ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุชีพ ปุญญานุภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด [[13 เมษายน]] [[พ.ศ. 2460]] ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา ([[อำเภอบางเลน]] ในปัจจุบัน) [[จังหวัดนครปฐม]] ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลีของท่านคือ "สุชีโว" (ผู้มีชีวิตที่ดี) ซึ่ง[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)]] [[พระอุปัชฌาย์]]ของท่านได้ตั้งให้เพื่อเป็นสิริมงคล
 
อาจารย์สุชีพสร้างลูกศิษย์ผู้ชำนาญทางพระพุทธศาสนามากมายทั่วประเทศ ทั้งพระทั้งฆราวาส ศิษยานุศิษย์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับชั้นต่างๆต่าง ๆ ของสังคม อาทิ [[พระเทพดิลกธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ)]], [[พระศรีราชญาณโสภณกวี (ปิยโสภณสุวิทย์ ปิยวิชฺโช)]], พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) รักษาการอธิการบดี [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]], [[พระดร.ศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)]], [[รศ.ดร. [[สุภัทร ปัญญาทีป]], [[รศ. [[สุวรรณ เพชรนิล]], [[วศิน อินทสระ]], ศ. [[แสง จันทร์งาม]] (หรือ [[ธรรมโฆษ]]), รศ.ดร. [[สุนทร ณ รังษี]], [[เสถียร โพธินันทะ]], [[สุเชาวน์ พลอยชุม]] ฯลฯ รวมทั้งเจ้าอาวาสวัดหลายแห่งทั่วประเทศไทย จากความพยายามในการพัฒนาการศึกษาสงฆ์จนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของท่าน
 
==การศึกษา==
บรรทัด 34:
*ศน.ด (กิตติมศักดิ์) [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]]
 
ท่านสำเร็จการศึกษาเปรียญ 9 ประโยค [[วัดกันตมาตุยาราม]] ซึ่งขึ้นกับสำนักเรียน [[วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร]] อย่างไรก็ดี แม้ว่าท่านจะจบเพียงเปรียญ ๙ ประโยค แต่ท่านก็มีวิริยะอุตสาหะเรียนรู้วิชาสมัยใหม่อื่นๆ ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงชำนาญหลายๆ วิชา อาทิ [[ภาษาอังกฤษ]] [[โหราศาสตร์]] [[ดาราศาสตร์]] [[ภาษาสันสกฤต]] และ [[ภาษาปรากฤต]] ท่านสามารถค้น[[วรรณคดี]]และ[[พจนานุกรม]]ภาษาเหล่านี้ได้อย่างละเอียด สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น ท่านเป็นศิษย์ของ [[พระสารประเสริฐ]] (ตรี นาคะประทีป) ตอนหลัง ท่านได้[[ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์]] จาก [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]และ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพเคยให้สัมภาษณ์ว่าบุคคลในพระพุทธศาสนาในอุดมคติที่ท่านถือเป็นแบบในการพัฒนาตนเป็นนัก
วิชาการทางพระพุทธศาสนาคือ [[พระวชิรญาโณ ภิกฺขุ]] ([[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]])และ และ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ท่านเคยให้เหตุผลว่าสองท่านนี้เป็นคนไทยรุ่นบุกเบิกที่ประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยโดยนำเอาวิชาการสมัยใหม่มาใช้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยโดยนำเอาวิชาการสมัยใหม่มาใช้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
 
อาจารย์สุชีพอยู่ในเพศพระ[[ภิกษุ]]จนได้ตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ ‘พระศรีวิสุทธิญาณ’ สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุนั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ไม่มีใครยุคนั้นเทียบได้ ต่อมาได้ลาสิกขาสู่เพศฆราวาส ระหว่างที่ท่านลาสิกขาเมื่ออายุ 35 ปี มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากร้องไห้เพราะความเสียดาย หลังจากสึกหาลาเพศแล้ว ท่านเช่าห้องพักที่ถนนข้าวสาร [[บางลำภู]] ก่อนจะย้ายไปปลูกบ้านหลังใหม่บริเวณ[[ถนนสุขุมวิท]]
เส้น 50 ⟶ 49:
คำว่า '''บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย''' เพื่อยกย่องอาจารย์สุชีพนี้ดร.ปฐมพงษ์ริเริ่มนำมาใช้ในบทความชื่อ '''Sujib Punyanubhab: His Life and Work''' เป็นบทความขนาดยาว รวมอยู่ในหนังสือ '''Buddhist Unity in the Globalisation Age''' ซึ่ง [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาได้จัดพิมพ์เมื่อคราวจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลกนั่นเอง บทความดังกล่าวเชิญชวนให้บรรดาชาวพุทธระดับผู้นำซึ่งมาประชุมพร้อมกันได้รับรู้ถึงคุณูปการที่ท่านอาจารย์[[สุชีพ ปุญญานุภาพ]] ได้กระทำต่อพระพุทธศาสนาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ กล่าวคือสมัยศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงที่วัฒนธรรมวัตถุนิยมใหลบ่าเข้าสู่ประเทศไทยมาก ประชาชนทั่วประเทศกำลังเบนเข็มไปพัฒนาประเทศในแนววัตถุนิยม หลงลืมพระพุทธศาสนา หลายคนพูดไทยปนฝรั่ง ในขณะที่พระสงฆ์ก็เทศน์คำไทยปนคำบาลีสันสกฤต ไม่มีความรู้ในวิชาการทางโลกพอจะเข้าใจชาวบ้าน พระสงฆ์ถูกมองว่าเป็นพวกไดโนเสาร์ของประเทศ การศึกษาของสงฆ์ไม่สัมพันธ์กับสังคมที่เปลี่ยนไป ฯลฯ
 
