ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sasakubo (คุย | ส่วนร่วม)
ประโยคซ้ำซ้อน
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519''' เป็นการ[[รัฐประหาร]]ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นใน[[ประเทศไทย]] เกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/1.PDF แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง)]</ref> อันเนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[ท่าพระจันทร์]] ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]] รัฐบาลพลเรือนโดย [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]และรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงกลาโหม]] ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและ[[รายนามอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ|อธิบดีกรมตำรวจ]] นำโดย พลเรือเอก[[สงัด ชลออยู่]] ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า '''คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน'''
 
โดยคณะนายทหารได้เชิญ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไปปรึกษาหารือที่[[กองบัญชาการทหารสูงสุด]]ที่[[สนามเสือป่า]] รวมทั้งได้ร่วมรับประทาน[[โต๊ะจีน]]และพักค้างคืนด้วยกัน จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันที่ [[7 ตุลาคม]] ม.ร.ว.เสนีย์จึงลากลับไป
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ออกประกาศคณะปฏิรูปออกมาหลายฉบับ โดยมากมีเนื้อหาควบคุมเพื่อสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย โดยประกาศฉบับหนึ่งที่ความสำคัญคือ ประกาศฉบับที่ 5 ที่ว่าด้วยการควบคุมสื่อมิให้เผยแพร่ภาพและเนื้อหาที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเวลา 3 วัน คือตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม - [[9 ตุลาคม]] ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]]จนบัดนี้ที่[[หนังสือพิมพ์]]หลายฉบับถูกห้ามตีพิมพ์และจัดจำหน่าย และประกาศคณะปฏิรูปฉบับนี้ได้ครอบคลุมรวมถึงสื่อทุกสื่อรวมถึง[[โทรทัศน์]]ด้วย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/A/120/15.PDF คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5] (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ คำสั่งให้สื่อมวลชนอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน)</ref>
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งให้ นาย[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ขึ้นดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] โดยนายทหารในคณะปฏิรูปการปกครองได้เปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็น '''สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน''' มีสมาชิก 340 คน ทำหน้าที่เหมือนรัฐสภาและฝ่ายนิติบัญญัติ ให้การสนับสนุนรัฐบาลนายธานินทร์ โดยที่คณะรัฐบาลนายรัฐมนตรีธานินทร์มีคณะรัฐมนตรีเพียง 17 คนเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้แก่ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นั่นเอง ซึ่งนายธานินทร์ได้ให้สัมภาษณ์[[สื่อมวลชน]]ต่อมาว่า รัฐบาลเสมือน[[หอย]]ที่อยู่ในเปลือก โดยมีนัยถึงเป็นรัฐบาลที่มีคณะนายทหารคอยให้ความคุ้มกัน จึงได้รับฉายาว่า '''รัฐบาลหอย'''
 
รัฐบาลคณะนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินนโยบายทางการเมืองอย่างขวาตกขอบ มีการจับกุมและทำร้ายผู้ที่สงสัยว่าอาจกระทำการเป็น[[คอมมิวนิสต์]]อย่างรุนแรง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 มาตราที่ 21 จึงทำให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุด
 
แต่ทว่า การดำเนินงานของคณะรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ประสบกับปัญหาตลอด ทั้งเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยคอมมิวนิสต์ และปัญหาภายในรัฐบาลเอง เช่น การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นไปด้วยความล่าช้าอีกทั้งบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ออกมามีแผนพัฒนา[[ประชาธิปไตย]]นานถึง 3 ขั้น กินเวลา 12 ปี ไม่ทันการกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ การเกิดเหตุการณ์[[กบฏ 26 มีนาคม 2520 |กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520]] โดย พลเอก [[ฉลาด หิรัญศิริ]] การปราบปรามผู้ที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้น จนหลายครั้งปราศจากการตรวจสอบ ส่งผลให้มีนักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมากที่มีความคิดทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลต้องหลบหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] (พคท.) สถานการณ์ของประเทศเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินชุดเดิมที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ จึงกระทำการ[[รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520|รัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520]] และแต่งตั้ง พล.อ.[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน สถานการณ์ต่าง ๆ จึงเริ่มคลี่คลาย เมื่อรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม กลุ่มนักศึกษาปัญญาชนที่หลบหนีเข้าป่า จึงเริ่มทยอยกลับคืนสู่เมืองอีกครั้ง
 
อนึ่ง ในวันรัฐประหารเมื่อคืนวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้บันทึกไว้ในหนังสือชีวลิขิต ซึ่งเป็นหนังสืออัตชีวประวัติของท่าน ได้บอกว่า คณะปฏิรูป ฯ จะให้ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่ท่านตอบปฏิเสธ จึงได้ขอให้ท่านรับเป็นหัวหน้าในการรัฐประหารครั้งนี้ ซึ่งท่านก็ตอบปฏิเสธอีก พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้บอกกับท่านว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำการยึดอำนาจ ไม่เช่นนั้นทหารอีกกลุ่มจะทำการในเวลา 04.00 น. ของวันที่ [[7 ตุลาคม]] ซึ่ง ม.ร.ว.เสนีย์ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคณะของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ อีกทั้งก่อนหน้านั้น พล.ร.อ.สงัดได้เคยเตือนท่านมาครั้งหนึ่งว่า ทหารจะกระทำการรัฐประหารและมีผู้ชักชวนท่านให้ทำการด้วย อีกทั้งท่านยังสงสัยในพฤติกรรมของบุคคลร่วมรัฐบาลบางคน ในการประชุมสถานการณ์ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม ที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] เนื่องจากเข้า ๆ ออก ๆ ที่ประชุมตลอด ว่าอาจรู้เห็นเป็นใจกับกลุ่มบุคคลที่เข้าทำร้ายกลุ่มนักศึกษาผู้ชุมนุมหรือรู้เห็นเป็นใจกับคณะนายทหารอีกคณะหนึ่งที่ พล.ร.อ.สงัดอ้างว่าจะทำการรัฐประหาร (ในหนังสือ ม.ร.ว.เสนีย์ ระบุว่าเป็นสมาชิก[[พรรคชาติไทย]] อันได้แก่ พล.ต.อ.[[ประมาณ อดิเรกสาร]] และ พล.ต.[[ชาติชาย ชุณหะวัณ]])<ref name="ชีวลิขิต">{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
|ชื่อหนังสือ=ชีวลิขิต
บรรทัด 23:
}}
</ref>
 
 
=== เจตนาและความทารุณโหดร้าย ===
[[ไฟล์:CoverinThammasat.jpg|300px|thumbnail|เหล่าทหารกำลังบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
ในวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลาประมาณ 7.30 ตำรวจไทยโดยคำสั่งของรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยิงไม่เลือกหน้า และมีกำลังของคณะกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพลเสริม บ้างก็เข้าไปในมหาวิทยาลัยกับตำรวจ บ้างก็ล้อมมหาวิทยาลัยอยู่ข้างนอกเพื่อทำร้ายผู้ที่หนีตำรวจออกมาจากมหาวิทยาลัย ผู้ที่ถูกยิงตายหรือบาดเจ็บก็ตายไป บาดเจ็บไป คนที่หนีออกมาข้างนอกไม่ว่าจะบาดเจ็บหรือไม่ ต้องเสี่ยงกับความทารุณโหดร้ายอย่างยิ่ง บางคนคนถูกแขวนคอ บางคนถูกราดน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น คนเป็นอันมากก็ถูกซ้อม ปรากฏตามข่าวทางการว่าตายไป 40 กว่าคน แต่ข่าวที่ไม่ใช่ทางการว่าตายกว่าร้อยและบาดเจ็บหลายร้อย
 
ผู้ที่ยอมให้ตำรวจจับแต่โดยดีมีอยู่หลายพันคน เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายมหาวิทยาลัย เป็นประชาชนธรรมดาก็มี เป็นเจ้าหน้าที่และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งได้รับคำสั่งให้เฝ้าดูอาคารสถานที่ และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยก็มิใช่น้อย
 
เมื่อนำเอาผู้ต้องหาทั้งหลายไปยังสถานีตำรวจ และที่คุมขังอื่น มีหลายคนที่ถูกตำรวจซ้อมและทรมานด้วยวิธีต่างๆ บางคนถูกทรมานจนต้องให้การตามที่ตำรวจต้องการจะให้ให้การและซัดทอดถึงผู้อื่น
 
เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษาและประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่มานานแล้ว ในตุลาคม 2516 เมื่อมีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่าถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคน บ้านเมืองจะสงบราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่า "สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์" และกิตติวุฑโฒ นวพลภิกขุยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป ถึงแม้ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2519 เอง ก็ยังมีผู้กล่าวว่า การฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพล ถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คนก็เป็นการลงทุนที่ถูก
 
ผู้ที่ได้สูญเสียอำนาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประธิปไตยตนจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนด้วยวิธีต่างๆ ทางวิทยุและโทรทัศน์ทางหนังสือพิมพ์ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือกัน ทางบัตร สนเท่ห์ ทางจดหมายซึ่งเป็นบัตรสนเท่ห์ขู่เข็ญต่างๆ และได้ก่อตั้งหน่วยต่างๆ เป็นเรื่องซึ่งจะได้กล่าวถึงในข้อ 20 และข้อต่อๆไป
 
วิธีการของบุคคลกลุ่มเหล่านี้คือใช้การปลุกฝีคอมมิวนิสต์โดยทั่วไปถ้าไม่ชอบใครก็ป้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แม้แต่นายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์หรือเสนีย์ หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไม่เว้นจากการถูกป้ายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอ้างถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการป้ายสี ถ้าใครเป็นปรปักษ์ก็แปลว่าไม่รักชาติ ศาสนา พระมาหากษัตริย์
 
ในกรณีของเดือนกันยายน-ตุลาคม 2519 เมื่อจอมพล ถนอม กิตติขจร เข้ามาในประเทศไทย ก็อาศัยกาสาวพัสตร์ คือศาสนาเป็นเครื่องกำบัง และในการโจมตีนักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นข้ออ้าง<ref> สารคดีฉบับพิเศษ: ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 2459-2543, หน้า 197-207</ref>
 
=== การแขวนคอ ===
[[ไฟล์:ละคร6ตุลา 01.JPG|thumbnail|ภาพการแขวนคอแสดงการจำลองที่หน้าลานม.ธรรมศาสตร์ที่ถูกหนังสือพิมพ์ดาวสยามปลุกแต่งว่าหน้าเหมือนเจ้าฟ้าชาย มกุฎราชกุมาร]]
จอมพลถนอมเข้าประเทศไทยเมื่อ 19 กันยายน นักศึกษา กรรมกร ชาวไร่ชาวนา ประชาชนทั่วไปมีการประท้วง แต่การประท้วงคราวนี้ผิดกับคราวก่อนๆ ไม่เหมือนแม้แต่เมื่อคราวจอมพลประภาส จารุเสถียร เข้ามา คือกลุ่มผู้ประท้วงแสดงว่าจะให้โอกาสแก่รัฐบาลประชาธิปไตยแก้ปัญหา จะเป็นโดยให้จอมพลถนอมออกจากประเทศไทยไปหรือจะจัดการกับจอมพลถนอมทางกฎหมาย ในระหว่างนั้นก็ได้มีการปิดประกาศในที่สาธารณะต่างๆ เพี่อประณามจอมพล ถนอม และได้มีการชุมนุมกันเป็นครั้งคราว (จนกระทั่งวันที่ 4 ตุลาคม)
 
การปิดประกาศประท้วงจอมพลถนอมนั้น ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อนักศึกษาประชาชน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 คน และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 คน ถูกทำร้ายในการนี้ บางคนถึงสาหัส
 
ที่นครปฐม พนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 คน ออกไปปิดประกาศประท้วงจอมพลถนอม ได้ถูกคนร้ายฆ่าตาย และนำไปแขวนคอไว้ในที่สาธารณะ ต่อมารัฐบาลยอมรับว่าคนร้ายนั้นคือตำรวจนครปฐมนั่นเอง
 
ในการประท้วงการกลับมาของจอมพลถนอมนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาได้รับความร่วมมือจาก "วีรชน 14 ตุลาคม 2516" คือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกันในตุลาคม 2516 (บางคนก็พิการตลอดชีวิต) และญาติของ "วีรชน" นั้นๆ ญาติของวีรชนทำการประท้วงโดยนั้งอดอาหารที่ทำเนียบรัฐบาลในราวต้นเดือนตุลาคม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่ทำเนียบพยายามขัดขวางด้วยวิธีต่างๆ ในวันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม ด้วยความร่วมมือของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชุมนุมพุทธศาสตร์ประเพณี ญาติวีรชนจึงได้ย้ายมาทำการประท้วงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริเวณลานโพ ในวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยคาดว่าคงจะมีการก่อฝูงชนขึ้นที่นั้น เป็นอุปสรรคต่อการสอบของนักศึกษา จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ ขอให้รัฐบาลจัดหาที่ที่ปลอดภัยให้ผู้ประท้วงประท้วงได้โดยสงบและปลอดภัย
 
