนาซีในช่วงปี ค.ศ. 1930 - 1933 ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญที่ต้องการอำนาจรัฐอย่างถูกโดยชอบด้วยกฎหมายมากกว่าจะเป็นพรรคปฏิวัติ
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
บรรทัด 145:
[[หมวดหมู่:เพลงภาษาเยอรมัน]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เยอรมนี]]
 
{{โครงดนตรี}}