ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความงาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus ย้ายหน้า ความสวยงาม ไปยัง ความงาม ทับหน้าเปลี่ยนทาง
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Red rose.jpg|thumb|150px||ดอกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่าสวยงาม]]
'''ความสวยงาม''' คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความสวยงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้ ตัวอย่างเช่น น้องศิริพรรณี แดงไธสง เธอช่างสวยงามนักดุจนางในวรรณคดี อย่างไงก็อย่างงั้น
 
== ความสวยงาม และ สุนทรียศาสตร์ ==
การจะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความสวยงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของ[[สุนทรียศาสตร์]] ในสุนทรียศาสตร์นั้นมีนักปรัชญาหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่เชื่อว่าความสวยงามนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ (subjective) และอีกกลุ่มที่เชื่อว่าความสวยงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้ (absolute, objective)
 
นอกจากนั้นยังมีนักปรัชญา เช่น [[โรเบิร์ต ชูมันน์]] (Robert Schumann) ที่เป็นทั้งคีตกวีและนักวิจารณ์ ที่มีความเห็นว่าความสวยงามนั้นจัดได้เป็นสองประเภท คือความงามโดยธรรมชาติ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์. ความงามที่เกิดโดยธรรมชาติคือการสัมผัสและรับรู้ถึงสิ่งสวยงามที่ปรากฏในธรรมชาติ แต่ความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์และเข้าไปเกี่ยวข้องในธรรมชาติ ชูมันน์ยังบอกอีกว่าในศิลปะ มีความงามทั้งสองชนิดปรากฏอยู่ เพียงแต่ความงามโดยธรรมชาติคือความสุนทรีย์ทางอารมณ์ และความงามที่เกิดโดยมนุษย์คือความเข้าใจในผลงานศิลปะชิ้นนั้น
 
== ทฤษฎีเรื่องความสวยงาม ==
ทฤษฎีเรื่องความสวยงามนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่ยุคสมัยนักปราชญ์กรีกก่อน[[โสกราตีส]] เช่น [[พีทาโกรัส]] ซึ่งพีทาโกรัสก็ได้สันนิษฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์และความสวยงาม พีทาโกรัสสังเกตว่าสิ่งที่มีสัดส่วนตามสัดส่วนทองคำ ([[อัตราส่วนทองคำ]] [[golden ratio]]) การวิจัยในปัจจุบันก็พบว่ามนุษย์ที่มีหน้าตาที่สมดุลและเป็นสัดส่วนตาดสัดส่วนทองคำมักจะถูกมองว่าสวยงามกว่าคนอื่นๆ นี่เป็นหนึ่งในทฤษฏีหนึ่งที่อยู่บนพื้นฐานว่าความสวยงามนั้นมีค่าที่เที่ยงแท้และไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับรู้
 
ทฤษฏีที่ว่าความสวยงามนั้นขึ้นอยู่กับผู้รับรู้กล่าวว่า ความสวยงามเป็นเพียงสิ่งที่จิตใจมนุษย์ให้ค่าหรือตัดสิน ฉะนั้นความสวยงามจึงเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น และอาจเปลี่ยนแปลงตามสภาวะของคนๆใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง
 
ชาวอินเดียโบราณขนานนามความสวยงามว่าเป็นสิ่งที่ใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งที่นำพาจิตใจออกจากโลกที่เต็มไปด้วยความเก่าแก่และความเบื่อหน่าย
 
== ความสวยงามทางคณิตศาสตร์ ==
นิยามของความสวยงามยังครอบคลุมถึง[[คณิตศาสตร์]] นักศณิตศาสตร์หรือผู้ที่หลงใหลในตัวเลขสามารถที่จะมีความเพลินและพึงพอใจกับการ "เล่น" หรือ "คำนวณ" คณิตศาสตร์. แม้แต่สูตรคณิตศาสตร์ ยังมีผู้ที่ชื่นชมว่าสวยงาม อย่างเช่น <math>e^{i \pi} + 1 = 0 \,\!</math> หรือที่เรียกกันว่า [[เอกลักษณ์ของออยเลอร์]] ยังมีอีกหลายคนที่เห็นความสวยงามเมื่อมองดูวิธีคิดหาคำตอบในคณิตศาสตร์ ดั่งที่เอ็ดน่า เซนท์วินเซนท์ มิลเลย์กล่าวไว้ถึงเรขาคณิตของ[[ยุคลิด]]ว่า "มีเพียงยุคลิดที่มองเห็นความงดงามแท้"
 
ความสัมพันธ์อีกอย่างหนึ่งระหว่างคณิตศาสตร์และความสวยงามคือดนตรี พีทาโกรัสเองมีทฤษฏีเกี่ยวกับวิธีที่ตัวโน้ตสัมพันธ์กันและความยาวของสายที่ให้กำเนิดเสียงนั้น
 
[[สัดส่วนทองคำ]] หรือ Golden Ratio (ซึ่งแทนด้วยตัวอักษรกรีก ฟี Φ) มีค่าประมาณ 1.618:1 และเป็นสัดส่วนที่ผู้คนมักให้ความเห็นว่าสวยงาม นั่นคือ สถาปตยกรรมที่มีสัดส่วนนี้ หรือสิ่งของในธรรมชาติเช่นเปลือกหอยนอติลุส (nautilus) มักดูสวยงามกว่าสิ่งที่ขาดสัดส่วนนี้ไป
 
== ความสวยงามในสังคมมนุษย์ ==
การวิจัยของมหาวิทยาลอนดอน กิลด์ฮอลล์ ที่มีผู้เข้าร่วมถึง 11,000 คน แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาดีมักมีรายได้มากกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า (ตามผลสำรวจความเห็น) ถึง 13% และบุคคลที่น้ำหนักเกินนั้นรายได้น้อยกว่าคนอื่น 5% โดยเฉลี่ย
 
บรรทัด 29:
* [http://www.ชาเกะ8.com ชาเกะ8]
* [http://www.pewsai.com ครีมหน้าใส]
* [http://www.faceresearch.org/ FaceResearch] วิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหน้าตาและความสวยงาม
* [http://etext.lib.virginia.edu/cgi-local/DHI/dhi.cgi?id=dv1-28 ''Dictionary of the History of Ideas'':] ทฤษฏีเรื่องความสวยงามในศตวรรษที่ 19
* [http://www.uni-regensburg.de/Fakultaeten/phil_Fak_II/Psychologie/Psy_II/beautycheck/english/ Beautycheck.de] โครงการวิจัยความสวยงามในมนุษย์
 
[[หมวดหมู่:ความสวยงาม]]
[[หมวดหมู่:สุนทรียศาสตร์]]
{{โครงความรู้}}