ในเที่ยงวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคมนั้นเอง เหตุการณ์ก็เป็นไปอย่างคาด คือ ได้เกิดการชุมนุมกันขึ้น มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนประชาชนไปชุมนุมกันที่ลานโพ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประมาณ 500 คน ได้มีการอภิปรายกันถึง เรื่องจอมพลถนอม เรื่องการฆ่าพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่นครปฐม และได้มีการแสดงการจับพนักงานการไฟฟ้านั้นแขวนคอโดยนักศึกษา 2 คน คนหนึ่งชื่ออภินันท์เป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปีที่ 2 และเป็นสมาชิกชุมนุมการละคร แสดงเป็นผู้ที่ถูกแขวนคอ
 
จากปากคำของอาจารย์หลายคนที่ได้ไปดูการชุมนุมกันในเที่ยงวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคมนั้น ผู้แสดงได้ดีมาก ไม่มีอาจารย์ผู้ใดที่ไปเห็นแล้วจะสะดุดใจว่าอภินันท์แต่งหน้า หรือมีใบหน้าเหมือนเจ้าฟ้าชาย มกุฎราชกุมาร เป็นการแสดงโดยเจตนาจะกล่าวถึงเรื่องที่นครปฐมโดยแท้
 
เมื่ออธิการบดีลงไประงับการชุมนุมนั้น เป็นเวลาเกือบ 14 น. แล้ว การแสดงเรื่องแขวนคอนั้นเลิกไปแล้ว ก่อนหน้านั้นมีการประชุมคณะบดีจนเกือบ 13 น. อธิการบดีรับประทานอาหารกลางวันที่ตึกเศรษฐศาสตร์ราวๆ 13 น. ถึง 13.30น. พอกลับจากตึกเศรษฐศาสตร์จะไปห้องอธิการบดีเห็นว่ามีการชุมนุมกัน เป็นอุปสรรคต่อการสอบไล่ของนักศึกษาจึงได้ไปห้าม
 
รุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ต่างๆหลายฉบับได้ลงรูปถ่ายการชุมนุมและการแสดงแขวนคอนั้น จากรูปหนังสือต่างๆเห็นว่านายอภินันท์นั้นหน้าตาละม้ายมกุฎราชกุมารมากแต่ไม่เหมือนทีเดียว แต่ในภาพของหนังสือพิมพ์ ดาวสยาม (ซึ่งเป็นปรปักษ์กับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาตลอดมา) รูปเหมือนมาก จนกระทั่งมีผู้สงสัยว่า ดาวสยาม จะได้จงใจแต่งรูปให้เหมือน
 
เรื่องนี้สถานีวิทยุยานเกราะ (ซึ่งก็เป็นปรปักษ์กับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา และเคยเป็นผู้บอกบทให้หน่วยกระทิงแดงโจมตีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยอาวุธและลูกระเบิด เมื่อสิงหาคม 2519) ก็เลยนำเอามาเป็นเรื่องสำคัญ กล่าวหาว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ เจตนาจะทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้พยายามแต่งหน้านักศึกษาให้เหมือนมกุฎราชกุมารแล้วนำไปแขวนคอ ในการกระจายเสียงของยานเกราะนั้น ได้มีการยั่วยุให้ฆ่านักศึกษาที่ชุมนุมกันอยู่ในธรรมศาสตร์นั้นเสีย ยานเกราะได้เริ่มโจมตีเรื่องนี้เวลาประมาณ 18 น. ในวันอังคารที่ 5 ตุลาคม และได้กระจายเสียงติดต่อกันมาทั้งคืนวันอังคารต่อเนื่องถึงเช้าวันพุธที่ 6 ตุลาคม<ref>[http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/octtext/Oct6.htm ความรุนแรงรัฐประหาร 6 ตุลา 19]</ref>
 
== อ้างอิง ==