ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายด้าน เช่น ด้านการปกครอง โปรดให้ตั้ง[[สภากรรมการองคมนตรี]] ทรงตรากฎหมายเพื่อควบคุมการค้าขายที่เป็นสาธารณูปโภคและการเงิน ระบบ[[เทศบาล]] ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรมนั้น พระองค์โปรดให้สร้างหอพระสมุด ทรงปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มีการปรับปรุงการศึกษาจนยกระดับมาตรฐานถึงปริญญาตรี ทรงตั้ง[[ราชบัณฑิตยสภา]] โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์อักษรไทยสมบูรณ์ ชื่อว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” เป็นต้น
 
สำหรับชีวิตส่วนพระองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] (หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดา แต่ทรงมีพระราชโอรสบุญธรรม คือ [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต]]
 
== พระราชประวัติ ==
บรรทัด 125:
=== ด้านการปกครอง ===
[[ไฟล์:Prajadhipok's coronation records - 001.jpg|thumb|250px|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475]]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน<ref>ส. พลายน้อย, หน้า 95</ref> ซึ่ง[[หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล]] มีดำรัสถึงเรื่องนี้ว่า ''"ส่วนพระเจ้าอยู่หัวเองนั้น [พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว] ทรงรู้สึกยิ่งขึ้นทุกทีว่าการปกครองบ้านเมืองในสมัยเช่นนี้ เป็นการเหลือกำลังของพระองค์ที่จะทรงรับผิดชอบได้โดยลำพังแต่ผู้เดียว พระองค์ทรงรู้ดีว่า ทรงอ่อนทั้งในทาง physical และ mental จึงทรงมีพระราชปรารถนาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ช่วยกันรับผิดชอบให้เต็มที่อยู่เสมอ"''<ref>ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล, หน้า 99</ref>
 
แต่ก็เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดย[[คณะราษฎร]] ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ<ref name="สละราช1"/><ref name="สละราช2"/>และเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมาย[[รัฐธรรมนูญ]]ที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน
บรรทัด 134:
มีพระราชดำริให้จัดระเบียบการปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงานต่าง ๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาล ขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์เนื่องจากเกิด[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
 
ทว่า ยังมีมุมมองที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหาได้เป็น "กษัตริย์ประชาธิปไตย" ดังที่ทรงได้รับยกย่องไม่ ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์ เขียนว่า พระองค์ทรงรับรู้ทั้งสนับสนุน "[[กบฎบวรเดช|คณะกู้บ้านกู้เมือง]]" ซึ่งหวังปราบปรามคณะราษฎร และทรงมีพระราชดำรัส "ประเทศนี้พร้อมแล้วหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน… ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่" ทั้งทรงขัดขวางเค้าโครงการเศรษฐกิจปี 2475 ของ[[ปรีดี พนมยงค์]] ซึ่งหวังสร้าง[[รัฐสวัสดิการ]] เป็นต้น<ref>ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 : การปฏิวัติที่ถูกนิยามใหม่ The Changing of the ruling in 1932 : The new definition revolution. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 31 ฉบับที่ 3. หน้า 43.</ref>
 
=== ด้านการศาสนา การศึกษา ประเพณีและวัฒนธรรม ===
บรรทัด 195:
 
; พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวจังหวัดจันทบุรีและวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551 <ref>{{cite web |year= |url= http://www.pnc.ac.th/html/miniblock_1.php |title= พิพิธภัณฑ์สถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ |work= วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี |publisher= |accessdate=22 มิถุนายน พ.ศ. 2557}}</ref>
 
== พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ ==