ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรทัดฐานทางสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางไปที่ บรรทัดฐาน
 
FES-GCMD (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางไม่ถูกต้อง เพิ่มยูอาร์แอล wikipedia.org
บรรทัด 1:
#REDIRECT[[บรรทัดฐาน]]
'''บรรทัดฐานทางสังคม''' นิยาม บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึง กฎระเบียบ แบบแผน หรือข้อบังคับที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตามของสมาชิกในสังคม โดยเป้าหมายของบรรทัดฐานทางสังคมคือการทำให้สมาชิกทั้งหลายในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขและสมาชิกใหม่ของสังคมสามารถเห็นมาตรฐานหรือเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมใช้ร่วมกัน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมให้ได้ ที่มา ในทางทฤษฏี บรรทัดฐานทางสังคมเป็นเสมือนกฎระเบียบของธรรมเนียมปฏิบัติ (customary rules) ที่ทำการควบคุมการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์เอาไว้ โดยแต่ละสังคมที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปก็จะส่งผลให้บรรทัดฐานทางสังคมมีความแตกต่างกันออกไปและเมื่อวัฒนธรรมมีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบรรทัดฐานทางสังคมด้วย บรรทัดฐานทางสังคมจึงเป็นแบบแผนในการกำหนดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมว่าควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร นอกจากนี้ บรรทัดฐานทางสังคมยังเป็นหน้าที่ทางสังคม (social functions) ในการกำหนดว่าสมาชิกคนหนึ่งในสังคมจะมีสถานภาพอะไรและต้องมีบทบาทในการทำหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายตามสถานภาพอย่างไร และเมื่อสมาชิกในสังคมคนใดคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ ซึ่งในทางวิชาการจะพบว่าการศึกษาบรรทัดฐานทางสังคมจะอยู่ในกรอบคิดของสังคมวิทยา เช่น งานของเดอร์ไคหม์ (Durkheim,1950) และ พาร์สันส์ (Parsons, 1951) การใช้คำว่าบรรทัดฐานในทางปฏิบัติระดับสากลพบว่า บรรทัดฐานเป็นเสมือนแบบแผนในการปฏิบัติเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมโลก ทั้งแบบเป็นทางการหรือมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การออกกฎหมาย หรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เป็นต้น และแบบที่ไม่เป็นทางการหรือไม่มีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น มารยาททางสังคม หรือศีลธรรม เป็นต้น โดยในเว็บไซต์วิกิพีเดีย (Wikipedia) ได้ให้ตัวอย่างของบรรทัดฐานทางสังคมระดับโลกไว้ เช่น การจับมือกันหลังจากการแข่งขันกีฬาเสร็จสิ้นถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของบรรทัดฐานทางสังคม เป็นต้น ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย สำหรับการนิยามคำว่าบรรทัดฐานในสังคมไทย พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2532: 353) ได้ให้ความหมายไว้ว่า บรรทัดฐานทางสังคม คือ แนวทางหรือวิถีทางของการกระทำหรือความประพฤติเฉพาะอย่าง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทางสังคมตามความคาดหมายของกลุ่ม หรือตามค่านิยมของสังคมนั้นๆ โดยในที่นี้บรรทัดฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้ดังนี้ วิถีประชา (folkways) คือ แนวทางการปฏิบัติที่ถูกทำมาอย่างเคยชินในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีลักษณะที่บังคับ แต่ถ้าทำผิดก็อาจจะทำให้มีปัญหาในการเข้ากับสังคมได้ จารีต (mores) คือ หลักทางศีลธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกผูกโยงกับหลักศาสนา เป็นแนวทางปฏิบัติของกลุ่มที่มีความศรัทธาในความเชื่อทางศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจจะถูกลงโทษทางศีลธรรม ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในโลกหน้า หรืออาจถูกลงโทษทางสังคม กฎหมาย (law) คือ หลักการปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติที่ถูกสร้างขึ้นจากมนุษย์ เป็นแบบแผนที่เป็นทางการและมีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เพื่อบังคับคนในสังคม มีความเข้มข้นในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์สูงสุด ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี การนิยามที่อ้างอิงกับหลักศาสนามากเกินไป นำมาสู่ปัญหาในทางปฏิบัติที่เห็นว่าบรรทัดฐานทางสังคมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ จึง “หยุดนิ่ง” ไม่เปลี่ยนแปลง และต้องเป็นเช่นนั้นเสมอ เช่น การที่มีคนออกมาเรียกร้องให้มีการทำแท้งเสรี ก็จะมีผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคมไทย โดยจากเว็บไซต์ http://talk.mthai.com/ topic/ 138464 ที่เห็นว่าการส่งเสริมให้มีการทำแท้งเสรีเป็นพวกกิเลสนิยม เป็นต้น ความเข้าใจเช่นนี้ถือว่าผิดจากหลักการสากลอย่างสิ้นเชิง เพราะบรรทัดฐานทางสังคมมาจากวัฒนธรรมในสังคมที่มีการเรียนรู้ระหว่างกันและสามารถเปลี่ยนแปลงและผสมผสานกันได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลา และเจตจำนงของสังคม (โปรดดู Cultural Relativism) โดยการใช้เวลาเรียนรู้ระหว่างกันอย่างยาวนาน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้ในชั่วข้ามคืน แต่ก็ไม่ใช่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม คำว่าบรรทัดฐานทางสังคม เป็นแนวทางหรือหลักการร่วมกันของสมาชิกในสังคมที่จะต้องปฏิบัติต่อกันในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่ การเรียนรู้ซึ่งกันและกันจึงเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ประเด็นสำคัญจึงคือบรรทัดฐานมีพลวัตในตัวเองที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ไม่ใช่การยึดติดกับบรรทัดฐานเดิมๆ แล้วอ้าวว่าสิ่งเก่าดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน การกระทำเช่นนั้นรังแต่จะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากขึ้น และระเบียบสังคมก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดูเพิ่มใน ‘Social Contract’ และ ‘Cultural Relativism’ เอกสารอ้างอิง พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 2532. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. “เสียงคนวงนอก: “ทำแท้งเสรี” กับการรุกคืบของกิเลสนิยม”. ใน http://talk.mthai.com/topic/ 138464. เข้าถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2554. Durkheim, Emile. 1950. The Rules of Sociological Method. Glencoe, IL: The Free Press. Parsons, Tacott. 1951. The Social System. New York: Routledge. “Social Norm”. from http://en.wikipedia.org/wiki/Norm(social). Accessed August 8, 2012. Transparency ความโปร่งใส นิยาม ความโปร่งใส (ทางการเมือง) (Political Transparency) หมายถึง ความสามารถของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่จะเข้าถึง และอภิปรายเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เอกสาร และข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินนโยบายสาธารณะ การใช้อำนาจบริหารประเทศของรัฐบาลและทางราชการ ตลอดจนการแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และในระบบราชการ โดยที่มาของคำว่าความโปร่งใสนี้มาจากความหมายในทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่นำไปใช้อธิบายคุณลักษณะของวัตถุที่มีคุณสมบัติ “โปร่งใส” คือ วัตถุที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านผิวของวัตถุทำให้สามารถมองทะลุพื้นผิวของวัตถุได้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายในเชิงการเมืองยังมีความหมายที่ลึกกว่าแค่เพียงการมองเห็นการทำงานของรัฐบาล และราชการ แต่ยังรวมถึงการที่ประชาชนสามารถเข้าใจ มีส่วนร่วม และควบคุมตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้อีกด้วย (Kurian, 2011: 1686) ที่มา ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ที่หัวใจของการรักษาอำนาจทางการเมืองการปกครองนั้นอยู่ที่การครอบครองข้อมูลข่าวสาร ซึ่งข้อมูลในที่นี้นั้นมีหมายความรวมถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ด้วยเหตุนี้ในสมัยโรมันจึงเป็นยุคที่ห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน เนื่องจากเป็นความรู้เกี่ยวกับกลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐ (บวรศักดิ์, 2554: 5-6) ดังนั้น ด้วยความที่ผู้ปกครองตั้งแต่สมัยโบราณใช้อำนาจปกครองโดยที่ผู้ใต้ปกครองไม่สามารถเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของรัฐบาล ผู้ปกครองจึงไม่จำเป็นจะต้องได้รับความนิยมชมชอบ (popularity) หรือ ความยินยอมพร้อมใจจากผู้ใต้ปกครอง แต่จะปกครองด้วยความกลัว (ของผู้ถูกปกครอง) และความรุนแรงแทนนั่นเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังจากการเกิดสงครามกลางเมืองในอังกฤษ (ค.ศ. 1642-1649) ที่ได้ทำให้ประชาชน หรือ ผู้ถูกปกครองต่างตระหนักในความจำเป็นของความโปร่งใสทางการเมือง หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ศักยภาพในการตรวจสอบรัฐบาลไม่ว่าจะโดยรัฐสภา หรือ โดยประชาชน ซึ่งจิตวิญญาณของหลักการดังกล่าวนี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) พร้อมๆ กันกับการเกิดลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม (โปรดดู Constitutionalism) ที่ในทางกฎหมายมหาชน แนวความคิดความโปร่งใสของรัฐบาลในช่วงสงครามกลางเมืองของอังกฤษได้นำไปสู่การวางกลไกทางสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า “การตรวจสอบถ่วงดุล” (checks and balances) ที่ซ้อนอยู่ในหลักการแบ่งแยกอำนาจ (separation of powers) ของทั้งสหรัฐเมริกา และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนหลักการความโปร่งใสทางการเมืองที่ได้รับอิทธิพลมาจากกลไกทางระบบรัฐสภาของอังกฤษที่ซึ่งฝ่ายบริหารนั้นจะต้องถูกตรวจสอบการทำงานโดยฝ่ายนิติบัญญัติอยู่เสมอ (Wormuth, 1949: 72) ดังนั้น กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลของทั้งสามอำนาจนอกจากจะเป็นการทำให้แต่ละฝ่ายจะต้องทำงานอย่างเปิดเผยเพราะจะถูกตรวจสอบจากอีก 2 อำนาจแล้วยังจะต้องเปิดเผยให้ประชาชนซึ่งเป็นแหล่งที่มาอันชอบธรรมของอำนาจทางการเมืองได้รับรู้อีกด้วย (โปรดดู Popular Sovereignty) ทว่าในการปกครองสมัยใหม่ ยังคงมีพื้นที่ที่เรียกว่า “ความลับของทางการ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ยังเป็นข้อยกเว้นของหลักความโปร่งใสทางการเมือง เนื่องจากบางครั้งการปกครองนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยความลับในการดำเนินการต่างๆ ที่ยังไม่อาจเปิดเผยให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบได้จนกว่าจะถึงเวลา ด้วยเหตุผลสำคัญหลายๆ ประการตั้งแต่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยไปจนถึงเพื่อผลประโยชน์แห่งรัฐ ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการที่พนักงานสอบสวนไม่อาจเปิดเผยข้อเท็จจริงให้สื่อทราบได้เพราะจะเป็นการทำให้สูญเสียรูปคดีไป ด้วยเหตุนี้ทุกๆ รัฐบาลในโลกสมัยใหม่จึงยังคงสงวนพื้นที่ที่เรียกว่า “ความลับของทางการ” เอาไว้ไม่มากก็น้อย ทว่าบางครั้งฝ่ายผู้ปกครอง หรือ รัฐบาลเองก็ใช้ข้ออ้างเรื่องความลับของทางการมากีดกัน และขัดขวางประชาชน ในการรับรู้ข้อมูลทางการเมืองการปกครองเพื่อที่จะเอาเปรียบ หรือ ซ้อนเร้นบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงได้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ลดพื้นที่ “ความลับของทางการ” ลง และจัดระบบของการเข้าถึงข้อมูล และเอกสารของทางการโดยประชาชนอย่างเป็นระบบ เช่น การออกรัฐบัญญัติสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล (right to information act : RTI) ของอินเดียในปี ค.ศ. 2005 และรัฐบัญญัติอิสรภาพในการเข้าถึงข้อมูล (freedom of information act : FOIA) ของสหรัฐฯ ที่บังคับให้หน่วยงานของทางการนั้นจะต้องเปิดเผยข้อมูลในการบริหารบ้านเมืองเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายลูกที่บังคับให้หน่วยงานของรัฐจะต้องจัดทำสิ่งพิมพ์ของทางการเหล่านี้ให้เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีองค์กรที่เรียกว่า "องค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ" (transparency international) ที่จะคอยจัดทำดัชนีภาพลักษณ์ของการทุจริตคอร์รัปชั่นออกมาเป็นรายงานประจำปีทุกๆ ปี เพื่อให้คนจากทั่วโลกสามารถรับรู้ถึงพัฒนาการ และความเป็นไปของความโปร่งใสทางการเมืองของรัฐบาลจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย (โปรดดู Corruption) นอกจากนี้ “สื่อ” (media) ที่เสรี และเป็นมืออาชีพ ก็เป็นกลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่งในระบอบเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่จะช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบความโปร่งใสทางการเมือง และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนของรัฐได้จากการรายงาน และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงอย่างปราศจากอคติ และการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง (โปรดดู Media) ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 นั้นขึ้นชื่อเรื่องรัฐบาลที่มีความเป็นระบบราชการสูงจนนักวิชาการอย่าง เฟร็ด ดับบลิว ริกส์ (Fred W. Riggs) เรียกการปกครองของไทยว่าเป็นรัฐราชการ หรือ รัฐอำมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) ซึ่งหมายถึงการบริหารราชการแผ่นดินของข้าราชการที่สร้างภาพลักษณ์ของความเป็นผู้ปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย และมองประชาชนเจ้าของอำนาจเป็นเพียงผู้ถูกปกครองธรรมดา ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 - 2540 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการของคนไทยจึงถูกกีดกันประการหนึ่งจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับประชาชนที่เป็นเสมือนเจ้านาย กับ มูลนาย กับอีกประการหนึ่งจากขั้นตอน และกระบวนการที่ทำให้เกิดความยุ่งยาก และซับซ้อน สร้างขั้นตอนเกินจำเป็น (red tape) ของระบบราชการไทย จนกระทั่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 3/1 และ 71/10 (5) ได้นำไปสู่การออกพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 6 ในใจความสำคัญว่าการบริหารราชการแผ่นดินนั้นจะต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และบริการตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งการอำนวยความสะดวกนี้รวมถึงมาตรา 43 ที่ระบุว่า "การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น" จะเห็นได้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวของไทยนั้นระบุถึงหลักการความโปร่งใสทางการเมืองอย่างชัดเจนเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของโลกตะวันตก แต่จะสังเกตได้ว่าประเทศไทยเองก็เป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่ยังคงมีการสงวนรักษาพื้นที่ที่เรียกว่า "ความลับของทางการ" อยู่ด้วยเช่นกัน แตกต่างก็ตรงที่ พื้นที่ตรงจุดนี้ของไทยนั้นยังไม่ได้รับการทำให้เป็นสมัยใหม่ (modernize) โดยการจัดระบบ และทำให้เกิดความชัดเจนให้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นพื้นที่สีเทานี้ด้วยการตรากฎหมายเฉพาะ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในอินเดีย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยในปัจจุบันจึงยังคงมีช่องโหว่ของกระบวนการตรวจสอบ และการทำให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ทั้งกระบวนการออกนโยบายสาธารณะ และการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ และข้าราชการทางการเมือง ซึ่งในหลายกรณีมักเกิดขึ้นผ่านข้ออ้างของนักการเมือง และข้าราชการดังที่ระบุในตัวบทกฎหมายว่า เป็นเรื่องของความมั่นคง และความสงบเรียบร้อย ซึ่งไม่อาจมีใครสามารถพิสูจน์ หรือ รับรู้ความเป็นจริงดังกล่าวนั้นได้เลยนอกเสียจากตัวรัฐบาล ดังนั้นก้าวต่อไปของกระบวนการสร้างความโปร่งใสของรัฐบาลไทย จึงอยู่ที่การยอมเปิดเผยพื้นที่สีเทานี้ให้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยการออกกฎหมาย หรือ การกำหนดกลไกการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่างๆ จึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเจตนารมณ์ของแนวคิดเรื่องความโปร่งใสทางการเมืองได้อย่างแท้จริง ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยกำหนดวิธีการเปิดเผยข้อมูลไว้ 3 วิธี ได้แก่ 1) การพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 7) 2) การจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดู (มาตรา 9) และ 3) การจัดหาให้เอกชนเป็นการเฉพาะราย (มาตรา 11)
(พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ใน www.oic.go.th) และยังมีองค์กรเพื่อความโปร่งใสเป็นของเราเอง ซึ่งมีหลักการทำงาน และกุศโลบายที่คล้ายคลึงกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ คือคอยติดตามและเฝ้าระวังในเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตต่างๆ เพียงแต่จะไม่มีการทำรายงานประจำปีออกมาเหมือนกับองค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ(ใน http://www.transparency-thailand.org) ดูเพิ่มใน ‘Constitutionalism’, ‘Sovereignty of the People’, ‘Corruption’ และ ‘Media’
<ref>เอกสารอ้างอิง บวรศักดิ์ อุวรรโณ. 2554. กฎหมายมหาชน เล่ม 1. กรุงเพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อเนก เหล่าธรรมทัศน์. 2553.สองนคราประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: คบไฟ. . Wormuth, Francis D. 1949. The origins of modern constitutionalism. New York: Harper & 
 Brothers. Riggs, Fred W. 1966. Thailand: the modernization of a bureaucratic polity. Honolulu: East-West Center Press. Kurian, George Thomas. 2011. The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press. Ackerman, Susan Rose. 1999. Corruption and government: causes, consequences, and reform. Cambridge: Cambridge University Press. </ref>