เมื่อสังคมมีแนวโน้มที่จะเชื่ออย่างนี้ สุชีโว ภิกฺขุ (หรือ อาจารย์ [[สุชีพ ปุญญานุภาพ]] ) ได้พยายามรื้อฟื้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] ซึ่งสถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ถูกยุบไปใหม่ แรกเริ่มท่าน ได้เปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนาแนวประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ที่วัดกันตมาตุยาราม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเยาวราช ให้แก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา หลังจากนั้น พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ ป.ธ.๖) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารได้นิมนต์ท่านให้มาใช้สถานที่ของวัดบวรนิเวศวิหารเพื่อเปิดสอนให้เป็นกิจจะลักษณะในรูปวิทยาลัย พร้อมทั้งแนะให้รื้อฟื้น [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] ด้วย
ท่านสุชีโว ภิกขุจึงพาลูกศิษย์ที่สนใจเรียนด้วยมาเปิดเรียนที่ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] โดยใช้อาคารตึก [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] เป็นสถานที่เรียน พระสงฆ์สามเณรที่สนใจประยุกต์หลัก [[พุทธธรรม]] ก็พากันมาเรียนกับท่านสุชีโว ภิกขุเป็นจำนวนมาก แต่พอมีข่าวว่าท่านสุชีโว ภิกขุจะรื้อฟื้นวิทยาลัยสงฆ์แล้วเปิดการสอนในรูปแบบมหาวิทยาลัย ปรากฏว่าบรรดาพระเถรานุเถระระดับเจ้าอาวาสวัดทั่วประเทศจำนวนมากต่อต้าน บอกว่าวิชาสมัยใหม่เป็นเดรัจฉานวิชา ขณะเดียวกัน ก็พากันห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรในวัดออกไปร่วมกิจกรรมกับสุชีโว ภิกขุ พระเถระผู้ใหญ่หลายท่านอ้างว่าการไปเรียนวิชาสมัยใหม่จะทำให้พระสงฆ์สามเณรสึกหาลาเพศกันมากขึ้น ทำให้จำนวนพระภิกษุสามเณรลดลง ตัวท่านเองเป็นเป้าของการติฉินนินทานานัปประการ ถูกมองว่าจะนำความเสื่อมเสียมาสู่พระพุทธศาสนาก็มี
 
สุชีโว ภิกขุจึงพยายามอย่างหนักที่จะทำความเข้าใจ กับพระสงฆ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีจำนวนน้อยมากที่เห็นด้วย ขณะเดียวกัน ก็พยายามบรรยายและปาฐกถาให้บรรดาข้าราชการไทยที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เห็นคุณค่า แต่กระแสสังคมในสมัยนั้น คล้อยตามพระเถรานุเถระผู้ใหญ่สูงมาก แนวคิดของท่านจึงถูกต่อต้านหลังจากพยายามอยู่หลายปี ในที่สุด ท่านสุชีโว ภิกขุจึงเข้าไปกราบทูล [[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]] เป็นส่วนตัว โดยมี พระมหาเจริญ สุวฑฺฒโน วัดบวรนิเวศวิหาร (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกัน ช่วยอธิบายให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ฟังด้วย สุชีโว ภิกขุได้อธิบายว่า
 
# พระสงฆ์ที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ล้วนแต่หนักแน่นในพระพุทธศาสนาเพราะต่างได้เปรียญสูงๆ กันมาแล้ว การเปิดมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาจะช่วยให้พระสงฆ์ได้มีความรู้ในการประยุกต์หลัก [[พุทธธรรม]] ให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่
เส้น 89 ⟶ 88:
{{เกิดปี|2460}}
{{ตายปี|2543}}
[[หมวดหมู่:พระราชาคณะชั้นสามัญ]]
[[หมวดหมู่:ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธ]]
[[หมวดหมู่:นักวิชาการชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:เปรียญธรรม 9 ประโยค]]
[[หมวดหมู่:นักวิชาการชาวไทย]]